วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551
วิเคราะห์ระบบการศึกษาไทย
สัญลักษณ์ของDFD
4. แหล่งเก็บข้อมูลนอกระบบ (Terminator)สิ่งที่อยู่นอกระบบแทนวงรี ซึ่งจะมีชื่อ และชื่อกระบวนการกำกับอยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นตัวบุคคล หรือองค์การต่างๆ สิ่งที่อยู่นอกระบบอาจจะเป็นที่ส่งข้อมูลเข้าระบบ หรืออาจเป็นตัวรับข้อมูลจากระบบก็ได้
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551
หัวข้อที่จะเรียนรู้ วันที่ 28 มิ.ย. 2551
การออกแบบระบบสารสนเทศ
Flow chart, Context Diagram, and Data Flow Diargram
การเก็บข้อมูล
ระบบธุรกิจ (การบ้านไง จ้า จำได้ ไหม)
เสร็จ แน่ แน่ .........
การเก็บข้อมูลที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วย
___หลักการให้การในการเก็บข้อมูลนี้ก็คือการติดกล้องไว้ที่รอบสนามใช้ทำการคำนวณ และจับทุกสิ่งที่เราต้องการจะจับ คือ นักบอล และลูกบอล เพราะกล้องหลายๆ ตัวสามารถจะกะระยะ สูง ลึก ยาว สั้น ได้ อธิบายง่ายๆ ว่ากล้อง ถ้าจับจากมุมเดียวเห็นด้านเดียวเช่น เห็นซ้าย-ขวา ขึ้น-ลง.. ถ้าส่งตรงๆ แต่ถ้ามีกล้องอีกตัวช่วยจับด้านใกล้ ไกล ก็จะครบ ดั้งนั้นกล้องหลายๆ ตัวจึงมีประโยชน์เช่นนี้ และใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลต่าง ๆ โดยนำหลักการของกล้องมาจำลองในคอมพิวเตอร์
___Video ตัวอย่างระบบนี้คับ
http://www.youtube.com/watch?v=1dZb2TLsrz0
ปล.โปรแกรมนี้คงจาเขียนยากน่าดูเลย -*-
วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551
การเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับเอาต์พุต
เอาต์พุตที่ใช้ภายในธุรกิจได้แก่ รายงานต่างๆ ที่ใช้ภายในแผนกหรือหน่วยงาน เช่น รายงานการขายประจำวัน รายงานสรุปผลการขายประจำเดือน หรือรายงานเวลาการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ส่วนเอาต์พุตที่ใช้ภายนอก ได้แก่ เอาต์พุตที่จะต้องถูกส่งออกไปยังบุคคลภายนอกธุรกิจ เช่น ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน แบบฟอร์มการเสียภาษีของสรรพากร เป็นต้น
วิธีการดีไซน์เอาต์พุตที่ใช้ภายนอกอาจจะต้องแตกต่างกับเอาต์พุตที่ใช้ภายใน เช่น อาจจะต้องมีการอธิบายถึงความหมายของแต่ละช่องที่กรอกลงไปให้ละเอียดขึ้น การจัดรูปแบบอาจจะต้องกำหนดตามมาตรฐานสากลหรือตามที่กฎหมายบังคับไว้ เป็นต้น
วิธีการดีไซน์เอาต์พุตมีส่วนสัมพันธ์กับรูปแบบของเอาต์พุตที่ออกมาอย่างมาก เช่น ประเทศไทย เอาต์พุตที่ใช้ภายนอกหรือที่ธุรกิจจะต้องให้กับหน่วยงานราชการทั้งหมดยังคงอยู่ในรูปแบบที่จะต้องพิมพ์ลงกระดาษทั้งสิ้น ดังนั้นรูปแบบของเอาต์พุตที่ใช้ย่อมต้องเลือกวิธีการพิมพ์ลงเครื่องพิมพ์อย่างเดียว เป็นต้น ดังตารางต่อไปนี้ได้แสดงให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการใช้รูปแบบต่างๆ เพื่อออกเอาต์พุต
รูปแบบที่ใช้
เครื่องพิมพ์
ข้อดี
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในธุรกิจมีความยืดหยุ่นและความสามารถในการรองรับข้อมูลใหญ่ๆ ได้ดี
มีความเชื่อถือได้สูง และตรวจสอบได้ง่าย
ข้อเสีย
มักจะก่อให้เกิดเสียงรบกวน โดยเฉพาะเมื่อใช้กับเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยทั่วไปมักให้ผลลัพธ์ช้าและต้นทุนของเครื่องพิมพ์ค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบันมีเครื่องพิมพ์แบบ Laser ซึ่งให้งานพิมพ์รวดเร็ว ไม่มีเสียงรบกวน
จอภาพ
ข้อดี
เงียบและมีความสามารถที่จะทำงานแบบออนไลน์ และส่งผ่านเอาต์พุตไปในระบบเครือข่ายได้ดี สามารถที่จะใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่ในการที่จะเข้าถึงแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และบ่อยครั้งตามต้องการ
ข้อเสีย
ยังคงต้องการระบบเดินสายที่ดี โดยเฉพาะในระบบเครือข่าย
ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการบางลักษณะ โดยเฉพาะเอาต์พุตที่ใช้ภายนอก ที่ยังคงต้องการให้มีการพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์อยู่ดี
เสียง
ข้อดี
เหมาะสำหรับระบบงานที่ต้องการส่งข้อความที่จะส่งให้กับผู้ใช้ระบบและให้ผู้ใช้ระบบตอบสนองหรือกระทำต่อระบบทันที
เหมาะสำหรับผู้ใช้ระบบที่ต้องการความอิสระของการใช้มือ (Hands Free) เพื่อการปฏิบัติงานอย่างอื่น
ข้อเสีย
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านนี้ยังค่อนข้างแพงอยู่ดี
ระดับของเสียงอาจไปรบกวนคนอื่นที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน
การใช้วิธีนี้ค่อนข้างจะจำกัดอยู่มาก ไม่ใช่สามารถใช้กันได้โดยทั่วไป
ไมโครฟอร์ม
ข้อดี
ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บอย่างมาก มีความคงทนต่อการใช้งาน สามารถใช้ได้บ่อยครั้งและค้นหาข้อมูลได้สะดวก
ข้อเสีย
ต้องการซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับการใช้ไมโครฟอร์มโดยเฉพาะ
ต้องการอุปกรณ์พิเศษอีกเช่นกัน หากต้องการสำเนา (Copy) ออกทางเครื่องพิมพ์
ค่าใช้จ่ายตอนตั้งต้นจะค่อนข้างสูง
การอธิบายการประมวลผล (Process Description)
จุดประสงค์ของการเขียน Process Specification เพื่อใช้เป็นสื่อระหว่างผู้ใช้ระบบโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ ได้เข้าใจตรงกันในการประมวลผลนั้น โดยโปรแกรมเมอร์จะเข้าใจการประมวลผลนั้นเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะในกรณีของการมีโปรแกรมเมอร์หลายคนในการเขียนโปรแกรมในการสื่อให้เข้าใจตรงกัน ส่วนผู้ใช้ระบบจะได้เห็นถึงผลการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ระบบว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ จุดมุ่งหมายในการใช้การอธิบายการประมวลผลนั้นสรุปได้ 3 ข้อคือ 1. เพื่อให้การประมวลผลนั้นชัดเจน เข้าใจง่าย
การใช้วิธีนี้จะทำให้ผู้วิเคราะห์ได้เรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการประมวลผลการทำงานในส่วนที่ไม่ชัดเจนต่างๆ จะถูกบันทึก และเขียนออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยจะรวมมาจากการสืบค้นข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลวิธีต่างๆ 2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องในการอธิบายในรูปแบบเฉพาะของการประมวลผลนั้นระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์
ในการสื่อถึงกันให้เข้าใจตรงกันระหว่างนักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์นั้น ถ้าไม่สื่อกันให้ชัดเจนจะมีผลตามมาอย่างมากเมื่อลงรหัสโปรแกรม เนื่องจากจะต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และอาจทำให้การบริหารโครงการไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาอีกด้วย ดังนั้นในการอธิบายการประมวลผลจึงมีส่วนช่วยอย่างมากในการสื่อการประมวลผลให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ 3. เพื่อตรวจสอบการออกแบบระบบ
โดยการประมวลผลนั้นจะถูกต้องหรือไม่ในด้านข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่อง การออกรายงานทั้งหน้าจอ และการพิมพ์รายงานนั้นจะเป็นไปตามการวิเคราะห์ตามแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) หรือไม่ จะสามารถตรวจสอบได้จากการอธิบายการประมวลผลนี้
การเขียนคำอธิบายการประมวลผลนี้จะมีเฉพาะโพรเซสในระดับล่างสุดเท่านั้น ระดับแม่เราจะไม่เขียนคำอธิบายเนื่องจากเราเขียน DFD ระดับแม่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเขียน DFD ระดับลูกเพื่อให้เกิดการแตกโครงสร้างแบบบน-ลง-ล่าง (Top - Down) และเมื่ออธิบายโพรเซสระดับลูกแล้วก็หมายความรวมถึงการทำงานระดับแม่โดยปริยาย
วิธีการที่ใช้อธิบายการประมวลผลที่จะกล่าวในที่นี้มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. ประโยคโครงสร้าง (Structure Sentences)
2. การตัดสินใจแบบตาราง (Description Tables)
เราจะเลือกใช้วิธีการอันใดอันหนึ่งหรือใช้ปนกันก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่ไม่ว่าจะเขียนด้วยวิธีใดๆ เมื่อเขียนแล้วควรจะมีคุณสมบัติ ดังนี้
เขียนแล้วคำอธิบายนั้นสามารถนำมาตรวจสอบความถูกต้องกับผู้ใช้ได้ง่ายการเขียนเป็นประโยคโครงสร้างอาจจะไม่เหมาะสมถ้าต้องนำมาตรวจสอบกับผู้ใช้เพราะว่าคำอธิบายนั้นจะยาวและคำอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไข หรือการทำงานซ้ำก็เขียนไม่สะดวก ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขที่มี AND,OR หรือ NOT เป็นต้น
เขียนแล้วคำอธิบายนั้นควรจะใช้สื่อสารกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในระบบได้ง่ายผู้อื่นที่เกี่ยวข้องอาจจะเป็นผู้ใช้ ผู้จัดการ ผู้ตรวจสอบ เป็นต้น การเขียนคำอธิบายเป็นประโยคโครงสร้าง หรือเขียนเป็นการตัดสินใจแบบตารางจะเหมาะสมกับบุคคลเหล่านั้นเพราะว่าทั้ง 2 วิธีนั้นง่ายต่อการทำความเข้าใจถึงแม้ว่าอาจจะยาวไปหน่อยก็ตาม
โดยทั่วไปแล้ววิธีการเขียนแบบประโยคโครงสร้างเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด และในโครงการเดียวกันควรจะเลือกใช้วิธีเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร การจะเลือกใช้วิธีการมากกว่าหนึ่งวิธีก็อาจจะเป็นไปได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
1. ความชอบของผู้ใช้
2. ความชอบของผู้เขียน (นักวิเคราะห์ระบบ)
3. ลักษณะการทำงานของโพรเซส
หลักของการดีไซน์อินพุต
แม้ว่าโดยทั่วไป นักวิเคราะห์ระบบจะเน้นหนักถึงความสำคัญของเอาต์พุตมาก เนื่องเพราะเอาต์พุตของระบบงานถือว่าเป็นผลลัพธ์อันสำคัญในอันที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ระบบ
อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะลืมเสียไม่ได้ก็คือ หากอินพุตที่เข้ามาในระบบไม่ดีเพียงพอหรือเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ย่อมต้องส่งผลทำให้เอาต์พุตที่ได้ออกมาจากระบบพลอยเสียหายไปด้วย ดังนั้น การดีไซน์อินพุตที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ระบบงานคอมพิวเตอร์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การดีไซน์แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลที่เป็นอินพุต
แม้ว่าโดยทั่วไปธุรกิจจะได้มีการดีไซน์แบบฟอร์มของธุรกิจไว้เพื่อใช้ปฏิบัติงานอยู่แล้ว นักวิเคราะห์ระบบก็ควรจะมีความสามารถทางด้านนี้ด้วยไม่แพ้กัน นอกจากนี้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องสามารถรู้ด้วยตนเองว่า แบบฟอร์มแบบไหนที่ยังไม่ดีเพียงพอและจะต้องปรับปรุง และแบบฟอร์มแบบไหนที่ควรจะยกเลิกหรือยุบมารวมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แบบฟอร์มต่างๆ ที่ใช้อยู่ในธุรกิจ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไป ซึ่งแบบฟอร์มเหล่านี้ โดยปกติมักจะถูกดีไซน์และตีพิมพ์ออกมาไว้ก่อน เมื่อต้องการจะใช้ ผู้ใช้ก็จะเขียนข้อความอันเป็นข้อมูลลงในแบบฟอร์มเป็นเบื้องต้น ซึ่งต่อจากนั้น แบบฟอร์มต่างๆ จึงค่อยถูกนำมาบันทึกลงในระบบคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ธุรกิจดำเนินการด้วยระบบงานคอมพิวเตอร์ แบบฟอร์มต่างๆ โดยส่วนใหญ่จึงถือเป็นต้นกำเนิดของข้อมูลที่จะนำมากรอกเข้าสู่ระบบงานโดยพนักงานคีย์ข้อมูล (Data Entry Personnel)
มีด้วยกัน 4 หัวข้อสำคัญ
1.แบบฟอร์มควรมีลักษณะที่ง่ายต่อการกรอก
2.แบบฟอร์มต้องตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
3.แบบฟอร์มควรมีการดีไซน์ให้ตรวจสอบความถูกต้องได้
4.แบบฟอร์มควรดีไซน์ให้มีลักษณะที่ดึงดูดต่อผู้ใช้
หลักของการดีไซน์เอาต์พุต
เอาต์พุตสำหรับระบบงานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือแบบฮาร์ดก๊อปปี้ (Hard Copy) ซึ่งก็ได้แก่รายงานต่างๆ ที่ออกมาทางเครื่องพิมพ์ และแบบซอฟต์ก๊อปปี้ (Sofy Copy) ซึ่งมักหมายถึงข้อมูลที่แสดงผลออกทางจอภาพชนิดต่างๆ และไมโครฟอร์ม (Microform) เป็นต้น
เนื่องจากเอาต์พุตเป็นสิ่งสำคัญที่จะเรียกการยอมรับหรือเรียกคะแนนนิยมให้กับระบบงานที่นักวิเคราะห์กำลังพัฒนาและดีไซน์อยู่ นักวิเคราะห์ระบบจึงควรทราบหลักการสำคัญ 6 ข้อในการดีไซน์เอาต์พุต ดังนี้
1. ดีไซน์เอาต์พุต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ระบบ
2. ดีไซน์เอาต์พุต ให้เหมาะสมต่อผู้ใช้ระบบ
3. ส่งมอบเอาต์พุตตามจำนวนที่ผู้ใช้ระบบต้องการ
4. ให้แน่ใจว่าเอาต์พุตได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
5. เอาต์พุตถูกส่งมอบให้กับผู้ใช้ระบบตามเวลาที่กำหนด
6. เลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับเอาต์พุตแต่ละแบบ
ลองฝึกกันดูนะกับเอาต์พุต แล้วนอกจากเอาต์พุตแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ อินพุต ลองติดตามดูนะ ^^
มาคิดกันว่าตอนนี้เมืองไทยเราอยู่ที่จุดใดของระบบ
ระบบซับซ้อน ( Complex System ) จะมี 3 สถานะ คือ
1. ภาวะสมดุล ( Order )
2. ใกล้จุดสมดุล กล่าวคือมีการกวัดแกว่งบ้าง แต่ยังรักษาสภาพเดิมไว้ได้
3. ไกลจุดสมดุล ถ้าได้รับการกระทบ จะมีผลใหญ่หลวงต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการล่มสลายของระบบได้ ดังนั้นถ้าเราประเมินว่า สถานการณ์อยู่ห่างไกลจุดสมดุลมากแล้ว การกระแทกด้วยเหตุการณ์เล็กๆ จะเกิดทางแยกที่ให้เลือกเดิน ( Bifurcation ) ขึ้นมา ซึ่งอาจเป็นในทางที่ดีขึ้นหรือฉิบหายก็ได้ เช่นการที่เยอรมนีแพ้สงคราม กลับทำให้ประเทศก้าวสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ แต่เปเรสทรอยก้า กลับส่งผลให้โซเวียตล่มสลาย
• เราไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่มีอยู่มากมายในทุกจุดได้ อีกทั้งเรายังมีกำลังคนกำลังเงินที่จำกัด แต่ถ้าเราจับ Pattern ของปัญหาได้ เราจะรู้ว่าจะงัดตรงจุดไหน งัดเมื่อไหร่ ซึ่งจะแก้ปัญหาได้อย่างมาก ถ้าเราหาพบจุดคานงัด แล้วทุ่มกำลังลงไปแก้ไขที่จุดสำคัญ แทนการกระจายกำลังแก้ทุกจุด เราจะแก้ปัญหาสังคมนั้นๆได้
• การเปลี่ยนแปลงสังคมต้องการปัจเจกชนที่เป็นอิสระ ไม่ใช่การจัดตั้งที่เหมือนกันหมด เพราะความเป็นอิสระทางความคิดและการกระทำ ภายใต้กติกาของการสื่อสารและการอยู่ร่วมกัน จะทำให้เกิดคุณภาพในการเปลี่ยนแปลงสังคม เป็นการผุดบังเกิด ( Emergence ) อย่างเฉียบพลัน
จาก วิทยาลัยวันศุกร์ ครั้งที่ 9 วันที่ 7 มกราคม 2543
เพื่อน ๆ คิดว่าประเทศไทยเรากำลังอยู่จุดไหนล่ะ
การคิดอย่างกระบวนระบบ
Peter Senge ได้เขียนหนังสือ The Fifth Discipline ซึ่งใช้ในการพัฒนาองค์กร
โดยมี การคิดอย่างกระบวนระบบ เป็น 1 ใน 5 ข้อด้วย ได้แก่
1. Personal Mastery ความคิดในการฝึกฝนตนเองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
2. Shared Vision การมีวิสัยนทัศน์ร่วมกัน
3. Communication การสื่อสารให้คนในองค์กรเข้าใจ และร่วมคิดร่วมทำ
4. Team Learning การเรียนรู้และทำงานร่วมกันเป็นทีม
5. System Thinking การคิดอย่างเป็นกระบวนระบบ
คิดว่าเพื่อน ๆ คงจะนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเองได้น่ะครับ
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551
Interactive Voice Response (IVR)
ว่ามันคืออะไร ก็ ไปหาๆ มาโพส อิอิอิ
ระบบบริการข้อมูลจากฐานข้อมูลเป็นเสียง Interactive Voice Response (IVR)
ระบบบริการข้อมูลจากฐานข้อมูลเป็นเสียง ( Interactive Voice Response :IVR ) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบนี้จะเป็นลักษณะของการ โต้ตอบข้อมูลด้วยเสียง ระหว่างผู้ใช้บริการหรือผู้โทรเข้ากับเครื่องโทรศัพท์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การค้นหาข้อมูลตัวเลขหรือข้อความในฐานข้อมูลมาแสดง โดยผู้ใช้บริการ จะต้องกดรหัส ประจำตัว หรือ Password หรือ ตัวเลขต่างๆ บนแป้นโทรศัพท์ เพื่อทำการเลือกรายการ ที่ต้องการ และระบบจะทำการแปลงสัญญาณนั้น ไปค้นหาในฐานข้อมูล (Database) เพื่อเรียกข้อมูลมาแสดงเป็นเสียง
ระบบบริการข้อมูลจากฐานข้อมูลเป็นเสียง ( Interactive Voice Response : IVR ) เป็นระบบที่ใช้สำหรับลดปริมาณงานที่ Agent จะได้รับ หรือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของ ระบบ Contract Center โดยทั้งหมดนี้จัดเป็นระบบบริการลูกค้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะต่อเข้ากับ PBX และต่อเข้ากับระบบฐานข้อมูลภายใน เมื่อผู้ใช้บริการโทรเข้ามายังระบบ Contact Center หรือ Call Center ส่วนใหญ่จะได้ยินเสียงตอบรับโดย ระบบ IVR เพื่อให้บริการพื้นฐานแก่ลูกค้า ก่อน ตัวอย่างเช่น การสอบถามยอดเงินในบัญชีของธนาคาร การรับปรึกษา และให้คำแนะนำต่างๆ หรือ การสอบถามผลการเรียน เป็นต้น หลังจากนั้นถ้าผู้ใช้บริการต้องการคุยกับพนักงาน ก็สามารถโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่ หรือ Agent ได้
ผลวิจัยวิทยาศาสตร์ชี้ชัด ปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ ส่งผลดีต่อสมอง
การนั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม ช่วยได้นะ พี่น้อง .........
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากวารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศอเมริกา ฉบับเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2547 ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยชิ้นล่าสุดของสถาบันเกี่ยวกับเรื่องการทำสมาธิ ว่า "การปฏิบัติธรรมทำสมาธิแบบ พุทธศาสนามิใช่เพียงก่อให้เกิดความสงบภายในจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีกับกระบวนการทำงานของสมองมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความ เชื่อมโยงกับอารมณ์ทางด้านดีอย่างถาวรอีกด้วย" ทั้งนี้นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยเปรียบเทียบการทำงานของสมองของผู้เข้ารับการทดลองในสองกลุ่มหลัก ซึ่งกลุ่มแรกเป็นกลุ่มพระภิกษุสงฆ์จำนวน 8 รูป มีอายุเฉลี่ยประมาณ 49 ปี แต่ละรูปมีประสบการณ์ในการนั่งสมาธิตั้งแต่ 10,000 ถึง 50,000 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 15 ถึง 40 ปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 21 ปี จำนวน 10 คน ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการ ปฏิบัติธรรมทำสมาธิมาก่อน และเพิ่งได้รับการอบรม ในเรื่องการทำสมาธิได้เพียง 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มการทดลองการทดลองครั้งนี้ นักวิจัยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า“อิเล็กโทรเอนเซฟาโลแกรมส์”(Electroencephalo- grams) ในการวัดระดับการทำงานของคลื่นสมองแกมมา รวม 3 ครั้ง คือ ก่อน ระหว่าง และหลังการ ปฏิบัติสมาธิ ซึ่งคลื่นสมองแกมมาเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงความทรงจำ ระดับการเรียนรู้ ระดับสมาธิและการมองโลกในแง่ดี ผู้เข้ารับการทดลองทั้งสองกลุ่มถูกจัดให้นั่งสมาธิแบบทิเบตในห้องทดลองที่ผ่อนคลาย และมีการทำสมาธิเน้นให้ รู้สึกถึงความรักและความเมตตาต่อสรรพสิ่ง โดยจะไม่ใช้วิธีการเพ่งจิตต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ลมหายใจผลปรากฎว่า ในช่วงก่อนการนั่งสมาธิ คลื่นสมอง แกมมาของกลุ่มพระภิกษุมีระดับที่สูงกว่ากลุ่มนักศึกษา และระดับความแตกต่างนี้ ได้ปรับสูงขึ้นอย่าง มากระหว่างการนั่งสมาธิ ซึ่งระดับคลื่นสมองแกมมา ของกลุ่มภิกษุในระหว่างการนั่งสมาธิครั้งนี้ นับว่าเป็นระดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีรายงานมา เป็นที่ชัดเจนว่า กลุ่มพระภิกษุ มีการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ทางด้านบวก เช่น ความสงบสุข มีประสิทธิภาพกว่ากลุ่มที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิใดมาก่อน นอกจากนี้ ยังสรุปได้ว่า ระดับคลื่นแกมมาที่สูงของภิกษุก่อนการปฏิบัติสมาธินั้น แสดงให้เห็น ว่าสมองได้มีการพัฒนาอย่างถาวรหากได้รับการปฏิบัติ ธรรมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ถึงแม้ว่าปัจจัยทางด้านอายุและสุขภาพอาจจะทำให้คลื่นสมองแกมมา มีระดับที่แตกต่างกันไป แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สังเกตได้ ชัดจากการทดลอง คือ จำนวนชั่วโมงของการปฏิบัติ สมาธิ ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของคลื่นสมองแกมมานอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่ศูนย์วิจัยจิต และสมองยู.ซี เดวิส (UC Davis Center for mind and brian) เมืองแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับแรงบันดาลใจจากสารขององค์ดาไลลามะแห่งทิเบต ที่กล่าวถึงความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา และยังได้รับเงินสนับสนุนจากสถาบันศึกษาเรื่องจิตสำนึก แห่งซานตาบาร์บารา ซึ่งสถาบันนี้ได้รับเงินบริจาคจาก ‘ริชาร์ด เกียร์’ พระเอกหนุ่มชื่อดังของฮอลลีวูดผู้มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนานั่นเองดังนั้น โครงการนำร่องจึงได้จัดตั้งขึ้น เพื่อศึกษา ถึงการทำงานของสมองระหว่างการนั่งสมาธิ และสาเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสมาธิสามารถเชื่อมต่อกับอารมณ์ในแง่บวกได้ง่ายกว่าคนปกติ โดยจะเริ่มโครง การจริงในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 โดยกลุ่มผู้ทดลองจำนวนทั้งสิ้น 30 คนจะถูกคัดเลือกจากประเทศยุโรป เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และพาไปฝึกอบรมนั่งสมาธิในระยะเวลากว่า 1 ปี ในสถานที่เงียบๆ แห่งหนึ่งในเมืองแคลิฟอร์เนีย เพื่อนักวิจัยจะได้สังเกตถึงพฤติกรรมของกลุ่มผู้ทดลองดอกเตอร์อลัน วอลเลซ หัวหน้าศูนย์วิจัยจิตและสมอง ยู.ซี เดวิส จบการศึกษาปริญญาเอกทางด้านศาสนา จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด และเคยบวชเป็นภิกษุมาก่อน เป็นผู้ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบความจำ ปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ การจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พร้อมกับจัดตารางชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายให้กับทุกคน โดยเริ่มจากตื่นนอนตอน 6 โมงเช้าเพื่อนั่งสมาธิกลุ่มและเดี่ยวจน ถึงเวลา 10 โมง มีการเสิร์ฟอาหารเป็นเวลาที่แน่นอน และมีเวลาว่าง 2 ชั่วโมงต่อวัน จุดประสงค์ของตาราง เวลา คือเพื่อที่จะสร้างกิจวัตรที่แน่นอน ที่ไม่รบกวน เวลานั่งสมาธิและมุ่งเน้นที่ความสมดุลของการทำงาน ของจิตใจเป็นสำคัญ กลุ่มผู้ทดลองจะได้รับเงินตอบแทนจำนวน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนในการเข้าร่วมการทดลองครั้งนี้ เนื่องจากทุกคนต้องอยู่ห่างบ้านและสิ่งที่คุ้นเคยมาอยู่ ในกฎระเบียบที่ทางสถาบันจัดให้ นอกจากนี้ ทุกๆสองสัปดาห์ ผู้ช่วยนักวิจัยจะเข้ามาเก็บข้อ มูลอย่างละเอียด เช่น ผลเลือด น้ำลาย ความดัน และศึกษาทดลองเพื่อที่จะตรวจวัดการทำงานของสมองผ่านเครื่องอิเล็กโทรเอนเซฟาโลแกรมส์ อีกทั้งยังตรวจ วัดระดับความเครียดและระบบการทำงานของภูมิต้านทานอย่างละเอียดอีกด้วย ดอกเตอร์อลัน กล่าวทิ้งท้ายว่า “การทดลองครั้งนี้ นับว่าเป็นการทดลองที่น่าตื่นเต้นสำหรับศูนย์วิจัย เนื่องจากเป็นความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญชื่อดังทางด้านสมอง นักจิตวิทยา และพุทธศาสนิกชน ด้วยข้อมูลที่เก็บอย่างละเอียดตั้งแต่ต้น และเงินทุนสนับสนุนที่คาดว่าจะได้รับบริจาคถึง 2 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ จะทำให้การทดลองครั้งนี้สมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และพุทธศาสนาต่อไป”
จาก.....ผู้จัดการออนไลน์ิ นะจ๊ะ
ยานอวกาศ (Space Craft)
ไปก็อป มาอีกเรื่อง แว้ววววว ^^
เกี่ยวกะ System ไม่มากก็น้อย หุหุ .....
ยานอวกาศ (Space Craft)
เทคโนโลยีด้านอวกาศของมนุษย์ชาติเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการคิดค้นพัฒนายานอวกาศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เดินทางได้ไกลขึ้น และใช้พลังงานน้อยลง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การทำเส้นทาง การสื่อสาร การสำรวจโลก เป็นต้น สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนายานอวกาศก็คือ ความเร็ว ซึ่งยังทำได้อย่างจำกัดอยู่มาก ทำให้การเดินทางแต่ละครั้งอาจจะกินเวลานานเป็นเดือนๆ ทำให้เราไม่สามารถส่งมนุษย์เดินทางไปได้ไกล
ยานอวกาศออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ยานอวกาศที่มีคนบังคับ ซึ่งจะเดินทางในช่วงเวลาสั้นๆ เช่นโคจรรอบโลก ปัจจุบันมนุษย์เดินทางไปในอวกาศได้ไกลสุดเพียงดวงจันทร์เท่านั้น
2. ยานอวกาศที่ไม่มีคนบังคับ เนื่องจากการสำรวจบางครั้งต้องใช้เวลาเดินทางไกลมากและอันตรายต่อมนุษย์ จึงเป็นหน้าที่ของยานที่ถูกบังคับจากภาคพื้นดินบนโลก บางที่เราเรียกยานแบบนี้ว่า Robot Scpace Craft
1. ดวงจันทร์ เป็นยานอวกาศที่มีการส่งไปสำรวจดวงจันทร์ตั้งแต่ยุคแรกๆ เพื่อเป็นการเตรียมแผนให้กับการลงเหยียบดวงจันทร์ของโครงการอะพอลโล่ และ โครงการสำรวจดวงจันทร์ยุคหลังอะพอลโล่
2. ระบบสุริยะ เป็นยานสำรวจนอกเหนือจากดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง เช่น ยานสำรวจดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อย และ ดาวหาง
3. ดาวเคราะห์ เป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง ซึ่งโครงการไปดาวอังคารเป็นโครงการที่มีการส่งยานอวกาศไปมากที่สุด
ภาพรวมของยานอวกาศ
ระบบการทำงานของยานอวกาศประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆ มากมาย เช่น ระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน (Attitude Determination and Control: ADAC หรือ ACS), ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง (Guidance,Navigation and Control: GNC หรือ GN&C), ระบบการสื่อสาร (Communication: COMS), ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง (Command and Data Handling: CDH หรือ C&DH), ระบบพลังงาน (EPS), ระบบควบคุมอุณหภูมิ (Thermal Control: TCS), ระบบการขับเคลื่อน (Propulsion), โครงสร้างและระบบบรรทุกสิ่งของ (Payload)
ถ้าหากว่าเป็นยานอวกาศประเภทใช้คนบังคับแล้วอาจจะต้องเพิ่มปัจจัยยังชีพต่างๆ ให้กับลูกเรือด้วย
ระบบย่อยต่างๆของยานอวกาศ
ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง การนำร่อง หมายถึง การคำนวณค่าจากชุดคำสั่งเพื่อใช้นำยานอวกาศไปยังที่ที่ต้องการ ส่วนการนำทาง หมายถึง การกำหนดจุดตำแหน่งที่ที่ยานอวกาศจะเดินทางไป โดยทั้งสองปัจจัยนี้จะถูกควบคุมอีกทีหนึ่งจากระบบเพื่อใช้เส้นทางที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของภารกิจมากที่สุด
ระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน ยานอวกาศต้องการระบบนี้เพื่อให้ทำงานในอวกาศได้โดยเกี่ยวข้องและตอบสนองกับปัจจัยภายนอกยาน ระบบนี้ประกอบไปด้วย เซ็นเซอร์ และตัวบังคับ ซึ่งทำงานร่วมกันโดยใช้โปรแกรมควบคุมอีกทีหนึ่ง ระบบกำหนดและควบคุมหลักๆ ใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การทำงานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม เช่น แผงรับแสงอาทิตย์จะหันไปทางดวงอาทิตย์อัตโนมัติ หรือ การหันหน้าไปทางโลกเมื่อมีการทำงานเกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นต้น
ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง คำสั่งต่างๆ ที่ได้รับมาจากระบบการสื่อสารจะถูกนำมาที่ระบบนี้ เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง,แปลความหมายของคำสั่ง และส่งคำสั่งเหล่านี้ไปยังระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ระบบนี้ยังใช้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้จากระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ส่งกลับไปยังพื้นโลกผ่านทางระบบการสื่อสารอีกด้วย ส่วนหน้าที่อื่นๆ ของระบบนี้ เช่น คอยตรวจสอบดูแลสถานะของยานอวกาศ
ระบบการสื่อสาร ระบบนี้เป็นส่วนที่เชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลต่างๆระหว่างยานอวกาศ กับพื้นโลก หรือระหว่างยานอวกาศกับยานอวกาศด้วยกันเอง
ระบบพลังงาน การขับเคลื่อนตัวยานอวกาศจะเริ่มใช้พลังงานตั้งแต่ออกตัวจากพื้นโลก สู่ชั้นบรรยากาศ จนถึงการทำงานนอกโลก โดยระบบนี้มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลระดับพลังงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด และนำพลังงานบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ด้วย (reusable)
ระบบการขับเคลื่อน ยานอวกาศอาจจะมีหรือไม่มีระบบการขับเคลื่อนนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับภารกิจที่ต้องทำว่าจำเป็นต้องใช้หรือไม่ สำหรับระบบนี้จะประกอบไปด้วยเชื้อเพลิง, ถังเก็บเชื้อเพลิง, ท่อเปิดปิด (valves), ท่อส่ง เป็นต้น
ระบบควบคุมอุณหภูมิ ปกติแล้วยานอวกาศจะต้องมีการปรับแต่งให้สามารถคงอยู่ในสภาวะต่างๆได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลก หรือในอวกาศก็ตาม ยานอวกาศนี้ยังต้องทำงานในสภาวะสุญญากาศซะเป็นส่วนมากและต้องเผชิญกับอุณหภูมิหลายระดับขึ้นอยู่กับภารกิจ ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจพื้นผิวของดาวเคราะห์อื่นๆ ดังนั้น ระบบนี้จึงมีความจำเป็นต่อยานอวกาศมากที่จะคอยดูแลสภาวะอุณหภูมิของยานให้เป็นไปอย่างปกติตลอดการดำเนินงาน
โครงสร้าง สำหรับโครงสร้างของยานอวกาศนี้จะต้องมีการปรับแต่งให้คงทนต่อการบรรทุกของต่างๆ รวมถึงเครื่องมือของระบบต่างๆด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศเองว่าจะกำหนดโครงร่างอย่างไร
ระบบบรรทุก การบรรทุกอุปกรณ์สิ่งของต่างๆ นี้ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศ โดยปกติแล้วยานจะบรรทุกพวก เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ (กล้อง,กล้องดูดาว หรือ เครื่องมือตรวจจับ), คลังสินค้า หรือมนุษย์อวกาศ
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
จากที่ได้ไปหาเรื่องราวมีสาระ เพื่อจะมาโพส ซะหน่อย ก็ หยิบยกเรื่องราวที่เคยผ่านหูผ่านตามาแล้ว
ทบทวนความจำกันซะหน่อย ก็คือ เรื่อง.....
computer organization
ความหมายระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ส่วนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ
2. ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงโปรแกรมต่าง ๆหรือชุดคำสั่งทั่เครื่องสั่งให้ทำงานตามความประสงค์
3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (peopleware) หมายถึงแรงงานบุคคลที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
((( อิอิอิอิ เรื่องยากๆ กลัวจะซ้ำ ขอเริ่มใกล้ๆตัวก่อน อิอิอิ )))
Context Diagram ของระบบสนามฟุตบอลศิษย์สมาน
สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Data Flows เข้าและออกระหว่าง External Agents และระบบได้ดังนี้
1. เจ้าของสนาม
◊ กำหนดความต้องการของหน้าต่างเว็บไซต์เพื่อความพอใจของเจ้าของสนามฟุตบอล
◊ จัดทำเงื่อนไขหรือกฎในสัญญาในการเช่าสนามฟุตบอล
◊ ลูกค้าสนใจทางด้านระบบการเช่าสนามฟุตบอลที่มีความสะดวกในการติดต่อสอบถาม
◊ จำนวนลูกค้ามีเพิ่มขึ้นเมื่อมีการจัดทำเว็บไซต์ขึ้น
◊ จัดรายการพิเศษเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า
2. ลูกค้า
◊ เมื่อลูกค้าต้องการทำสัญญาลูกค้าสามารถทำตามขั้นตอนของระบบที่ได้แจ้งไว้ได้ทันที
◊ ลูกค้าสามารถดูแบบฟอร์มของสัญญาและรายละเอียดทั้งหมด
◊ เมื่อลูกค้าพอใจกับรายการ Promotion ที่ลูกค้าได้เลือกไว้แล้ว สามารถดาวน์โหลด
แบบฟอร์มสัญญาเช่าได้ทันที
อธิบายขั้นตอนการทำงานภายในระบบการเช่าสนามฟุตบอล ในส่วนของลูกค้าโดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยแบ่งแยกแต่ละ Process ตามหมวดหมู่ของข้อมูลได้แก่ Process หนังสือสัญญา แฟ้มข้อมูล และรายงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. Process 1.0 หนังสือสัญญา
◊ ติดต่อทำหนังสือสัญญาเช่าสนามโดยมีรายละเอียดการเช่าอย่างชัดเจน
◊ ลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
◊ ลูกค้าจะเป็นผู้เลือกรายการ Promotion ในการเช่าสนาม
2. Process 2.0 แฟ้มข้อมูล
◊ สัญญาในการเช่าสนามฟุตบอล
◊ ข้อมูลของผู้ตัดสินประจำสนามฟุตบอล
◊ ข้อมูลของทีมที่เคยเช่าสนามฟุตบอล
3. Process 3.0 รายงาน
◊ เข้าชมเว็บไซต์ของสนามฟุตบอล
Case การวิเคราะห์ระบบ
1. วิเคราะห์ความต้องการของระบบและเพื่อแก้ไขปัญหาของระบบ
จากรูปข้างต้นสามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้
2.1 ผู้ใช้จะเลือกวัตถุแล้วนำไปวาดแผนภาพ ซึ่งวัตถุที่เลือกได้เลือกนี้จะเป็นวัตถุที่ใช้ในการวาดแผนภาพการตัดสินใจแบบต้นไม้ เมื่อผู้ใช้เลือกวัตถุแล้วผู้ใช้ก็จะทำงานวาดแผนภาพ
2.2 เมื่อผู้ใช้นั้นวาดแผนภาพเสร็จแล้วผู้ใช้นั้นสามารถที่จะนำแผนภาพนั้นไปสร้างเป็นรหัสต้นแบบ และนำรหัสต้นแบบนั้นไปใช้ได้
2.3 แผนภาพที่ผู้ใช้วาดเสร็จแล้วนั้นผู้ใช้สามารถนำไปบันทึกเป็นรูปภาพเพื่อนำไปใช้ หรือนำไปพิมพ์รูปของแผนภาพก็ได้
2.4 ถ้าผู้ใช้มีแผนภาพอยู่แล้วผู้ใช้ก็สามารถที่จะทำการเปิดแผนภาพขึ้นมาแก้ไขต่อได้
2.5 ผู้ใช้นั้นยังสามารถบันทึกแผนภาพที่วาดได้ ถ้าแผนภาพที่ผู้ใช้วาดนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์และต้องการบันทึกไว้สำหรับทำไว้แก้ไขในภายหลัง
3. ขั้นตอนการทำงาน
จากแผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ (Flow Chart) นั้นสามารถสรุปการทำงานได้ดังนี้
3.1 ผู้ใช้จะต้องเลือกการทำงานว่าจะเริ่มการทำงานโดยจะเริ่มจากสร้างงานใหม่ หรือเปิดงานที่เคยทำมาแล้วเพื่อแก้ไข
3.2 เมื่อผู้ใช้เลือกเสร็จแล้วผู้ใช้ก็จะต้องทำการวาดแผนภาพ
3.3 ถ้าผู้ใช้ต้องการที่จะวาดแผนภาพก็จะต้องทำการเลือกวัตถุที่จะใช้ในการวาดแผนภาพ แต่ถ้าผู้ใช้ไม่วาดแผนภาพผู้ใช้ก็จะต้องเลือกว่าจะสร้างรหัสต้นแบบหรือไม่
3.4 ถ้าผู้ใช้ต้องการที่จะสร้างรหัสต้นแบบระบบก็จะทำการสร้างรหัสต้นแบบ แต่ถ้าไม่ผู้ใช่ก็จะต้องเลือกว่าจะทำการบันทึกแผนภาพที่จะวาดหรือไม่
3.5 ถ้าผู้ใช้เลือกบันทึกแผนภาพโปรแกรมก็จะทำการบันทึกแผนภาพที่ผู้ใช้วาดขึ้น แต่ถ้าไม่ผู้ใช้ก็จะต้องเลือกว่าจะพิมพ์แผนภาพที่วาดขึ้นหรือไม่
3.6 ถ้าผู้ใช้เลือกพิมพ์ระบบก็จะทำการพิมพ์แผนภาพที่ผู้ใช้ได้วาดขึ้น แต่ถ้าไม่ผู้ใช้ก็จะต้องเลือกว่าจะทำการจบการทำงานหรือไม่
3.7 ถ้าผู้ใช้เลือกจบการทำงาน โปรแกรมก็จะจบการทำงาน แต่ถ้าไม่ขั้นตอนการทำงานของระบบก็จะเริ่มใหม่ตั้งแต่ข้อที่ 3.2 ถึง ข้อที่ 3.7
4. การวิเคราะห์ข้อมูล Input จากแผนภาพการไหลของข้อมูลทำให้สามารถสรุปข้อมูลนำเข้าได้ดังนี้
4.1 แผนภาพที่ผู้ใช้วาด ในการวาดภาพของผู้ใช้นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการเลือกวัตถุที่ใช้ในการวาดแผนภาพ ซึ่งวัตถุที่ใช้ในการวาดได้แก่
4.1.1 โหนด สำหรับแสดงจุดของการตัดสินใจ ซึ่งในการวาดโหนดนี้ผู้ใช้จะต้องใส่คำถามที่ใช้สำหรับการตัดสินใจหรือคำตอบที่เป็นข้อสรุปด้วย
4.1.2 เส้น สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างโหนดแต่ละโหนดเข้าด้วยกัน ซึ่งในการวาดเส้นนั้นผู้ใช้จะต้องใส่คำตอบสำหรับทางเลือกแต่ละทางเลือกเพื่อไปยังคำถามต่างๆ
4.2 แผนภาพที่เคยวาดแล้ว เป็นการนำแผนภาพที่ผู้ใช้นั้นเคยวาดขึ้นมาแล้ว นำมาเปิดในโปรแกรมเพื่อให้ผู้ใช้นั้นทำการแก้ไขแผนภาพให้ได้ตามต้องการ
5. การวิเคราะห์ Output จากแผนภาพการไหลของข้อมูลทำให้สามารถสรุปข้อมูล Output ได้ดังนี้
5.1 แผนภาพที่ทำการบันทึก เป็นการบันทึกข้อมูลของแผนภาพโดยข้อมูลที่บันทึกนั้นจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับแผนภาพที่ผู้ใช้วาด
5.2 รูปภาพของแผนภาพที่วาด เมื่อผู้ใช้วาดแผนภาพเสร็จแล้วผู้ใช้นั้นก็สามารรถเลือกที่จะบันทึกแผนภาพได้สองวิธี คือ บันทึกเป็นแฟ้มข้อมูล และบันทึกเป็นรูปภาพซึ่งถ้าบันทึกเป็นรูปภาพผู้ใช้ยังสามารถทำการพิมพ์รูปภาพได้
5.3 รหัสต้นแบบที่สร้างขึ้นมาจากแผนภาพ เมื่อผู้ใช้วาดแผนภาพเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถสร้างรหัสต้นแบบแล้วนำไปใช้งานได้
ตัวอย่างของ Data Flow Diagram (DFD)
ชาวบ้านชาวช่องเขาโพสต์กันไปมากมายแล้ว วชัญษาก็เพิ่งจะได้ฤกษ์โพสต์นี่ล่ะ (^o^) ไปเจอของถูกใจเข้าพอดี แต่กว่าจะหาวิธีจับเอามาโพสต์ในบล็อคได้ ก็เล่นเอาเหนื่อยไปเหมือนกัน แต่เพื่อเพื่อนๆ ที่รักจ้ะ ยอม อิอิ (เน่าสนิท) (^_~)
มาเข้าเรื่องดีกว่า คือว่า ท่องเว็บเล่นไปมาเรื่อยๆ ก็มาเจอเว็บนี้เข้าจ้ะ http://elearning.tvm.tcs.co.in/re/re/3_2_DFD.htm ประมาณว่า เป็นบทเรียนออนไลน์หรืออะไรสักอย่างนี่ล่ะ สอนเกี่ยวกับการเขียน Data Flow Diagram เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษแต่ก็สามารถอ่านเข้าใจได้ไม่ยากนัก และสิ่งที่ชอบมากคือ เขามีไฟล์ Flash ที่แสดงตัวอย่างการไหลของข้อมูลให้ดูด้วย ทำให้ดูแล้วเข้าใจระบบการเขียน Context Diagram และ Data Flow Diagram ได้ดีขึ้นมากเลยล่ะ มาดูกันๆๆ \(^_^)/
ตัวอย่างที่ 1 : Customer places sales orders. The system checks for availability of products and updates sales information
ลูกค้าส่งใบสั่งซื้อเข้ามา (sales orders) ระบบก็จะตรวจว่าสินค้ามีพอที่จะขายให้หรือไม่ หลังจากนั้นก็จะส่งข้อมูลต่อไปให้ยังฝ่ายขาย
\(^0^)/ ลองกดตรงคำว่า Animate ดูนะ มันจะโชว์การไหลของข้อมูลให้ดู \(^0^)/
ก็คือ ข้อมูลเริ่มมาจาก Entity ลูกค้า --> ส่ง Input เป็น Sales Orders มายัง Process Order System --> เสร็จแล้วข้อมูลของสินค้าที่ถูกเก็บอยู่ใน Data Stores ของ Product ก็จะถูกดึงมาใช้ ประมวลผลที่ Process Order System ด้วยวิธีอะไรก็ไม่รู้ เรายังไม่ต้องสนใจ -->หลังจากนั้นส่งข้อมูลไปให้ Data Stores ของ Sales
ตัวอย่างที่ 2: Company receives applications. Checks for eligibility conditions. Invites all eligible candidates for interview. Maintains a list of all candidates called for interview. Updates the eligibility conditions as and when desired by the management
ทางบริษัทจะรับคนเข้าทำงาน ก็มีคนส่งใบสมัครมามากมาย ระบบก็จะดึงข้อมูลมาประมวลผลว่าใบสมัครไหนมีคุณสมบัติตรงกับตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นส่งข้อมูลกลับไปยังผู้สมัครเพื่อเรียกมาสัมภาษณ์งาน แล้วก็ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกคนเข้ามาสัมภาษณ์ไปเก็บไว้ที่ Data Stores ด้วย
ในขณะเดียวกัน หากทางฝ่าย Management ต้องการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าทำงาน ก็จะส่งข้อมูลการ Update คุณสมบัตินั้นมาเก็บไว้ที่ Data Stores อันเดียวกับที่ใช้เลือกคนเข้ามาสัมภาษณ์งาน
อืม ดูแล้วอยากทำ Flash แบบนี้ได้บ้าง >_< ใครทำได้สอนเรามั่งดิ
ปล. ถ้าเราอธิบายตรงไหนผิดบอกด้วยนะ ทีวีเบลอๆ อ่ะวันนี้ -*-
ปล.2 บทความเต็มๆ ตามไปอ่านกันได้ที่นี่จ้า http://elearning.tvm.tcs.co.in/re/re/3_2_DFD.htm (*^o^*)
วันนี้ขอลาแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีจ้า (^_^)/
ระบบสารสนเทศ (Information System)
การบริหารงานในองค์กรนั้น ทุกขั้นตอนจะต้องใช้ข้อมูลข่าวสารทั้งสิ้น นักวิเคราะห์ระบบควรศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ต่าง ๆ ในองค์กร การจัดองค์กร โครงสร้างขอบองค์กร เพื่อศึกษาว่า แต่ละระบบต้องการข้อมูลข่าวสารอะไร รวมถึงเรื่องของการเคลื่อนไหวของข้อมูลด้วยว่าข้อมูลที่เกิดจากระบบย่อยหนึ่ง ๆ จะเป็นข้อมูลสำหรับระบบย่อยใดต่อไป ปัจจุบันองค์กรธุรกิจได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านบริหารงาน เช่นการตัดสินใจแต่ละปัญหาจะใช้ข้อมูลที่ได้จากการพยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า หรือสารสนเทศต่าง ๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว ทำให้ตัดสินใจผิดพลาดน้อยมาก นอกจากนั้นยังใช้สารสนเทศต่าง ๆ มาช่วยในการวางแผนและการควบคุมงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทำไมไทยต้องยอมยกเขาพระวิหารให้เขมรด้วย -*-
โปรแกรมเมอร์ ( programmer ) หมายถึงบุคคลที่รับผิดชอบในด้านการเขียนโปรแกรม สิ่งที่เขาจะเชื่อมโยงนั้น ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติ ( Operating System :OS ) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียน เช่น COBOL, BASIC และ C++ งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปในลักษณะที่มีขอบเขตที่แน่นอนคือโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นนั้นถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่ กิจกรรมงานของโปรแกรมจะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น กับโปรแกรมเมอร์ด้วยกันเอง หรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบให้แก่เขา
นักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SA (SYSTEM ANALYSIS) นั้น นอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะต้องรับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มหรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลดิบที่จะป้อนเข้าระบบงานของนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์ ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่เขาวางไม่ว่าผิดหรือถูก งานของเขาเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน คือ ผู้ใช้ วิธีการ เทคโนโลยี และอุปกรณ์จนได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมออกมาเป็นระบบงาน (APPLICATION SYSTEM) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์ ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล
แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยากและซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และกว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปร่างและสามารถใช้ปฏิบัติได้จริง จะฝังอยู่ในสำนึกของเขาตลอดเวลา ความรู้สึกอันนี้คงจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่จะทราบกันเองในหมู่ของนักวิเคราะห์ระบบด้วยกัน
นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์
- ผู้วิเคราะห์ปัญหา และนำมาเปลี่ยนให้เป็นรูปที่เหมาะสมสำหรับการประเมินค่าด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการวางแผนงาน การสั่ง การทบทวนโครงการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และการจัดทำรายงานเกี่ยวกับโครงการที่ทำไปแล้ว พิจารณานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วย ในการดำเนินงาน นักวิเคราะห์ระบบงาน ต้องพิจารณาทั้งการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมควบคุมระบบ/โปรแกรมอื่นๆ (Software) ระบบเครือข่าย (Network) และบุคลากร (People) มาใช้งานอย่างเหมาะสม วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์และการแก้ปัญหา ผู้วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์จะใช้เทคนิคของการวิเคราะห์แบบโครงสร้าง สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จำลองแบบข้อมูล วิศวกรรมด้านข้อมูลข่าวสาร การสุ่มตัวอย่าง และหลักการบัญชีต้นทุน เพื่อวางแผนในการทำงานออกแบบขั้นตอนในการทำงาน
คุณสมบัติ
1. มีทักษะในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
2. มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษดี
3. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
4. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างน้อย และมีความรู้ในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์
โอกาสและความก้าวหน้า
- ผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบการทำงาน การทำงบประมาณรายจ่ายขององค์กร การควบคุมลูกน้องได้ดี และมีทักษะในการสื่อสารดีจะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ หรือผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้บริหารขององค์กรในที่สุด สำหรับผู้ที่รักอาชีพอิสระสามารถจัดตั้งกิจการของตนเองเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ให้กับองค์กรต่างๆ ที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายที่แน่นอนกับการจ้างพนักงานประจำและ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเทคโนโลยีตลอดเวลา
ความต้องการของตลาดแรงงาน
- ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา นายจ้างมีความจำเป็นต้องการจ้างงานผู้ที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆนี้อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ก็ว่าจ้างนักวิเคราะห์ระบบงานมาดำเนินการอีก การค้าทางอินเตอร์เน็ตกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีทางด้านโทรศัพท์มือถือกำลังออก Technology WAP Protocol มา สนับสนุนอินเตอร์เน็ตแล้ว ทำให้มีความต้องการจ้างงานสำหรับคนทำงานที่มีความรู้ทางด้านการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี ยิ่งการพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นเท่าใดความต้องการก็เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย
แหล่งข้อมูล กรมการจัดหางาน,งานแนะแนวจัดหางานและทุนการศึกษา,มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อนาคตนักวิเคราะห์ระบบ
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องสามารถทำงานร่วมกับคนได้ทุกประเภท จะต้องมีประสพการณ์ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ สามารถอธิบายให้คนเหล่านั้นเข้าใจและเห็นความสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ และบางครั้งจะต้องทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน โดยจะมีหน้าที่ที่สำคัญคือ
- นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นที่ปรึกษา
ซึ่งโดยส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ระบบจะมีหน้าที่นี้ โดยส่วนใหญ่ในการที่จะทำหน้าที่นี้ได้ควรจะต้องปฏิบัติงานในองค์กรนั้นเป็นหลักเพราะจะสามารถรู้ถึงลักษณะขององค์กรนั้นได้มากกว่า แต่ถ้าหากเป็นนักวิเคราะห์ระบบจากภายนอกจะต้องทำงานอย่างหนักที่จะหาวิธีที่จะวิเคราะห์และออกแบบให้เป็นไปตามองค์กรนั้น
- นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นส่วนช่วยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
ในการเป็นส่วนช่วยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะงานซึ่งมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง และไม่ค่อยมีผลกระทบกับส่วนอื่นๆ
- นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งจะต้องพยายามให้การเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลกระทบในทางบวกมากที่สุด และจะต้องคอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ และจะต้องมีการสอนผู้ใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้น
-นักวิเคราะห์ระบบจะต้องสร้างคุณภาพ
การสร้างคุณภาพจะเป็นไปได้อย่างมากเมื่อนักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักเลือกใช้เครื่องมือที่มาช่วยในการวิเคราะห์ระบบได้เหมาะสมกับงาน มีเทคนิคที่ดี มีประสบการณ์สูง มีความเข้าใจในความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากผู้ใช้ได้ดี และสามารถสื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ในการ code ได้ตรงกับระบบ
ระดับความรู้
บุคลากรที่จะดำรงตำแหน่งงานนี้ได้จะต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และด้านการวิเคราะห์ระบบอย่างน้อยปริญญาตรีขึ้นไป และควรมีประสบการณ์ด้านการเขียนโปรแกรม
นักวิเคราะห์ระบบในหน้าที่อื่น
1. วิเคราะห์ระบบเท่านั้น โดยที่องค์กรที่รับผิดชอบนั้นต้องการเน้นแต่การรวบรวมข้อมูล และตัดสินใจถึงความต้องการของผู้ใช้เท่านั้น ตำแหน่งนี้คือ นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ (Information analysts)
2. วิเคราะห์และ ออกแบบระบบ โดยที่นักวิเคราะห์ระบบนั้นต้องรับผิดชอบในการทำระบบให้ สมบูรณ์รวมทั้งต้องรับผิดชอบในการออกแบบระบบใหม่ด้วย ตำแหน่งนี้คือ นักวิเคราะห์ออกแบบระบบ และนักพัฒนาซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Systems designers, applications developers)
3. วิเคราะห์ ออกแบบระบบ และการเขียนโปรแกรม โดยนักวิเคราะห์ระบบนั้นต้องรับผิดชอบใน การวิเคราะห์ พัฒนาออกแบบเฉพาะงาน และเขียนโปรแกรมตามที่ออกแบบ ตำแหน่งนี้คือนักเขียนและวิเคราะห์โปรแกรม (Programmer analysts)
วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ปรับเปลี่ยนระบบงานเก่า ให้เป็น ระบบงานใหม่
ระบบที่ดำเนินมา และ ปรับปรุงควบคุมมานาน จะเป็นระบบที่มีความเสถียร ติดตามงานได้ แต่ไม่รวดเร็ว ช้า และมีขั้นตอนมากมาย วิธีการแรกที่ได้รับมาคือ
การมองระบบในรูปแบบของภาพการเชื่อมโยงเอกสาร
ได้คำแนะนำมาให้รวบรวมเอกสารต่างๆของระบบงานแล้วนำมา จัดวางบนกระดาษที่ติดฝาผนังเอาไว้ แล้ว เขียนให้เป็นการเชื่อมโยงของเอกสาร และ การเดินทางของเอกสาร ติดไปสัก 2 สัปดาห์ แล้วได้รับการแนะนำและชี้ให้เห็น พบว่า พอมองไปที่กำแพงทุกครั้ง จะเห็นระบบงานที่ยุ่งยาก เอกสารมากมาย ที่ซ้ำซ้อน จากระบบที่เราคิดว่า ดีเลิศ กลับกลายเป็นระบบที่มีความใหญ่ เคลื่อนไหวช้า เอกสารซ้ำซ้อน การตรวจตรา และ การจัดเก็บเอกสาร มันซ้ำซ้อน และ เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นอย่างมาก เห็นภาพของระบบงานจริงๆเลย
หลังจากเห็นภาพที่ปรับปรุงก็จัดระบบกันใหม่จากแผนภาพเดิม ระบบดีขึ้น เร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายลงด้วย แต่ตามงานกันง่ายขึ้น
ตอนนี้เราก็ทำแบบเดียวกันกับระบบอื่นๆ หน้ามืดเลย ตอนที่เห็นว่า เอกสารอย่างเดียวกัน มันมีรูปแบบหน้าตาอื่นๆ ที่แตกต่างกัน แต่การใช้งานอย่างเดียวกัน บริษัทฯเดียวกันแท้ๆทำไมเอกสารหลักไม่เหมือนกัน กำลังจัดระบบจากคำแนะนำแรกอยู่ สนุกสนานและทำให้ระบบงานดูดีขึ้นมาก ต้องขอขอบคุณ และ อยากให้เพื่อนๆ ได้นำเอาแนวความคิดไปใช้งานด้วย
จริงๆแล้วการทำงานของเราหรือการออกแบบระบบงานนั้น เราจะสร้างเสริมขึ้นมาเพิ่มมากขึ้นเพื่ออุดรอยรั่วหรือทำให้ระบบงานสามารถติดตามงานกันได้ ดังนั้น การที่ระบบงานที่ดีส่วนใหญ่จะใหญ่เกินไป หรือ มีการทำงานที่ซ้ำซ้อนนั้นเป็นเรื่องปกติ การเอาเอกสารต่างๆออกมาจัดวางในกระดาษ เป็นการจัดให้สิ่งที่เรามองไม่เห็น สามารถจัดออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมจริงๆ สามารถวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น โดยลดความรู้สึกในระบบงานลง แต่เอาความจริงขึ้นมาให้เห็นเป็นรูปธรรม อย่างนี้จะทำให้เราไม่หลงทางครับ
การวิเคราะห์นั้น ต้องให้เห็นองค์รวมของระบบงานให้ชัดเจน เข้าใจการเชื่อมต่อของงานแต่ละงานว่า สิ่งที่เราทำนั้นจำเป็นเพียงใด จะได้วิเคราะห์และจัดหาระบบงานต่างๆเข้าไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และ ได้ผล
บทบาทสำคัญของผู้ใช้ระบบที่มีต่อนักวิเคราะห์ระบบ
กระผมจะขอพูดถึงเรื่องบทบาทสำคัญของผู้ใช้ระบบที่มีต่อนักวิเคราะห์ระบบ ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานขึ้นมานั้น สิ่งสำคัญที่สุดของความสำเร็จในระบบงานนั้น ก็คือการที่ระบบงานสามารถทำงานตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ถึงขีดสุด การออกแบบระบบงานแต่ละระบบงานจึงต้องคำนึงถึงความต้องการ(NEED)ของผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยยึดหลักเกณฑ์ของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบไว้ด้วย มีนักวิเคราะห์ระบบมากมายที่มีความสามารถในการวิเคราะห์และพัฒนาระบบให้โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประโยชน์และทันสมัย แต่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทำให้ต้องมาแก้ไขและพัฒนาระบบอีก ซึ่งเป็นการเสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นและลดประสิทธิภาพการทำงานลงอีกด้วย และส่วนสำคัญในการกระบวนการคิดของนักวิเคราะห์ที่สมควรมีคือการตระหนัดถึงผู้ใช้ระบบให้มากที่สุด และรวมถึงทุกระดับของผู้ใช้งานระบบด้วย ไม่ใช่แค่ตอบสนองความต้องการเพียงไม่กี่ระดับของผู้ใช้งาน เช่นระบบการตลาด ที่แสดงผลสรุปแก่ผู้บริหารได้ดีเยี่ยม แต่กับพนักงานระดับปฏิบัติการ ระบบกลับไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง เพราะไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้ เป็นต้น ดังนั้นระบบงานข้อมูลที่นักวิเคราะห์ระบบวางดีไซน์ขึ้น จะมีคุณค่าเท่าใดนั้น มิใช่นักวิเคราะห์ระบบเองจะเป็นคนตัดสิน เพราะนักวิเคราะห์ระบบเป็นเพียงผู้สร้างมัน แต่ผู้ใช้ระบบต่างหากเป็นผู้ที่รู้ถึงหลักการที่ว่าระบบงานนั้นได้ตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้มากน้อยเพียงใด
ปล.1 "การมีคนรักก็เช่นกัน ยิ่งเราเข้าใจถึงการความต้องการของแต่ละฝ่ายมากเท่าใด ระบบความรักของทั้งคู่ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น"
ปล.2 "ถึงน้ำเน่าก็ยังเห็นเงาจันทร์" ^0^
วิเคราะห์ระบบการเมืองไทย
1.ตัวระบบ(SYSTEM)
ในตัวระบบนี้หมายถึงการนำเอาองค์ประกอบในระบบการเมืองไทย ในด้านสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก ในความต้องการของประชาชนและแรงสนับสนุน จนเป็นตัวนำเข้า ก่อเกิดเป็นนโยบาย ซึ่งเป็นช่วงPOLITICAL LIFE โดย ครม.ก็จะดูเรื่องภาษี ดูงบประมาณ ก่อนนำนโยบายไปปฏิบัติ และการสะท้อนกลับของนโยบายเชิงพลวัต กลับเข้ามาสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้ง ซึ่งถ้าเราเอาตัว"ระบบ"นี้มาเป็นกรอบในการมองพรรคการเมืองต่างๆแล้ว เราจะเห็นโอกาสในการเป็นรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของบรรดาพรรคการเมืองนั้น มีอยู่ประมาณสองพรรคเท่านั้น ที่มีความพร้อมนอกนั้นน่าจะเป็นการผสมเท่านั้น
2.สิ่งแวดล้อม(ENVIRONMENT)
2.1 สิ่งแวดล้อมภายในระบบสังคม(INTRA-SOCIETAL ENVIROMENT)
เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออก65%และการท่องเที่ยว15% ตอนนี้เกิดปัญหาน้ำมันและพลังงานทางเลือก ปัญหาค่าเงิน ปัญหาซับไพรม์ของสหรัฐ และปัญหาเศรษฐกิจของยุโรป ปัญหา รัฐบาลของคมช. ที่ทำเศรษฐกิจต่ำสุดในอาเซียน ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัจจัยกดดันปัญหาสังคมตามมา ดังนั้นข้อเรียกร้องของประชาชนจึงมุ่งไปที่ การแก้ปัญหาการเมืองต้นเหตุ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมให้พลิกฟื้นโดยเร็ว
2.2 สิ่งแวดล้อมภายนอกระบบสังคม(EXTRA-SOCIETAL ENVIROMENT)
โลกยุคโลกาภิวัตน์ในการแข่งขันทางการค้าเสรีทำให้ไทยเริ่มมีปัญหา ที่เรามีแต่ค่าแรงและที่ดิน แต่แรงงานฝีมือมีน้อย อีกทั้งปัญหาการขาดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเชิงพาณิชย์ได้ต้องอาศัยทุนและวิชาการของต่างประเทศในระบบการพึ่งพามาโดยตลอด เป็นแรงที่สนับสนุนให้รัฐบาลที่ต้องมีฝีมือมาทำการแก้ไขโดยด่วน
3.การตอบสนอง(RESPONSE)
เป็นการนำข้อเรียกร้องของประชาชนและแรงสนับสนุนให้รัฐบาลรีบดำเนินการเข้าสู่กระบวนการสร้างนโยบายและตัดสินใจในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ความพร้อมของ พปช.และ ปชป.มีพอๆกันในด้านนี้ ซึ่งต้องดูทฤษฎีของแต่ละพรรคฯว่ามีทฤษฎีที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าทฤษฎีการแก้ไขปัญหาถูกต้อง ก็ต้องดูการปฏิบัติว่าถูกต้องหรือไม่ในแต่ละโครงการหรือมาตรการ
พปช.ได้เปรียบตรงนี้ เพราะมีทฤษฎีที่ถูกต้องมาแล้วในการทำDUAL TRACK คือเศรษฐกิจการค้าเสรีด้านบน ในการส่งออกและนำเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียงในรากหญ้า ในโครงการประชานิยม ซึ่งตัวชี้วัดคือGDP ที่ขยับขึ้นภายหลังโรคต้มยำกุ้งที่ทำโดย ปชป.
4.ผลกระทบ(IMPACT)
ผลกระทบเดิมจากโรคต้มยำกุ้ง ทรท.เดิมได้แก้ไขจนกระเตื้องขึ้น แต่มาหยุดชะงักลงในการเกิดรัฐประหารซึ่งทำให้GDP ต่ำสุดในอาเซียน และทุกพรรคการเมืองในตอนนี้ก็หันมาใช้นโยบายประชานิยมตามแบบ ทรท.เดิม ปัญหาในการตัดสินใจคัดเลือกพรรคการเมืองก็คือปัญหาของ"ความเป็นต้นแบบ" กับ"การตามต้นแบบ" ความเป็นต้นแบบได้เปรียบมากในการพัฒนาต่อยอดโครงการ แต่ พวกตามต้นแบบจะมีปัญหาในการปฏิบัติมากกว่าและอาจผิดพลาดได้โดยง่าย ดังนั้นจึงสามารถที่จะสรุปได้ว่า พรรคการเมืองที่เป็นต้นแบบของการแก้ไขเศรษฐกิจ น่าจะดีกว่ากันเพราะประเทศชาติไม่ต้องการการทดลองทฤษฎีอะไรๆที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน แต่ต้องการในทฤษฎีเดิมที่เคยใช้ได้ดีมาก่อนแล้ว
วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551
Process # DFD เจ้าค่ะ
ขณะนี้เป็นเวลา 22.00 โดยประมาณ (ไม่แน่ใจว่ามันจะตรงกับเวลาของเว็ปอ่ะป่าว คราวที่แล้วโพสไปประมาณ 5 ทุ่ม มันบอกว่าเค้าโพสตอน 9.20 >> ก่อนเที่ยง..มันใช่ซะที่ไหนกันล่ะคับพี่น้อง อย่างนี้ต้องบอกให้เค้าหัดออกแบบระบบการทำงานให้ดีกว่านี้หน่อย)
อ่า...กลับมาเข้าเรื่องนะ หลังจากเรื่องแรกที่โพสไปเมื่อไม่นานนี้
(แต่มีความรู้สึกเหมือนนานมาก เพราะได้ถูก อัน -ตะ-ทาน หายไปจากหน้าแรกนานพอสมควร --!) ก้อได้มีความคิดที่จะโพสเรื่องที่ 2 ในรอบสัปดาห์ (ที่คิดไม่ตกอยู่นานว่า จะโพสอะไรดีว้า...)
...ที่สุดก็คิดได้ มันก็คือ เรื่องของ Process ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ Data flow Diagram (อีกแล้วหรอเนี่ย) >> ก้อมันพอดีอ่านเจอนี่น่าา (เค้าคิดว่ามันน่าสนใจ) >> สำหรับการทำการบ้านดีงัยก็เลยเอามาให้อ่านกันงัย ^^
กฏของ Process เนี่ย (ที่อ่านเจอ) มีด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้
1. ต้องไม่มีข้อมูลรับเพียงอย่างเดียว เรียกความผิดพลาดนี้ว่า "Black Hole" เกิดจากข้อมูลรับเข้ามาเกิดการสูญหาย เนื่องจากไม่มีการส่งข้อมูลออกจาก Process เลย
2. ต้องไม่มีข้อมูลออกเพียงอย่างเดียว (อันนี้ผิดชัวร์ ๆ >> ไม่มีข้อมูลรับเข้ามาแล้วจาเอาอะไรส่งต่อ...ใช่ม่ะ)
3. ข้อมูลรับเข้าต้องเพียงพอในการสร้างข้อมูลส่งออก กรณีนี้เรียกแบบอินเตอร์ ๆ ว่า "Gray Hole" นั่นก็หมายถึงข้อมูลที่เรารับเข้ามา ไม่เพียงพอที่จะทำงานใน Process ยกตัวอย่าง (ง่าย ๆ) ถ้าต้องการทำรายงานข้อมูลสถานะทางการเงิน แต่ข้อมูลที่รับเข้ามามีเพียง ข้อมูลพนักงานอย่างเดียว แล้ว Process จะทำงานได้มั้ยล่ะ (เป็นต้น)
4. การตั้งชื่อ Process ต้องใช้คำกริยา ยกตัวอย่างเช่น บันทึก... ตรวจสอบ... คำนวณ... (หมายเหตุ : ... เนี่ย คือ จะทำอะไรก็เติมลงไป)
อันนี้เป็นเพียงกฏของ Process (ที่เจอในหนังสือนะ) แต่เค้าว่ามันน่าจะมีอะไรที่สับซ้อนกว่านี้ที่เรายังเรียนไม่ถึงหรือประสบการณ์ (ในการทำการบ้าน) ที่ยังเราทำมายังไม่ประสบพบเจอ
-- ! การเขียน Data flow Diagram เนี่ย มันควรจะมีหลักในการเขียนยังไงอีกมั้ย (จากการบ้านที่ทำตอนนี้ ถึงจะวาดรูปสวย ^^ แต่ดูจากการโยง Data flow เองแล้วเนี่ย สับสนแท้)
>> การใช้สีสันเป็นการเพิ่มทักษะทางการจดจำอย่างหนึ่ง (ทึ่เค้าชอบทำ)
สุดท้าย...ขอบคุณเพื่อน ๆ นะค่ะที่เสียเวลาอ่านของเค้า (อ่านกันซักกี่คนละเนี่ย 55) >> แม้จะมีสาระอยู่ ~ 10บรรทัด ยังไงเจอกันใหม่ในการโพสครั้งหน้านะค่ะ วันนี้ ภารีนา .... สวัสดีค่ะ ^^
วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ (Introduction to Information System)
ในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ทำให้หน่วยงานธุรกิจทั้งหลายจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งไว้ เพื่อการจัดการกับข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ องค์การต่างๆ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อหาความได้เปรียบในเชิงคู่แข่งขันกับองค์การอื่นๆ โดยระบบสารสนเทศจะมีอิธิพลมากต่อวิธีจัดองค์การและกระบวนการดำเนินการในหน้าที่ต่างๆ ทางธุรกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและการวางแผนระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการกลายเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในลำดับสูง และค่อยๆ กลายเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งในปัจจุบันนี้เพราะว่า
- องค์การต่างๆ ได้พบว่าสามารถใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน
- องค์การต่างๆ สามารถใช้ระบบสารสนเทศในการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิต
- ผู้บริหารองค์การได้ตระหนักถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของการบูรณาการฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และทำการเผยแพร่สารสนเทศขององค์การมากขึ้น
เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ประกอบกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาที่ต่ำลง ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่า ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นองค์การหรือหน่วยงานเล็กๆ ต่างก็นำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือในการใช้งานอยู่ทั่วไป ประกอบกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีความล้ำหน้าทุกขณะ และไม่ได้ถูกจำกัดการใช้งานเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์เช่นแต่ก่อนอีกต่อไป
ความแตกต่างระหว่างข้อมูลกับสารสนเทศ
1. ข้อมูล (Data) คือ เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นประจำวันในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า รายการส่งสินค้า ชื่อที่อยู่ลูกค้า ยอดขายในแต่ละวัน เป็นต้น ข้อมูลอาจเป็นได้หลายชนิด เช่น ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ รูปถ่าย หรือแม้กระทั่งเสียง
2. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่นการนำเสนอยอดขายรายเดือนต่อผู้บริหาร ซึ่งยอดขายรายเดือนนั้นได้มาจากการรวบรวมยอดขายของตัวแทนขายในแต่ละวัน สารสนเทศที่ดี จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น และช่วยให้การประมาณการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือยอดขาย ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุด
การสำรวจระบบ
1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร คือ เป้าหมายขององค์กรนั่นเอง
1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร คือ อำนาจความรับผิดชอบ
1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับงาน การไหลของข้อมูล หรือรับ-ส่งข้อมูลอย่างไรในระบบ
1.4 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม กำหนดขอบเขตงานให้ชัดเจน
2. วิธีรวบรวมข้อมูล มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดข้อมูลที่เราต้องการ แบ่งได้ดังนี้
2.1 การรวบรวมจากเอกสาร เช่น โครงสร้างองค์กร คู่มือปฎิบัติงาน นโยบาย ฯลฯ
2.2 แบบสอบถาม เพื่อถามคำถามที่ให้ผู้ตอบตอบคำถาม
2.3 การสัมภาษณ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลโดยการพูดคุยซักถาม ตามที่นักวิเคราะห์ระบบต้องการ
2.4 การสังเกต เป็นการดูกระบวนการทำงานจริงของระบบอย่างเดียว ไม่มีการสอบถามใดๆ
2.5 การสุ่ม ใช้กรณีที่มีข้อมูลจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
แต่การสุ่มทำให้เสียค่าใช้จ่ายและ เวลามาก
ข้อผิดพลาดใน DFD
ถ้าเขียนโดยนักวิเคราะห์ระบบคนละคน ถึงอย่างไรแนวทางการเขียน DFD ซึ่งจะช่วยให้ เราเขียน DFD ได้ถูกต้องมากขึ้นก็มีอยู่บ้าง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ถ้า DFD ซับซ้อนมาก ทุกๆ นิ้วในกระดาษถูกใช้งานทั้งหมด แสดงว่า DFD นั้นควรจะแตกย่อยไปอีกระดับหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง
2. ข้อมูลที่ออกจากโพรเซส หรือผลลัพธ์มีข้อมูลขาเข้าไม่เพียงพอ เราจะต้องพิจารณาแผนภาพต่อไปอีก แต่ที่สำคัญไม่ควรใส่ข้อมูลที่ไม่เคยใช้เข้ามาในโพรเซสเป็นอันขาด
3. การตั้งชื่อโพรเซสนั้นไม่ง่ายนัก อาจจะมีปัญหา 2 อย่างคือ โพรเซสนั้นควรจะแยกออกเป็น 2 ส่วน หรือเรา ไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในโพรเซสนั้นๆ ในกรณีนี้เราต้องศึกษาระบบให้ละเอียดยิ่งขึ้น
4. จำนวนระดับในแต่ละแผนภาพแตกต่างกันมาก เช่นโพรเซสที่ 1 มีลูก 2 ชั้น แต่โพรเซสที่ 2 มีลูก 10 ชั้นแสดงว่าการแบ่งจำนวนโพรเซสไม่ดีนัก จำนวนลูกของโพรเซสไม่จำเป็นต้องเท่ากัน แต่ไม่ควรจะแตกต่างกันมากนัก
5. มีการแตกแยกย่อยข้อมูล รวมตัวของข้อมูล หรือมีการตัดสินใจในโพรเซส แสดงว่าโพรเซสนั้นไม่ถูกต้อง การแยกข้อมูล หรือรวมตัวของข้อมูลเป็นหน้าที่ของพจนานุกรมข้อมูล การตัดสินใจเป็นรายละเอียดอยู่ใน คำอธิบายโพรเซส
การสร้าง DFD ที่ดีเป็นงานที่ยากที่สุดสำหรับนักวิเคราะห์ระบบมือใหม่ หรือแม้แต่ผู้ที่มีประสบการณ์มาแล้วก็ตาม DFD ที่ไม่ดีจะทำให้ผลลัพธ์สุดท้ายของระบบออกมาไม่ดีเช่นเดียว กันทั้งนี้เนื่องจาก DFD เป็นรากฐานสำหรับการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม
ตัวอย่างระบบงาน อีกซักอัน
ระบบจัดซื้อ (Purchase Order)
การออกใบสั่งซื้อสามารถทำขึ้นเองหรือจะใช้การวิเคราะห์จากยอดขาย โดยสามารถวิเคราะห์จากจำนวนขายและสถิติการขายในช่วงระยะเวลาต่างๆ การสั่งซื้อสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ โดยอาศัยค่าที่ตั้งไว้ก่อนแล้วและยังสามารถปรับปรุงแก้ไขยอดอัตโนมัติที่ได้มาได้อีกด้วย ระบบนี้ยังรวมถึงการรับและคืนสินค้าทั้งประเภทเครดิตและฝากขายหรือ Standing โดยการอ้างถึงใบสั่งซื้อหรือไม่ก็ได้ มีระบบตรวจสอบใบสั่งซื้อค้างรับที่จะรับครั้งละครบทุกรายการหรือรับแค่บางส่วน และเก็บส่วนที่เหลือไว้รับเพิ่มในครั้งอื่นๆก็ได้
ตัวอย่างระบบงาน
สวัสดีครับอาจารย์และเพื่อน ๆ ผมต่ายนะครับ
เฮ้อ ! ได้มีโอกาสเข้ามาใน Blog ก็วันศุกร์เข้าไปแระ (แล้วไปทำไรอยู่ตั้งหลายวัน) << บางคนคิดในใจ 555เอาเป็นว่ามาช้าดีกว่าไม่มานะครับ พอเข้ามาก็เห็นเพื่อน ๆ โพส กันไว้เต็มเลย อ่านดูแล้ว ตัวเองก็ยังไม่รู้จะโพสไรดี นั่งมึน ๆ ซักพัก ก็ได้ นี่มา ลองดูละกัน เผื่อเป็นประโยชน์
ตัวอย่างระบบงาน
- ระบบงานขาย (Sales System)
การออกใบสั่งซื้อสามารถทำขึ้นเองหรือจะใช้การวิเคราะห์จากยอดขาย โดยสามารถวิเคราะห์จากจำนวนขายและสถิติการขายในช่วงระยะเวลาต่างๆ การสั่งซื้อสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ โดยอาศัยค่าที่ตั้งไว้ก่อนแล้วและยังสามารถปรับปรุงแก้ไขยอดอัตโนมัติที่ได้มาได้อีกด้วย ระบบนี้ยังรวมถึงการรับและคืนสินค้าทั้งประเภทเครดิตและฝากขายหรือ Standing โดยการอ้างถึงใบสั่งซื้อหรือไม่ก็ได้ มีระบบตรวจสอบใบสั่งซื้อค้างรับที่จะรับครั้งละครบทุกรายการหรือรับแค่บางส่วน และเก็บส่วนที่เหลือไว้รับเพิ่มในครั้งอื่นๆก็ได้
หลักความสำเร็จของการพัฒนาระบบงาน
___หลักการที่ 1 : ระบบเป็นของผู้ใช้นักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ควรจะระลึกเสมอว่า ระบบเป็นของผู้ใช้ระบบซึ่งจะเป็นผู้นำเอาผลของระบบดังกล่าวมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของเขา แม้ว่านักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาสร้าง เป็นระบบงานคอมพิวเตอร์ก็ตาม แต่ไม่ลืมว่าระบบงานคอมพิวเตอร์มีจุดยืนจุดเดียวกัน คือ เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้หรือธุรกิจ ดังนั้น ผู้ใช้ระบบจึงมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้การพัฒนาระบบงานเป็นไปอย่างถูกต้อง และ เพื่อตอบสนองกับความต้องการ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจะต้องนำเอาความเห็นของผู้ใช้ระบบมาเกี่ยวข้อง ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาหรืออีกนัยหนึ่งคือ ในวงจรการพัฒนาระบบงานและโครงการ (SDLC) จะต้องมีบทบาทของผู้ใช้ระบบอยู่เสมอทุกขั้นตอน
___หลักการที่ 2 : ทำการจัดตั้งและแบ่งกลุ่มของระบบหรือโครงการออกเป็นกลุ่มงานย่อยโดยทั่วไป วงจรการพัฒนาระบบงานและโครงการ (SDLC) ได้จัดแบ่งขั้นตอนของการทำงานเป็นหลักอยู่แล้วดังนี้
______1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบงาน (System Analysis)
______2. ขั้นตอนการดีไซน์และวางระบบงาน (System Design)
______3. ขั้นตอนการนำระบบงานเข้าสู่ธุรกิจเพื่อใช้ปฏิบัติงานจริง (System imple-mentation)
______4. ขั้นตอนการติดตามและดำเนินการภายหลังการติดตั้งระบบงาน (Systemsupport)
___สาเหตุที่มีการจัดแบ่งกลุ่มงานให้เล็กลงและเป็นลำดับขั้น ก็เพื่อที่จะให้นักบริหารโครงการหรือผู้พัฒนาระบบงานสามารถที่จะควบคุมความคืบหน้าของ การพัฒนาระบบได้อย่างใกล้ชิดและสามารถที่จะกำหนดและควบคุมระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบได้ดีขึ้นอีกด้วย
___หลักการที่ 3 : ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานไม่ใช่แบบอนุกรม (sequential process)ความหมายของหลักการนี้คือ เมื่อเราเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบ SDLC แล้ว เราไม่จำเป็นที่จะทำขั้นที่ 1 คือ system analysis ให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงค่อยทำขั้นที่ 2 คือ system design หรือต้องทำขั้นที่ 2 เสร็จค่อยทำขั้นที่ 3 เรื่อยไป การทำแบบนี้จะทำให้เราใช้ระยะเวลามากขึ้นในการพัฒนาระบบงานหนึ่งๆ
___ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานสามารถที่จะทำซ้อน (overlap) กันได้ เช่น เมื่อได้ทำการวิเคราะห์ระบบงานไปได้ระยะหนึ่ง นักวิเคราะห์ระบบก็สามารถที่จะนำเอาผลการวิเคราะห์นั้นไปดีไซน์หรือวางระบบงานได้ก่อนโดยไม่ต้องรอให้ขั้นตอน การวิเคราะห์เสร็จสมบูรณ์จึงค่อยดีไซน์ ดังตัวอย่างในรูปที่ 1 ซึ่งแสดงให้เป็นว่าขณะที่กิจกรรมในขั้นตอนการวิเคราะห์ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ครึ่งยังไม่เสร็จสิ้น ในสัปดาห์ที่ 2 ก็สามารถจะเริ่มขั้นตอนการดีไซน์ระบบได้ อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้จะต้องตั้งอยู่ในความเหมาะสมด้วย โดยในบางครั้งบางขั้นตอนอาจจำเป็นที่จะต้องรอให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนแล้วจึงค่อยดำเนินในขั้นถัดไป จากรูปที่ 1 จะแสดงให้เห้นว่าการติดตั้งระบบอาจจำเป็น ต้องรอให้ขั้นตอนการดีไซน์ระบบเสร็จสิ้นลงเสียก่อนแล้วจึงค่อยดำเนินการต่อไป ___หลักการที่ 4 : ระบบงานข้อมูลถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งการพัฒนาระบบงานหนึ่งๆก็ถือว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างจากที่เราลงทุนซื้อรถ เพื่อมาขนส่งสินค้าหรือซื้อเครื่องจักรมาเพื่อทำการผลิต___เมื่อระบบงานถือว่าเป็นการลงทุนชนิดหนึ่ง สิ่งที่นักวิเคราะห็ระบบจะต้องคำนึงก็คือทางเลือกต่างๆที่จะนำเงินไปลงทุน ซึ่งหมายถึงว่านักวิเคราะห์ระบบควรคิดถึงทางเลือก ของการพัฒนาระบบงานในหลายๆงานและพิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่างๆ รวมถึงการเปรียบเทียบต้นทุนและผลกำไรที่จะเกิดจากระบบงาน ว่าระบบนั้นๆ คุ้มค่าหรือไม่อย่างไร ยกตัวอย่าง เช่น นักวิเคราะห์กำลังรับทำระบบงานสำหรับร้านให้เช่าวิดีโอร้านหนึ่งซึ่งเป็นร้านเล็กๆ มีรายได้ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน เขาตัดสินใจแนะนำให้ร้านนั้นซื้อคอมพิวเตอร์ราคา 2 ล้านบาท ซึ่งเขาจะพัฒนาระบบงานให้ โดยจะเสียค่าใช้จ่ายอีกประมาณ 3 แสนบาท ลักษณะแบบนี้ท่านจะเห็นได้ชัดว่า การตัดสินใจลงทุนแบบนี้ไม่คุ้มค่าแน่ นักวิเคราะห์ควรจะทำการวิเคราะห์หาทางเลือกที่เหมาะสมและนำเสนอต่อผู้ใช้โดยให้มีข้อมูล ในการเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสียต่างๆ เพื่อผู้ใช้ระบบสามารถที่จะออกความเห็นหรือปรึกษาหารือเพื่อหาข้อยุติที่เหมาะสมต่อไป
___หลักการที่ 5 : อย่ากลัวที่จะต้องยกเลิกในทุกขั้นตอนของการพัฒนาระบบงานจะมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ (feasibility study) ของระบบงาน ดังนั้นในทุกขั้นตอน นักวิเคราะห์ระบบจะมีโอกาสเสมอที่จะตัดสินใจว่าจะให้ระบบงานนั้นดำเนินต่อไปหรือยกเลิก
___แน่นอนที่ว่า ความรู้สึกที่จะต้องยกเลิกงานที่ทำมาอย่างยากเย็นนั้น จะต้องไม่ดีแน่ และคงไม่มีใครอยากสัมผัสเหตุการณ์เช่นนี้ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อการพัฒนาระบบงานไม่สามารถจะทำให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ การเริ่มต้นทำใหม่หรือยกเลิกโครงการนั้นอาจเป็นสิ่งจำเป็น จากประสบการณ์ที่เคยได้เห็นได้ยินมา มีอยู่หลายโครงการในสหรัฐอเมริกาที่ต้องยกเลิกไป และอีกหลายโครงการที่ยังดันทุรังที่จะให้อยู่แต่ไม่สามารถจะทำได้ ข้อเสียที่เห็นได้ชัดในความกลัวที่จะต้องยกเลิกก็คือ โครงการหรือระบบงานนั้นสุดท้ายก็ต้องพังลง และดันทุรังที่จะให้ฟื้นคืนชีพ มักจะใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น ใช้เวลาเพิ่มขึ้นและใช้คนเพิ่มขึ้น ทำให้งบประมาณเกิดบานปลาย และไม่สามารถควบคุมได้
___หลักการที่ 6 : ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาจะต้องมีการจัดทำเอกสารเพื่อใช้อ้างอิงเสมอการขาดการจัดทำเอกสารมักจะส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดต่อระบบงานและต่อนักวิเคราะห์ระบบด้วย การจัดทำเอกสารมักจะถูกมองข้ามไป และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เสียเวลาแม้กระทั่งการเขียนโปรแกรมซึ่ง สามารถจะแทรกคำอธิบายเล็กๆน้อยๆว่าโปรแกรมในส่วนนั้นๆทำอะไร ก็ยังไม่มีใครทำสักเท่าไรซึ่งการขาดการทำเอกสารเช่นนี้ จะทำให้การบำรุงรักษาหรือติดตามระบบเป็นไปได้ยาก ทำให้ยากต่อการแก้ไข
___การจัดทำเอกสาร จะหมายรวมถึงการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ และแนวความคิด รวมทั้งข้อสรุปที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบงานและโครงการ ไม่ใช่จะเอาแค่รหัสต้นกำเนิด (source code) ของแต่ระบบเท่านั้น