อย่างที่โปรยไว้ในเอนทรีที่แล้วว่า "อะไรในสมองที่เราต่างจากพวกอัจฉริยะ?"
ไม่ใช่ขนาดสมอง...ขนาดสมองไม่เกี่ยวกับความเป็นอัจฉริยะ
ไม่ใช่รอยหยักในสมอง...รอยหยักในสมองไม่เกี่ยวกับความเป็นอัจฉริยะ
ไม่ใช่จำนวนเซลล์สมอง...เซลล์สมองคนเรามีเท่ากันหมด คือแสนล้านกว่าเซลล์
คนเราจะมีเซลล์สมอง และมีตัวนิวรอน ที่มีลักษณะปกติคือ เป็นตัวกลมๆ ไม่มีขา นี่คือนิวรอนของคนทั่วไป
แต่นิวรอนของคนที่เป็นอัจฉริยะบุคคล จะสังเกตได้ว่า ขามันจะมีเส้นใยสมองซึ่งมันจะแตกออกมาเป็นขาเยอะแยะมากมายเลย โดยเป็นเส้นใยสมองที่ใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์
เส้นใยสมอง สร้างได้ตั้งแต่เราที่เกิด จนถึงวันที่เราตาย
สร้างได้แม้หลังการผ่าตัดสมอง รวมถึงคนที่เป็นอัลไซเมอร์ด้วย
หะหะ แต่การสร้างเส้นใยสมองนี้ สร้างได้ไม่เท่ากันทุกคนนะจ๊ะ
ขึ้นอยู่ "การเลือกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน"
ว๊าวๆๆๆๆ นี่ Keyword เลยนะเนี่ย (กรุณาอย่าสับสนกับ Keyword ในความหมายของอาจารย์บางท่าน คิกๆ)
นั่นก็หมายความว่า ถ้ามีกิจกรรมไปสร้างเจ้าเส้นใยสมองนี่มากเท่าไหร่ อัจฉริยะมากเท่านั้น!
แต่ในการสร้างเส้นใยสมองนี่ก็มีข้อจำกัดอีกนะ
เจ้าสมองเป็นอวัยวะที่ค่อนข้างขี้เกียจ อะไรที่ไม่จำเป็น มันก็จะไม่เก็บไว้ซะงั้น
.....เอนทรีหน้า เจอกับนิทานเรื่อง "เจ้าสมองจอมขี้เกียจ" เล่าถึงกระบวนการสร้างเส้นใยสมองที่เราท่านๆ ก็คุ้นๆ ว่าเหมือนจะรู้ แต่ก็ไม่รู้ เอ๊ะยังไง?!?.....
วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
อะไรในสมองที่เราต่างจากพวกอัจฉริยะ?
วชัญษาเลิกอู้งาน
สวัสดีจ้ะเพื่อนๆ
สงสัยเราจะเป็นคนเดียวเลยมั้งที่โพสน้อยกว่าชาวบ้านเลย เหตุผลก็ไม่มีอะไรหรอก มันเป็นความ "เรื่องมาก" ส่วนตัวน่ะ ฮ่าๆ คือเราไม่อยากโพสบทความที่ออกแนววิชาการหรือเป็นบทเรียนมากนัก แต่บทความประยุกต์ดีๆ เราก็หาไม่ได้ ไอ้ครั้นจะเรียบเรียงเขียนขึ้นมาเอง (ยกตัวอย่างของคุณสมิทธิ์ – เขียนได้ดีอ่ะ) ก็สุดปัญญาอันน้อยนิดจะทำได้ แต่สุดท้ายก็คิดออก (ใช้เวลานานไปหน่อย) ว่าเออ ยกเรื่องนี้มาละกันเว้ย และคงจะเป็น Main Idea ของแต่ละเอนทรีที่เราจะโพสต่อไปเลยละกันนะ
"สมอง"
ช่ายแล้ววว เรื่องเกี่ยวกับสมองนั่นแหละ อารมณ์ประมาณ "หนูดี วนิษา เรซ" เลย เพราะหนูดีเธอเป็นแรงบันดาลใจให้เราลุกขึ้นมาพัฒนาตัวเอง (แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม -_-") ด้วยความคิดที่ว่า "ถ้าเราจะคิดหรือทำอะไรดีๆ ออกมาได้นั้น ต้องเริ่มที่สมองซะก่อน" แล้วความคิดดีๆ ก็จะตามมาเองแหละ โอเค พล่ามมานานเริ่มซะทีเหอะ
หนูดีจะบอกเสมอว่า "สมองของเรามีเซลล์สมองเท่ากับไอสไตน์ เพราะฉะนั้น ไอสไตน์ฉลาดได้เท่าไหน เราก็ฉลาดได้เท่านั้น" (วู้ๆๆๆๆ) น่าสนใจจังแฮะ
เหมือนกันว่าเราทุกคนมี "ทุน" ซึ่งก็คือสมองอยู่เท่ากัน แต่เราจะทำอย่างไรเราจึงจะพัฒนาสมองได้เต็มอัจฉริยะภาพล่ะ? (โอ้เย่)
ก่อนอื่น เรามารู้จักสมองกันสักนิด
อย่างที่เราทราบกันดีว่า สมองคนเรามีสองซีก
ซีกซ้าย – ตรรกะ คณิตศาสตร์ การคิดการวางแผน การลงมือทำ
ซีกขวา – การจินตนาการ การใช้ภาษา การใช้ดนตรี การใช้จังหวะ คิดเป็นนามธรรม
เพื่อนๆ เคยเห็นคนบางคนที่คิดอะไรเก่งมาก แต่เมื่อลงมือทำกลับทำไม่ได้ซะงั้น (สั่งเป็นอย่างเดียวว่างั้นเหอะ)
และในทางกลับกัน เคยเห็นคนบางคนที่ทำงานเก่งเหลือเกิน แต่คิดไม่เป็นต้องมีคนสั่งให้ทำ
ตอบได้ไม่ต้องคิด เคยแหงล่ะ!
นั่นก็เพราะคนแบบแรก ใช้สมองซีกขวาในการคิดจินตนาการได้เก่ง แต่ไม่สามารถส่งผ่านข้อมูลมาสมองซีกซ้ายเพื่อให้เกิดการลงมือทำได้
และคนแบบที่สอง ก็ใช้สมองซีกซ้ายในการทำงานอย่างเดียว คิดจินตนาการงานใหม่ๆ ไม่เป็น
แต่ไม่ต้องกังวลเพราะตรงกลางสมองของคนเรา มีเส้นใยไฟเบอร์อยู่ตรงกลาง คอยเชื่อมการทำงานของสมองทั้งสองซีก ถ้าไอ้เส้นใยไฟเบอร์ของเราเนี่ยแข็งแรงมาก ทำงานได้ดี ก็แสดงว่าเราจะเป็นคนที่สามารถคิดจินตนาการงานใหม่ๆ ขึ้นมาได้ แล้วเอาความคิดนั้นไปสร้างเป็นชิ้นงานออกมาได้อีกด้วย
นั่นแสดงว่าเราใช้สมองครบทั้งสองซีก เป็นคนเก่ง และเรียกได้ว่าเป็น "อัจฉริยะบุคคล"
แหม แต่เราก็ไม่ได้อยากเป็นอัจฉริยะสักหน่อยนี่หว่า ขอแค่เรียน SA ได้ A ก็พอแล้ว (กร๊าก)
เอาน่า พยายามสนใจกันหน่อยแล้วกัน ตอนหน้ามีต่อนะ "อะไรในสมอง ที่อัจฉริยะเขามีไม่เหมือนเรา?"
เรายิ่งใหญ่ หรือแค่เพียงฝุ่นผง
แต่ว่ามันน่าอ่านดี
แต่ถ้าแปะลงในนี้ ไม่สวยๆ
ก้อเลยไปอ่านตามนี้แล้วกันนะครับปม ^^
http://hilight.kapook.com/view/27174
มาทดสอบไอคิวกัน
พอทำหมดแล้วให้กดที่ Menu แล้วเลือก Send มันจะวัดผลให้ ได้เท่าไรมาโพสต์กัน ผมได้แค่ 102 เอง หลังๆเริ่มมั่ว
http://www.kanid.com/iqtest.php
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
อืมมม ว่าด้วยการ โพสบทความ
การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่างๆ
การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่างๆ
ผู้บริหารแต่ละระดับ จะมีการนำสารสนเทศไปใช้งานแตกต่างกัน โดยระดับผู้บริหารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ
- ผู้บริหารระดับสูง เป็นระดับวางแผนระยะยาว ควบคุมนโยบาย รวมทั้งการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) เพื่อไปสู่เป้าหมาย สำหรับแหล่งทรัพยากรหรือสารสนเทศภายในของผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ในขณะที่แหล่งที่มาของสารสนเทศก็จะมีทั้งสารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศภายนอกองค์กร โดยส่วนใหญ่จะใช้สารสนเทศจากแหล่งภายนอกองค์กรมากกว่า เพื่อนำมาวิเคราะห์หรือประเมินแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจของโลก รวมถึงอิทธิพลจากกิจกรรมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร สำหรับสารสนเทศจากแหล่งภายในองค์กรจะพิจารณาถึงสภาพการณ์ด้านการปฏิบัติงานภายในองค์กรเป็นหลักสำคัญ
- ผู้บริหารระดับกลาง เป็นระดับวางแผนระยะสั้น ด้วยการสั่งการเพื่อควบคุมจัดการ (Management Control) ตามข้อปฏิบัติเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายที่ผู้บริหารระดับสูงวางแผนไว้ ผู้บริหารระดับกลางมักข้องเกี่ยวกับงานจัดการและควบคุมงบประมาณ เวลา และด้านการประเมินผลการทำงาน โดยจะใช้สารสนเทศทั้งจากแหล่งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้สารสนเทศจากแหล่งภายในมากกว่า
- ผู้บริหารระดับล่าง เป็นระดับปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือการทำงานของผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง สารสนเทศที่ใช้งานของผู้บริหารระดับล่างนั้น มักเป็นเรื่องของภายในที่เน้นรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือการควบคุมการปฏิบัติงาน (Operation Control) เป็นสำคัญ
รายระเอียดระบบธุรกิจ เพื่อจะนำมาวิเคราะห์
ระบบธุรกิจ (Business System)
โดยปกติแล้ว ระบบธุรกิจส่วนใหญ่ประกอบด้วยระบบย่อยพื้นฐานต่างๆ ที่สำคัญอันประกอบด้วย ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบบัญชี ระบบสินค้าคงคลัง และระบบบริหารงานบุคคล แต่ก็อาจมีระบบย่อยอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจนั้นๆ
โดยทั่วไปแล้ว ระบบธุรกิจจำเป็นต้องรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกต่างๆ เข้ามาในระบบซึ่งปัจจุบันสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ย่อมมีอิทธิพลต่อการดำเนินการของระบบธุรกิจเป็นอย่างมาก วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบธุรกิจได้ทั้งภายในและภายนอก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ผลกระทบภายในระบบ (Internal Environment) คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภายในองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
- ผลกระทบภายนอกระบบ (External Environment) คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภายนอกองค์กรที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา โดยที่องค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยง และยากต่อการควบคุม หรือบางครั้งอาจควบคุมไม่ได้เลย
เมื่อมีการศึกษาระบบงานใด จึงควรมีการพิจารณาจากมุมมองทั้ง 4 คือ
อะไร (What) วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร มีแผนงาน ขั้นตอนอะไรบ้าง ที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ (Goal)
อย่างไร (How) มีวิธีการทำงานอย่างไร ต้องใช้เครื่องมือใดเพื่อให้งานสำเร็จไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อไหร่ (When) เริ่มทำงานเมื่อไหร่ และผลสำเร็จของงานจะสำเร็จลุล่วงได้เมื่อไร
ใคร (Who) หมายถึงการมีบุคคลหรือทีมงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในขอบเขตงานของตนที่แน่นอน รวมทั้งความสามารถในการรับมอบหมายหรือสานงานต่อ
เปิดตำราพิชัยสงคราม “ซุนวู”: การวิเคราะห์ระบบ และการบูรณาการ
ผมคิดว่าหลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ ตำราพิชัยสงครามของท่าน “ซุนวู” ที่กล่าวว่า
“รู้เขารู้เรา สู้ร้อยครั้งชนะร้อยครา” มาบ้างแล้วและผมก็คิดว่าหลายท่าน ก็คงอยากจะได้ตำราเล่มนี้มาไว้เป็นหนึ่งในใจ และในความสามารถของตนเอง แต่ หลายท่านก็คงทำได้แบบ
“จำคำได้ แต่ไม่เข้าใจ” หรือ
“เข้าใจในคำ แต่ไม่เข้าใจในความหมายของคำ” หรือ
“เข้าใจในความหมาย แต่ไม่เข้าใจในเนื้อหา และสาระ” หรือ
“เข้าใจในเนื้อหา แต่ไม่เข้าใจในวิธีปฏิบัติ” หรือ
“เข้าใจในวิธีปฏิบัติ แต่ขาดทักษะ จึงทำไม่เป็น” หรือ
“มีทักษะ ทำเป็น แต่ยังไม่ได้ทำ” หรือ
“ลองทำแล้ว แต่ไม่ลองใช้ในชีวิตจริงๆ” หรือ
“ลองใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่สรุปบทเรียน” หรือ
“สรุปบทเรียนแล้ว แต่ยังไม่พัฒนาสู่การพัฒนาทักษะ และกระบวนการเรียนรู้” หรือ
อีกหลายอุปสรรค และขีดจำกัด ที่ทำให้เรายังไม่สามารถนำตำราเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตตนเองได้
ดังนั้นในการที่จะใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆมาใช้ประโยชน์นั้น ดังเช่นตำราพิชัยสงคราม “ซุนวู” นี้ ไม่ใช่แค่ท่องได้ก็พอแล้ว แต่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในคำ ในความหมาย ในเนื้อหา ในวิธีปฏิบัติ พัฒนาทักษะที่จำเป็น ลงมือทำ ลองใช้จริง สรุปบทเรียน และนำบทเรียนที่ได้สู่การพัฒนาทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ ต่อไป เมื่อย้อนมองในเชิงวิชาการสมัยใหม่นั้น ก็สามารถเทียบเคียงได้กับ “เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ” (System analysis) ที่ต้องเริ่มตั้งแต่ System thinking (คิดอย่างเป็นระบบ) ที่เราทำกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เมื่อ ๒๐ กว่าปีมาแล้ว แต่ระยะหลังๆนี้ อาจถือว่าล้าสมัย และเริ่มจะลืมๆกันไป และดูเหมือนเราจะตั้งสมมติฐานว่า ทุกคนในปัจจุบันต้องรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว จึงไม่เห็นการฝึกอบรมที่เน้นหัวข้อเรื่อง “ความคิดเชิงระบบ” นี้กันอีกเลย และผมยังไม่แน่ใจว่าพวกเราที่ทำงานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ทุกคนมีและใช้ความคิดเชิงระบบมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้ายังไม่มี หรือไม่ใช้ คำว่า “บูรณาการ” ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย นอกเหนือจากการเอาไว้คุยอวดกันเฉยๆ ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรในปัจจุบันมีแต่เรื่องที่ยืนอยู่บนฐานของ “ความคิดเชิงระบบ” โดยไม่ฝึกให้เขามีความคิดเชิงระบบกันก่อน จึงทำให้ฐานความคิดไม่แข็งพอที่จะมาพัฒนาต่อได้ เมื่อผู้เรียนขาดความคิดเชิงระบบ การบูรณาการก็ทำได้ยาก การทำงานแบบองค์รวมก็ไม่เกิด ฉะนั้น ผมจึงขอเสนอว่า เราลองมาทบทวนและแทรก “หลักคิดเชิงระบบ” ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ในสาขาต่างๆ กันดีไหมครับ ก่อนที่คนรุ่นใหม่จะหลงทางไปไกลเกินไป แล้วระบบการพัฒนาการเรียนรู้ที่ปราศจากฐานที่แข็งแรงนั้น ย่อมมีปัญหาได้ง่าย ในทุกเรื่อง อย่างอาจคาดไม่ถึง ดังสุภาษิตจากหนังจีนกำลังภายในว่า
“พื้นฐานไม่ดี ฝึกร้อยปีไม่ก้าวหน้า” นั้นแหละครับ
วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
เตรียมของไปดูงาน
- แผนที่ (Topographic & Geologic map)
- ภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม
- ค้อน เข็มทิศ และอุปกรณ์ออกภาคสนามอื่น ๆ
เอ่อ ผมว่าคงจะไปผิดงานแล้วล่ะ ที่ต้องเตรียมคือ
- แต่งกายให้ดูหล่อดูสวย(มั้ง)
- สมุดจดบันทึก(หรือเอาไปถือเท่ห์)
- การช่างสังเกต
- ท้ายสุด ตื่นไปขึ้นรถให้ทัน
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
มีช่างจูนเปียโนกี่คนในชิคาโก้?
1. ชิคาโก้มีคนอยู่ ห้าล้านคน
2. โดยประมาณหนึ่งครอบครัว ในชิคาโก้ มี 2 คน
3. ซัก 5% (หรือทุกๆ 20 หลัง) จะมีเปียโน 1 หลัง
4. เปียโนต้องจูนปีละครั้ง
5. ช่างจูนเปียโน ใช้เวลาจูนเปียโน หลังนึงราวๆ 2 ชม ต่อครั้ง(รวมเวลาเดินทาง)
6. ช่างทำงานวันละ 8 ชม อาทิตย์ละ 5 วัน ปีละ 50 สัปดาห์
จากการเดาข้างต้น เราจะได้ จำนวนเปียโนที่ต้องจูนต่อปีคือ
5,000,000 คน /(2 คนต่อครอบครัว)*(5% บ้านที่มีเปีัยโน)*(1 ครั้งต่อปี) = 125,000หลัง
ต่อไป เราจะหาว่า ช่างหนึ่งคนจูนเปียโนได้
50 สัปดาห์ * 5 วันต่อสัปดาห์ * 8 ชมต่อวัน * 1 ตัวต่อ 2 ชม = 1,000 หลังต่อปี
ดังนั้น ลงท้ายเ้ราเลยเดาว่า จะมีช่างเปียโน
125,000 ต่อปี / 1000 หลังต่อช่าง = มีช่าง 125 คน Q.E.D.
ว่ากันตรงๆ คือคำตอบที่ได้จากวิธีนี้ไม่ถูกหรอกครับ แต่มันช่วยให้เห็นว่า องค์ประกอบตัวไหนบ้างที่พอจะหาข้อมูลเพื่อให้เดาแม่นขึ้นได้ และองค์ประกอบที่ "ไม่รู้" จะกระเทือนผลลัพธ์ได้ขนาดไหน
โดยทั่วไป การประมาณการณ์แบบนี้ มักให้คำตอบผิดพลาด อยู่ในระดับ 2-3 เท่า และไม่เกิืน 10 เท่า ซึ่งไม่น่าจะมากเกินไปสำหรับการหาคำตอบของคำถามที่เรา"ไม่รู้" อะไรเลย
Pay it forward
หมายเหตุ
นั่งเครียดจากความวุ่นวายภายในบ้านเมือง และเรื่องราวต่างๆ
กลุ้มใจ...ไม่รู้จะแก้ปัญหาได้ยังไง
ก็เลยนึกถึงหนังเรื่องหนึ่งที่ได้ดูเมื่อหลายปีมาแล้ว
"Pay it Forward"
เป็นเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่ง ที่คิดทฤษฎีเปลี่ยนแปลงโลกขึ้นมา!!!
ที่น่าสนใจคือทฤษฎีนี้ง่ายมากๆ โดยการเริ่มที่ตัวเองก่อน
เริ่มที่จะช่วยเหลือคนรอบข้าง เช่น แม่ ครู และคนข้างถนน
จนเกิดกระแสแห่งความดีกระเพื่อมไปทั่วทั้งประเทศ
และเมื่อลองค้นคำว่า "pay it forward" ในอินเตอร์เน็ต
ก็พบว่ากระแส pay it forward นั้นได้เกิดขึ้นจริงๆ
โดยมีกลุ่มคนจากที่ต่างๆ รวมตัวกันสร้างโครงการ Pay it Forward
ในการช่วยเหลือเด็กนักเรียน การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง และอื่นๆ
ดังนั้นจึงมาถึงคำตอบของคำถามที่ว่า
"เราซึ่งเป็นประชาชนตาดำๆ คนหนึ่ง จะมีปัญญาอะไรไปแก้ปัญหาประเทศชาติ?"
คำตอบก็คือ
"เริ่มได้โดยการสร้างความดีที่ตัวเอง แล้วส่งต่อความดีนั้นไปเรื่อยๆ"
เพราะถ้าไม่เริ่มทำอะไรซักอย่าง
ก็คงต้องนั่งบ่นนั่งกลุ้มใจกันไปไม่มีวันจบ
"วันนี้...คุณส่งต่อความดีไปให้ใครบ้างหรือยัง?" >>>>>>>>>
สื่งที่ต้องทำ หลังจากดูงานที่ บริษัท SMC (Thailand) Ltd.
1. เรื่องที่ประทับใจ....อะไรที่มัน โดน เรา สุด สุด ในแง่ของ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะกระบวนการ (Impression)
2. สิ่งที่คิดว่าเป็นกิจกรรม การกระทำที่ดีแล้ว แล้วน่าจะทำต่อไป หรือ เป็นแนวทางให้เราในอนาคต (Good Practice)
3. อะไรที่อยากให้มีการปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไข หรือ เลิกทำ (Improvement)
โดยทั้งสามประเด็นนี้ เป็นการสะท้อนความคิดเห็นของเรา ทั้งต่อตนเอง ต่อเพื่อน ต่ออาจารย์ ต่อบริษัทฯ และต่อการดำเนินงานของบริษัทนะคะ
ให้นักศึกษาเขียน หรือ พิมพ์มาก็ได้ โดยมีข้อแม้นิดส์ เดียวว่า ไม่ต่ำกว่า 1 หน้ากระดาษ A4 นะคะ (หรือหากใครคิดอยากจะเผยแพร่ผ่านทาง Blog นี้ ครูก็ยินดีนะคะ Post มาให้อ่านกันนะจ้ะ)
หวังว่าจะได้อ่านเรื่องราวการเรียนรู้ครั้งนี้ อย่างสนุกสนานนะคะ
ปล. งานนี้ครูขอทำด้วยนะคะ.... แล้วครูจะ Post มาให้อ่าน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ
สืบเนื่องจากการจะไปดูงานวันที่ 2 สิงหาคม 2551 บริษัท SMC (Thailand) Ltd.
มาเข้าเรื่องดีกว่า เนื่องจาก เราจะไปดูงานกันที่ บริษัท SMC (Thailand) Ltd. ทั้งนี้ท่านสามารถเข้า เยี่ยมชม Website ของบริษัทก่อนได้ทีนี่ กดหนูซิคะ
ส่วนแผนที่ ก็ นี่ เล้ย......
การเดินทางเราจะเดินทางโดยรถตู้ของคณะ 1 คัน และรถตู้เหมาอีก 1 คัน จัดสรรที่และต้องมาให้ทันเวลารถออกนะคะ ....กำหนดการได้ส่งให้ทางเมล์ของทุ๊ก ท่าน แล้ว นะคะ (กรุณาเปิดเมล์ด้วยนะคะ) 5555555 .....
คราวนี้มาถึงเรื่องของสิ่งที่จะต้องทำและเตรียม ก่อนที่จะไปเยี่ยมชม บริษัทฯ นะคะ......
งาน ....... ให้นักศึกษา Post ในสิ่งที่พวกเราต้องเตรียมและทำก่อนไป ว่า น่าจะมีอะไรบ้าง ในความคิดของเรา เราน่าจะต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และทำอะไรบ้างก่อนไป .....
Post เป็น Comments นะจ้ะ
แล้วครูจะ Post สิ่งที่เราต้องทำเพิ่มเติม ใน Blog ต่อไป จ้า .....
ด้วยความปรารถนาดี ต่อลูกศิษย์ .....
อาจารย์จงดี
(แนว)ความคิดของมนุษย์
จริงๆ อันนี้ก็ไม่ได้ตั้งใจอีกเช่นเคย (เคยตั้งใจไรบ้างมั้ย - - ')
แต่เท่าที่อ่านของเพื่อนๆ ในช่วงนี้ ก็เจอแต่เรื่องเกี่ยวกับ " ความคิด"
ภารีนาก็เลย...เอามั้ง (ซะงั้น) -->ไม่หรอก เมื่อกี้อ่านของปลา
แล้วเกิดคำถามว่า แนวความคิดมันมีกี่แบบ? แล้วเราล่ะ...มีแบบไหน?
แล้วในที่สุด เจอแล้วๆๆ...แนวความคิดของมนุษย์ในการทำงาน มีดังนี้นะ
1. การคิดทวนกระแส (Reverse Thinking)
2. การคิดเรียนแบบธรรมชาติ (Natural Imitation Thinking)
3. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
4. การคิดแบบคุณโทษและทางออก (SWOT Thinking)
5. การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Benchmark Thinking)
6. การคิดแบบองค์รวม (Holistic Thinking)
7. การคิดอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary Thinking)
8. การคิดเป็นเหตุเป็นผล (Logical Thinking)
9. การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
10. การคิดแบบเอกนัย - เอนกนัย (Convergent - Divergent Thinking)
11. การคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
12. การคิดเชิงบริบท (Context Thinkting)
13. การคิดถึงผลกระทบ (Impact Thinking)
14. การคิดจากใหญ่ไปหาเล็ก - จากเล็กไปหาใหญ่ (Deductive - Inductive Thinking)
15. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
16. การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
ปล. ส่วนแต่ละอันจะหมายความว่ายังไงเนี่ย
(ถ้าใครอยากรู้ไปหากันเอาเองนะค่ะ 555+)
อืม...แล้วจากที่อ่านเนี่ย สรุปตัวเองได้มั้ยว่าเป็นคนมีความคิดแบบไหนกัน ^^
เค้าว่า ... เค้าก็พอเป็นคนมีความคิดอยู่บ้างน๊า
อย่างน้อย ก็คิดในเชิงบวกตลอดเวลา *0*
SA ตอน..เรื่องดีดีมีมาแบ่งปัน
เรื่องความไม่มีกลยุทธ์ ก็ยังมีกลยุทธ์แอบแฝงอยู่
ที่พูดถึงเรื่องแนวความคิด
พอดีช่วงฝึกงานที่ผ่านมา เราได้แนวคิดดีๆมาเลยอยากแบ่งปันค่ะ
คือเรามีโอกาสได้พูดคุยกับพี่โจ้ (คุณธนา เธียรอัจฉริยะ)
แห่งบ้านHappy จาก Dtac
ขุนพลผู้สร้างแบรนด์ Happy ที่สามารถต่อกลอน
กับคู่แข่งรายใหญ่อย่างAISได้อย่างไม่สั่นคลอน...
วันนั้นเราถามถึงยุทธศาสตร์การรบ
ซึ่งพี่โจ้ก็ตอบกลับมาว่า...
“ สำหรับการทำ Happy แล้ว มันไม่มีกลยุทธ์ครับ
เราแค่มีทัศนคติที่ดี นั่นคือความเข้าใจในตัวเอง
การยอมรับว่าตัวเองไม่มี ไม่เก่ง และต้องทำมากกว่า
ยากกว่า ไม่อยู่ในกรอบวิธีเดิมๆ เป็นคุณสมบัตืข้อแรกๆ
ของมวยรองอย่างเรา เมื่อใดที่ก้าวผ่านความอยากมี
อยากเหมือนคู่แข่งรายใหญ่ และเลิกโทษโชคชะตาแล้ว
ก้าวต่อไปก็แค่ลงมือทำ... ”
อืม..ความไม่มีกลยุทธ์ ก็ยังมีกลยุทธ์แอบแฝงอยู่จริงๆ
(แนะนำหนังสือคนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคนของพี่โจ้ค่ะ
เราว่ามันเป็นหนังสือHow to การตลาดที่เจ๋งดีนะ)
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
อ่านหนังสือเพื่อ....???
อ่านเพื่อรู้ - ก็รู้เท่าที่อ่าน
อ่านเพื่อได้อ่าน - อันนี้ไม่ได้อะไรเลย...
อ่านเพื่อยกมาใช้งาน - ก็สามารถนำมาใช้งานได้ แต่พลิกแพลงไม่ได้
อ่านเพื่อรู้ว่าเขียนอะไร. - ก็รู้เฉพาะที่เค้าเขียนให้เราอ่าน
อ่านเพื่อรู้ว่าเขาสื่ออะไร - ก็รู้เฉพาะที่เค้าสื่อให้เรารู้
อ่านเพื่อมองว่าคนเขียนคิดอย่างไร - ก็จะรู้แนวคิดของคนเขียนตอนผมอ่านหนังสือ ผมชอบมองว่า คนเขียนกำลังคิดอะไรอยู่ มีแนวคิดอย่างไรในตอนที่เขียน เค้าสื่ออะไร เขาต้องการให้เรารับรู้อะไร จากนั้น ผมก็เอาประสบการณ์ที่ผ่านมา มาวิเคราะห์หาว่า สิ่งที่เค้าสื่อมาจริง หรือ ไม่ ถ้ามีประสบการณ์ของผมสนับสนุน ก็หนักแน่นขึ้น ถ้ามีประสบการณ์ของผมขัดแย้ง ก็เป็นเพียงการสื่อที่เบาบาง ผมใช้เวลาในการอ่านหนังสือนานมาก แต่ไม่ต้องอ่านซ้ำ มากที่สุดก็เพียงเปิดผ่านๆ แล้ว ความรู้สึกทั้งหมดตอนอ่านก็จะกลับมายังความรู้สึกปัจจุบัน แล้วใช้ความรู้ที่สะสมมานั้นไปคิดต่อยอด ไปทำให้เกิดผล พลิกแพลงในความคิด และเหตุการณ์ให้ได้.. นั่นเป็นวิธีการของผมโดยย่อว่าอ่านอย่างไร..
สาเหตุที่ยกเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง ก็เพราะ วิธีการอ่านของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป วิธีการเข้าถึงเนื้อหา และ การจดจำก็ต่างกันไป ยิ่งหนังสือเล่มไหนมีผลประโยชน์ หรือ สร้างความขัดแย้งแล้ว จะเป็นหนังสือที่มีการพูดถึงได้มากที่สุด ผมว่า นักเขียนหลายคน ก็รู้ในจุดนี้ของแต่ละคน ถึงเขียนในแนวนี้ ทำให้เกิดความขัดแย้งและพูดถึงกันมากๆ แล้วการพี่พูดถึงกันมากๆก็เป็นส่วนทำให้หนังสือประสบความสำเร็จ เพราะ พวกการกล่าวถึงหนังสือที่มีการถกเถียงกัน คนที่ไม่เคยอ่านก็จะหาอ่าน คนที่คิดว่ามันไม่ดี ก็จะลองมาอ่านดู หรือ ยุให้คนอื่นไม่อ่าน พอถูกชักจูงให้ไม่อ่าน ก็อยากอ่าน.. นี่เป็นการตลาดที่มุ่งจุดไปยังคนที่มีความรู้ทั้งหลาย ให้ช่วยกันกระจายหนังสือให้ขายดียิ่งๆขึ้น...
ยกเครดิตแก่บทความดีๆ คุณ BJC ครับ ^^
เพื่อนๆ อย่าลืมอ่านหนังสือกันเยอะๆนะ เราจะได้มีคนลอก
ความไม่มีกลยุทธ์ ก็ยังมีกลยุทธ์แอบแฝงอยู่
ความคิดที่มุ่งพัฒนาองค์กรไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เป็นความคิดในเชิง Dynamics ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดี ตรงกับแนวคิดว่า ไม่มีใครแข่งก็แข่งกับตัวเอง การพัฒนาตนเองขึ้นไปเรื่อยๆ ก็เป็นแนวคิดในเชิงนี้..
การมุ่งมันการทำงาน เพื่อจะบรรลุเป้าหมาย นั่นต้องสร้างเป้าหมายในอนาคตก่อนว่า เราต้องการเช่นกัน การคิดถึงอนาคตว่า เราต้องการอะไรนั้น แล้วสร้างปัจจุบันให้ไปให้ถึงในสิ่งที่วางไว้นั้น ทางฝรั่งเขาก็บอกว่า เป็นแนวคิดในเชิง Visionary Thinking และ Forward Thinking คือการมองไปข้างหน้า สร้างวิสัยทัศน์ เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติ เพื่อความต้องการขององค์กร หรือ เจ้าของบริษัทฯ เท่านั้น
การมีแนวความคิดเพียงไม่กี่แนวก็สามารถประสบความสำเร็จได้ อันเนื่องจาก แนวความคิดบางแนวความคิด ต้องอาศัยแนวความคิดอื่นๆ เท่าที่ผู้คิดจะมีปัญญาในการหาหนทาง แต่การที่รู้เท่าทันความคิด และ มีแนวทางในการคิดเบื้องต้น จะสามารถสร้างให้ศักยภาพของผู้มีแนวทางนั้น ได้มีวิธีการแก้ไขปัญหา หรือ วางแผนงานได้ดีกว่า ทั้งนี้ มันขึ้นอยู่กับคนที่ฉลาดในอุบาย และ ฉลาดในการที่จะใช้ว่า ใครใช้ได้ดีกว่ากัน...
ขอบคุณบทความดีๆจากคุณ BJC คับปม
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การสังเกตพฤติกรรม ภาค 2...ตอน..จับตาดูผู้บริหาร...
งานประจำของผู้บริหารจะถูกขัดจังหวะอยู่เสมอกับงานเร่งด่วน
ดังนั้นการหาข้อมูลจากผู้บริหารจึงใช้วิธีสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
อย่างไรก็ตามการสังเกตทำให้นักวิเคราะห์ได้ข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับ
การทำงาน การใช้ข้อมูลในการทำงานของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี
มีขั้นตอนที่ช่วยในการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริหาร ดังนี้
1. ตัดสินใจว่ากิจกรรมอะไรควรจะเป็นสิ่งที่ต้องสังเกตบ้าง และช่วงเวลา
2. ตัดสินใจว่าจะสังเกตพฤติกรรมในความเข้มระดับใด เช่น สังเกตได้ว่า
ผู้บริหารได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ร่วมงาน หรือ ต้องระบุจำนวนคน
ที่ผู้บริหารส่งบันทึกช่วยจำไปถึง แบ่งระดับของกิจกรรมแต่ละกลุ่มอย่างไร
ผู้บริหารมีอิสระในการแบ่งข้อมูลกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร หรือทำการสังเกต
แต่ละกลุ่มว่ามีพฤติกรรมอย่างไร การแบ่งระดับในการสังเกตพฤติกรรมว่า
ผู้ใดควรมีอิทธิพล และจำเป็นในการวิเคราะห์ระบบแยกแยะกิจกรรม
โดยการจัดกิจกรรมโดยการจัดกิจกรรมหลักออกมา
3. เตรียมสเกล ใบเช็ครายการ และวัตถุดิบอื่น เพื่อช่วยในการสังเกต
วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การดูงาน ระบบ จริง ของ จริง ไม่มี สลิง ไม่มี Effect .....
ครูติดต่อเพื่อน เรื่องของการดูงานที่บริษัท แห่งหนึ่ง .... ซึ่งเราสามารถไปดูงานกันได้ในวันเสาร์ที่ 2 ส.ค. นี้ ไม่ทราบว่าพวกเรายังคงต้องการไปดูงานอีกหรือไม่ .... อย่างไรก็ตาม โพสต์บอกความคิดเห็นได้นะจ้ะ
บริษัท อยู่แถว นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จ. ปทุมธานีจ้า
เป็นกำลังใจให้ท่านในการทำงานและการรายงานความก้าวหน้าของโครงการครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 26 ก.ค. นี้ นะจ้ะ การนำเสนอจะเริ่มเวลา 10.00 น. เลยนะจ้ะ ให้เวลาคนละ 15 นาที ในการนำเสนอ 5 นาที ในการถามตอบ ทุกคนจะต้องให้คะแนนเพื่อนและให้คะแนนตัวเองด้วยนะจ้ะ
ลำดับของการนำเสนอ - ใช้วิธีที่โบราณที่สุด คือ การจับฉลาก จ้า ..... (อาจารย์จง โคตร Hi-tech เร้ยยยยย)
ขอแสดงความยินดี และเป็นกำลังใจให้อย่างสุดซึ้ง (น้ำเสียง จริงใจ๊ จริงใจ)
พบกันวันเสาร์นะจ้ะ ..... โชกเลือด เอ้ย เอ้ย โชคดี จ้า
การสังเกตพฤติกรรม...
พอดีว่าเราไปเจอเรื่องของการสังเกตุพฤติกรรมซึ่งเป็นเทคนิคในการเก็บข้อมูลมาฝากค่ะ
การสังเกตพฤติกรรมและลักษณะทางกายภาพของเป็นเทคนิคที่สำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับนักวิเคราะห์ ในการสังเกตพฤติกรรมของผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ นักวิเคราะห์ต้องศึกษาให้ได้ถึงความจริง หรือสิ่งที่กระทำ ซึ่งนักวิเคราะห์จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ และสมาชิกอื่น ๆ ในองค์กร
โดยการสังเกตสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน นักวิเคราะห์ศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพ
ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจได้ อาทิเช่น
-กิจกรรมต่าง ๆ (Activities) จะเห็นถึงกิจกรรมว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่บุคคลที่จะใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจกระทำอย่างแท้จริงในช่วงเวลาที่สังเกต จะเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับสมาชิกในองค์กร
-ข่าวสาร (messages) จากการสังเกตพฤติกรรมจะทำให้เห็นถึงข่าวสารต่าง ๆ ที่บุคคลที่เราสังเกตส่งถึงกันและส่งถึงบุคคลอื่น
-ความสัมพันธ์ (Relationships) ความสัมพันธ์ของผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ และสมาชิกใน องค์กร
อิทธิพล (Influence) จากการสังเกตพฤติกรรมจะทำให้เห็นถึงสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลมาจากพฤติกรรมของบุคคลนั้น เช่น การแต่งกาย ตำแหน่งที่ตั้งโต๊ะทำงาน ฯลฯ
หลายเหตุผลที่นักวิเคราะห์ต้องใช้การสังเกตพฤติกรรมของบุคคล เหตุผลหนึ่งก็คือ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ และสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถค้นหาได้จากวิธีอื่น วิธีนี้ยังช่วยยืนยันว่าข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม หรือการสืบค้นจากวิธีอื่นเป็นไปในแนวทางเดียวกันหรือไม่ ซึ่งในการสังเกตพฤติกรรมนั้นจะต้องมีโครงสร้างและสมมาตรกับวิธีการสืบค้นข้อมูลวิธีอื่นด้วย ดังนั้นนักวิเคราะห์จะต้องรู้ว่าควรสังเกตอะไร สังเกตใคร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร
โอ้ว Windows 7 เริ่มมีให้โหลดแล้ว !!!
ดั๊นนนนนนน มาเจอเรื่องราว เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ตัวใหม่ ของค่าย ไมโครซอฟท์ เค้า...
นั่นแหละครับ .... ผมเองก็เคยได้ยินข่าว ตั้งแต่ช่วงฝึกงาน ตอนนั้นดูรายการ IE Metropolish (สะกดถูกป่าวเนี่ย) เค้า ก็ ออกสกู๊ป สั้นๆ แค่ข่าวการพัฒนา OS ตัวใหม่ น่ะครับ ....เพราะ ทาง MS คงจะรู้ตัวดี ว่า เจ้า Vista ที่ออกขายมา มันค่อนข้างจะด้อง ก็เลยต้องพัฒนาใหม่ และคิดว่าจะให้ชื่อว่า วินโดวส์ 7 นั่นเอง ส่วนจะออกขายตัวเต็มๆเมื่อไหร่ Tui_ER เองก็ไม่ทราบ 5555+ เมื่อกี๊ ก็เลย ลอง Search ๆ ดู ปรากฏว่า เริ่มมีตัวทดลองใช้ หรือ Demo มาให้ลองโหลดกันแล้วหน้าตาเปงงี้
เอ้า ลองอ่านๆดู กลับไม่ใช่แฮะ เอ๊ะมันยังไงกันแน่... สรุปไอ้รูปข้างบนนี่ตัวปลอมหรอ กร๊าก รึว่า เดโม่จริงๆ 555+
แต่เค้าบอกๆ กันว่า......
" วินโดวส์เซเวน (Windows 7) และในชื่อเดิมคือ แบล็คโคมบ์ (Blackcomb) และต่อด้วย เวียนนา (Vienna) เป็นชื่อรหัสในการพัฒนาของไมโครซอฟท์วินโดวส์รุ่นต่อไป แต่เดิมนั้นมีข่าวลือตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ปี 2000 และนั่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้กำหนดการนั้นล่าช้าออกไป ซึ่งจะรับช่วงต่อจากวินโดวส์ วิสตา และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 ซึ่งไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 2009 และสอดคล้องกับหลักการที่ "คอมพิวเตอร์อันชาญฉลาดที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเต็มรูปแบบ" ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการก็ยังไม่ถูกเปิดเผยจากไมโครซอฟท์ และ คิดว่า "วินโดวส์ 7" น่าจะเป็นคำที่ใช้ในการพัฒนาวินโดวส์ตัวต่อไป ไมโครซอฟท์ยังไม่โต้ตอบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวตัวของ "เวียนนา" ซึ่งไมโครซอฟท์พยายามดึงจุดสนใจโดยการปล่อยวินโดวส์วิสตาลงสู่ท้องตลาด ซึ่งน่าจะมีเกี่ยวกับรายละเอียดความสามารถของระบบปฏิบัติการตัวนี้ไปถกเถียงกันที่การประชุม Windows Hardware Engineering Conference "
โอววว..... งี้ก็คงอีกนาน กว่า จะได้เห็นอ่านะครับผองเพื่อน..... สงสัย คงต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่เจ๋งกว่าปัจจุบันอีกเยอะ เพราะแค่พวก Graphic ของ Vista ยังใช้Specเครื่องที่สูงๆ เลย หุหุหุ ที่สำคัญ ใครที่สนใจจะใช้ Tui_ER คิดว่า คงต้องควักตังค์เยอะอีกแน่ๆ ส่วน Tui_ER คงใช้ XP ไปอีกยาว หุหุ ^^ ครับผม......
ขอบคุณ ที่ทนอ่านจนจบ อิอิอิ
ปล. ติดอยู่อีก 5 โพส เง้อออออออออออ~~~~
ระบบ ERP หรือ Enterprise Commerce Planning
Flow Cart นิดหน่อย
เป็นรูปที่ดูเข้าใจง่ายๆ อะเน้อออ ^^......
สัญลักษณ์ รูปภาพต่างๆ (พวกนี้ส่วนใหญ่ใช้กับการเขียนโปรแกรม นะจ๊ะ)
จุดเริ่มต้นหรือจุดจบของโปรแกรม (Terminal)
ข้อมูลเข้า/ออก (Input/Output)
การประมวลผล (Process)
การตัดสินใจ (Decision หรือ Selection)
ข้อมูลออกทางจอภาพ (Display)
ทิศทางของขั้นตอนการดำเนินงาน (Flow line)
จุดที่มีการเชื่อมต่อ (Connector)
จุดต่อหน้าใหม่ (Off Page Connector)
หุหุหุ......
ว่าแล้ว ก็เหลือ อีก 6 โพส อิอิ.....
ระบบIPCop
ระบบ VoIP
Voice over IP (VoIP) คืออะไร
VoIP-Voice Over IP หรือที่เรียกกันว่า “VoIP Gateway” หมายถึง การส่งเสียงบนเครือข่ายไอพี เป็นระบบที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอล คือ นำข้อมูลเสียงมาบีบอัดและบรรจุลงเป็นแพ็กเก็ต ไอพี (IP) แล้วส่งไปโดยมีเราเตอร์ (Router) ที่เป็นตัวรับสัญญาณแพ็กเก็ต และแก้ปัญหาบางอย่างให้ เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียง ให้มีขนาดเล็กลง การแก้ปัญหาเมื่อมีบางแพ็กเก็ตสูญหาย หรือได้มาล่าช้า (delay) การสื่อสารผ่านทางเครือข่ายไอพีต้องมีเราเตอร์ (Router) ที่ทำหน้าที่พิเศษเพื่อประกันคุณภาพช่องสัญญาณไอพีนี้ เพื่อให้ข้อมูลไปถึง ปลายทางหรือกลับมาได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการให้สิทธิพิเศษก่อนแพ็กเก็ตไอพีอื่น (Quality of Service : QoS) เพื่อการให้บริการที่ทำให้เสียงมีคุณภาพ นอกจากนั้น Voice over IP (VoIP) ยังเป็นการส่งข้อมูลเสียงแบบ 2 ทางบนระบบเครือข่ายแบบ packet-switched IP network. ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสาธารณะ เพื่อสื่อสารระหว่าง VoIP ด้วยกัน โดยที่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้
ไม่มีไร...
คือ Search หาเรื่อง หรือข้อความ จะมาโพส....
พิมพ์ๆ ไป ใน Google ดันไปเจอ ข้อความใน blog นี้ และที่สำคัญ เป็น ของ Tui_ER อีกด้วย
((( นั่นแปลว่า ที่เราหาเรื่องมีสาระๆ มาโพสม่ายเจอเพราะยังคงคิดเดิมๆ สินะ เลยวนกลับมาเรื่องตัวเอง อย่างฮา......
ต้องริเริ่มครีเอทการเสิร์ช ซะแร้วสินะ )))
โฮะๆ 555+ เลยมาเล่าให้ฟัง ..... (เฉยๆ ก็แค้เนี๊ยะ .....)
ยังค้างเรื่อง ที่จะต้องโพส อีกแค่ 7 เรื่องเอง......(((( เฮ้ออ.....))))
ปล. 'จารย์ค้าบบบ ค่อยๆ ผ่อนโพส ได้ป่าวง่า ^___^
ปล2. เพื่อนๆ ไปเอาเรื่องราวมาจากไหนเยอะแยะค้าบบบบ หาให้มั่งเฮอะ
การวางระบบ IDS
เราสามารถใช้งาน IDS ได้สองแบบ คือการตรวจจับการโจมตี (Attack Detection) และการตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection) ความแตกต่างอยู่ที่ attack detection จะตรวจจับการบุกรุกก่อนที่จะเข้าถึงเครือข่างภายใน ส่วน intrusion detection นี่คือตรวจจับการบุกรุกเมื่อผู้บุกรุกผ่านเข้ามาภายในเครือข่ายได้แล้ว
พูดอีกอย่างก็คือ attack detection จะวาง IDS ไว้หน้าไฟร์วอลล์ ส่วน intrusion detection จะวาง IDS ไว้หลัง ไฟร์วอลล์ ... ผลที่ได้ก็ต่างกัน ในกรณี attack detection จะเป็นการตรวจจับการบุกรุกไฟร์วอลล์ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ ผลการตรวจจับช่วยให้วิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงได้ ส่วน intrusion detection จะเป็นการตรวจจับการบุกรุกที่เข้าถึงเครือข่ายภายใน ซึ่งบอกถึงการรั่วของไฟร์วอลล์ได้ ตรวจจับการบุกรุกผ่าน backdoor ตรวจจับการบุกรุกที่เกิดขึ้นจากภายในเครือข่ายเอง หรือกรณีที่คนในองค์กรไปเจาะเครือข่ายอื่นๆ
ระบบเน็ทเวิร์คอย่างง่ายๆ ในบ้าน (ตอนที่ 2) เรื่องของ IP Address อย่างง่าย และแชร์ Internet
ระบบเน็ทเวิร์คอย่างง่ายๆ ในบ้าน (ตอนที่ 1) อุปกรณ์ที่ต้องใช้ และการเข้าหัวสายแลน
สายแลนนี่ ข้างในสายจะประกอบด้วยสายไฟเล็กๆ 8 เส้น มีหลายสีทำหน้าที่ขนส่งข้อมูลนี่แหละครับโดยการเข้าหัวสายแลนนี้ ถ้าเข้าไม่ถูกต้อง จะทำให้สายใช้งานไม่ได้
สายแลนจะมีการเข้าหัว 2 แบบ แบบแรกคือแบบปกติ ใช้ต่อพ่วงคอมฯ กับคอมฯ แค่ 2 เครื่อง อะไรทำนองนี้ครับเราเรียกแบบนี้ว่าสายครอส (Cross) จะเป็นการเข้าหัวแบบไขว้สาย
อีกแบบคือแบบธรรมดา ใช้ต่อคอมฯ เข้า Switch หรือ Hub ใช้กับคอมฯ หลายๆ เครื่อง
อุปกรณ์ชิ้นต่อไป ในกรณีที่คุณใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่องก็คือ Switch หรือ Hub
Switch หรือ Hub แตกต่างกันอย่างไร
ว่ากันง่ายๆ ก็คือ Switch จะฉลาดกว่า Hub รู้จักเลือกส่งข้อมูล และทำให้การส่งข้อมูลใน Network ทำได้เต็มที่และเร็วกว่าครับ นอกจากนี้ยังปลอดภัยต่อการดักจับข้อมูลมากกว่าด้วย
กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์2
ปัญหาทุกอย่างในโลกนี้ ไม่ใช่จะเป็นปัญหาซึ่งเหมาะที่จะใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์-แวร์แก้ไขเสมอไป หรือถึงแม้จะใช้ได้ ก็อาจเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป หรือต้องใช้เวลานานมากดังนั้น ในขั้นตอนแรกจึงต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในส่วนนี้ก่อน
2. วิเคราะห์โจทย์หรือความต้องการของผู้ใช้
โจทย์ปัญหาเป็นสาเหตุที่ทำให้ลักษณะของซอฟต์แวร์มีความหลากหลาย เพราะซอฟต์แวร์ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้โจทย์ปัญหาที่มีมากมายหลายรูปแบบ โจทย์ปัญหาอาจเป็นความต้องการของผู้ใช้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทน หรืออาจเป็นโจทย์ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดได้เหมือนมนุษย์ หรืออาจเป็นการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ควบคุมการสื่อสารของคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เนื่องจากโจทย์ปัญหาดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้น จะต้องมีการวิเคราะห์และแยกย่อยปัญหา (Problem Decomposition)กำหนดขอบเขตปัญหาที่จะให้ซอฟต์แวร์แก้ไข (software scope) และต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร งานส่วนนี้จะเป็นประเด็นสำคัญในการวางแผนพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมทั้งประเมินระยะเวลาและค่าใช้จ่ายด้วย
3. เขียนคุณลักษณะซอฟต์แวร์
คุณลักษณะซอฟต์แวร์ (Software Specifi-cation) เป็นข้อกำหนดลักษณะหน้าที่และวิธีการทำงานของซอฟต์แวร์ว่า ซอฟต์แวร์นี้ต้องทำอะไรบ้าง จึงจะสนองความต้องการของผู้ใช้ เช่นจะต้องใช้ข้อมูลอะไร จะจัดเก็บข้อมูลอะไรจะผลิตหรือประมวลผลข้อมูลอะไร ลักษณะของข้อมูลเป็นอย่างไร มีขอบเขตข้อจำกัดอะไร ฯลฯการกำหนดคุณลักษณะซอฟต์แวร์สามารถทำได้หลายวิธี เช่น - สอบถามผู้ใช้โดยตรงว่า ต้องการให้ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่อะไรบ้าง การสอบถามต้องมีเทคนิคในการสื่อสารที่ดี โดยอาจจะมีการยกตัวอย่างสภาพการณ์ (scenario-based requirementanalysis) ในแนวว่า "ถ้า (สถานการณ์) เกิดขึ้นจะทำอย่างไร" เช่น ถ้าโจทย์คือการจัดการพัสดุ ของร้านค้า นักวิเคราะห์ระบบอาจถามว่า "ถ้าสินค้าที่สั่งซื้อไม่มาส่งตามกำหนด ทางร้านจะทราบได้เมื่อใด และจะดำเนินการอย่างไร" - ศึกษาวิธีการดำเนินงานตามปกติก่อนนำคอมพิวเตอร์มาใช้ และหาจุดอ่อนที่จะต้องนำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ - สำรวจความต้องการของตลาดว่า คนส่วนใหญ่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านใดในลักษณะใด และต้องการความบันเทิงจากคอมพิวเตอร์อย่างไร ฯลฯ - ศึกษาจากลักษณะของซอฟต์แวร์เก่าที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้ว ฯลฯ
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อกำหนดลักษณะของซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบ คือรูปแบบข้อมูล รูปแบบหน้าที่งาน และรูปแบบการทำงาน วิธีการนำเสนออาจแสดงเป็นแผนผังแบบต่างๆ เช่น แสดงด้วยแผนผังการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) แสดงด้วยแผนผังความสัมพันธ์ของข้อมูล (Entity - RelationshipDiagram) ฯลฯ ส่วนศัพท์ว่าข้อมูลใดคืออะไร จะต้องอธิบายอยู่ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary
4. ออกแบบซอฟต์แวร์
การออกแบบซอฟต์แวร์จะเริ่มเน้นด้านเทคนิค โดยรวมถึงการออกแบบโครงสร้างของซอฟต์แวร์ หน่วยต่างๆ ของซอฟต์แวร์ ซึ่งสามารถนำเสนอได้ด้วยแผนผังหลายแบบ เช่น แผนผังโครงสร้างระบบ (Structure Chart) และราย-ละเอียดขั้นตอนในการแก้ปัญหา (algorithm) ของแต่ละหน่วย นอกจากนี้ ยังรวมถึงการออกแบบวิธีที่ซอฟต์แวร์จะสื่อสารกับผู้ใช้ เช่น ออกแบบหน้าจอ ออกแบบวิธีรับคำสั่งจากผู้ใช้ (จะให้ผู้ใช้พิมพ์คำสั่ง หรือกดปุ่มเรียก หรือพูดด้วย ฯลฯ)
5. เขียนซอฟต์แวร์
การเขียนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเป็นการเขียนชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ภาษาที่ใช้เขียนซอฟต์แวร์มีอยู่หลากหลาย ได้แก่ ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล(COBOL) ภาษาซี (C) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาจาวา (Java) ภาษาเพิร์ล (PERL)ภาษาเดลไฟ (Delphi) ฯลฯ ซึ่งควรจะเขียนเป็นหน่วยเล็กๆ ก่อน โดยแต่ละภาษาอาจจะมีรูปแบบหน่วยที่ต่างกัน
เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็ควรจะทดสอบความถูกต้องในการทำงานของแต่ละหน่วย ด้วยการทดสอบซอฟต์แวร์ (software testing) ว่าถูกต้องตามข้อกำหนด ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มีคุณภาพตามต้องการ และหาข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขชุดคำสั่งให้กำจัดข้อบกพร่องนั้นๆ (softwaredebugging)
6. รวมหน่วยย่อยของซอฟต์แวร์
ขั้นตอนนี้เป็นการรวมชุดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยย่อยให้เป็นซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ และทดสอบความถูกต้องว่า หน่วยต่าง ๆ ยังทำงานร่วมกันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพหรือไม่
7. นำซอฟต์แวร์ไปใช้
การนำเสนอซอฟต์แวร์ไปใช้ในเบื้องต้นจะช่วยให้ผู้ใช้ได้เห็นว่า ใช้ได้สะดวกหรือไม่ และตรงกับความต้องการหรือไม่ เมื่อนำไปใช้แล้วสามารถแก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้หรือไม่ ฯลฯ หากไม่ตรงกับความต้องการ ก็จะได้ให้คนที่เขียนโปรแกรมนั้นแก้ไขใหม่
8. ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงานจริง
ขั้นตอนนี้เป็นการนำซอฟต์แวร์ไปใช้ประกอบการทำงานจริง ซึ่งอาจทำให้วิธีการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ซอฟต์แวร์ที่ดีจะต้องทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
9. ทำนุบำรุงซอฟต์แวร์
ขณะที่ใช้ซอฟต์แวร์อยู่ ก็ยังต้องมีการทำนุบำรุงซอฟต์แวร์ เช่น (๑) แก้ไขซอฟต์แวร์ (correction) เมื่อพบข้อผิดพลาด
(๒) ขยายหน้าที่ของซอฟต์แวร์(enhancement) เมื่อผู้ใช้ปรับเปลี่ยนความต้องการไป
(๓) ปรับให้ซอฟต์แวร์ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (adaptation) เช่น มีกฎระเบียบใหม่ออกมาทำให้โจทย์ปัญหาเปลี่ยนไป หรือคอมพิวเตอร์เปลี่ยนรุ่น ฯลฯ
(๔) การรื้อแล้วสร้างใหม่ (software re-engineering) เพื่อปรับโครงสร้างซอฟต์แวร์เก่า พัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ให้มีคุณภาพ และทำให้การแก้-ขยาย-ปรับทำได้อย่างสะดวกและประหยัดในระยะยาว
การตรวจสอบความถูกต้องควรจะทำในทุกขั้นตอน และถ้าพบข้อผิดพลาด ก็ต้องรีบย้อนกลับไปแก้ไข
กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดย ไม่มีผู้แต่ง
ถ้าพบข้อผิดพลาดช่วงแรกๆ ก็จะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้มาก การศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทจีทีอี (GTE) และบริษัททีอาร์ดับเบิลยู (TRW) โดยนายแบรี บีม(Barry Boehm) ในปี ค.ศ. ๑๙๓๖ พบว่า ถ้าแก้ไขข้อผิดพลาดเมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์เสร็จแล้วแทนที่จะแก้ไขตั้งแต่ตอนที่หนดคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น๑๐๐ เท่า ตัวอย่างของปัญหานี้เห็นได้อย่างชัดเจนในการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ หรือที่เรียกว่า ปัญหาวายทูเค (Y2K) บริษัที่ออก-แบบซอฟต์แวร์ให้ใช้กับปีที่มีเลข ๔ หลักตั้งแต่ต้นแทบจะไม่เดือดร้อนในการแก้ไขเลย แต่ซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ต่างละเลยปัญหานี้ โดยยังคงใช้ปีเป็นเลข ๒ หลักอยู่ บางรายใช้อยู่เป็นสิบๆ ปี เมื่อถึงเวลาแก้ไขข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ ก็ปรากฏว่าต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากถึงหลายสิบล้านบาท ร้อยล้านบาท หรือมากกว่านั้น
การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมีขั้นตอน มีหลายแบบและยังมีวิวัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่องเพราะสาขาทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์นี้ เพิ่งเกิดขึ้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๒๐ หากเทียบกับระยะเวลาที่มนุษยชาติศึกษากระบวนการสร้างที่อยู่อาศัยที่มีมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ก็นับได้ว่าสาขาวิชานี้ยังใหม่อยู่มาก ดังนั้น ในการเลือกกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องตั้งคำถามว่า กระบวนการใด "เหมาะ" ที่สุดสำหรับโจทย์ปัญหาและประเภทของซอฟต์แวร์ ไม่ใช่กระบวนการใด "ดี" ที่สุด
การพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่ใช่กระบวนการที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่แน่นอนเหมือนเช่นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เนื่องจากซอฟต์แวร์ใช้สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ช่วยแก้โจทย์ปัญหาบางอย่างให้แก่มนุษย์ เมื่อสภาพของโจทย์ปัญหาหรือคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไป ซอฟต์แวร์ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตาม ซอฟต์แวร์ที่ขาดการทำนุบำรุงจึงเสื่อมคุณภาพ ทั้งที่ไม่ได้สึกหรอ ทั้งนี้เพราะไม่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป
ในสมัยแรกๆ การผลิตซอฟต์แวร์มักไม่มีขั้นตอน คือ เริ่มต้นด้วยการเขียนซอฟต์แวร์เลยเมื่อมีปัญหาก็แก้ไข เขียนแล้วแก้สลับกันไปจนกว่าจะได้คุณลักษณะที่ต้องการ ผลก็คือ จะได้ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนมาก หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในภายหลัง และผู้ที่แก้ไขไม่ใช่ผู้เขียนซอฟต์แวร์นั้นเอง ก็จะมีปัญหามาก มักทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงซอฟต์แวร์เกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้
ต่อมาได้มีการนำหลักวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์จึงแบ่งได้เป็น ๓ ระยะ คือ
๑. กำหนดคุณลักษณะซอฟต์แวร์ (Definition) เน้นว่าจะ "สร้างอะไร" โดยให้คำตอบว่า "โจทย์ปัญหาที่ต้องการแก้คืออะไร" และ "สิ่งที่จะใช้แก้ปัญหานี้คืออะไร"
๒. สร้างซอฟต์แวร์ (Development) เน้นว่าจะ "สร้างอย่างไร" โดยให้คำตอบเรื่อง "ทำอย่างไรจึงจะสร้างสิ่งที่นำมาใช้แก้ปัญหาได้" และ "ทำอย่างไรจึงจะตรวจสอบหาข้อบกพร่องของสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ตลอดจนสิ่งที่นำมาใช้แก้ปัญหารวมทั้งซอฟต์แวร์และเอกสารอธิบายซอฟต์แวร์"
๓. วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ (Evolution)เน้นว่าจะ "เปลี่ยนแปลงอย่างไร" โดยให้คำตอบเรื่อง "เมื่อสภาพการณ์หรือปัญหาเปลี่ยนแปลงไปต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับปรุงสิ่งนั้นให้ยังคงใช้แก้ปัญหาได้"
แม่แบบของกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นขั้นตอนที่เก่าแก่ที่สุดนั้น เรียกกันว่า แม่แบบแบบขั้นน้ำตก (Waterfall Model) ซึ่งเมื่อลากเส้นเชื่อมต่อแต่ละขั้นตอนลงไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ก็จะมีลักษณะคล้ายน้ำตก
แม่แบบแบบขั้นน้ำตก
วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ประเภทของต้นต้นแบบ
1.ตัวต้นแบบชนิดปะติดปะต่อ (Patched-Up Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่สร้างขึ้นทีละส่วนแล้วนำมาปะติดปะต่อกัน คล้ายการนำขนมปังมาซ้อนชั้นกัน เช่น การสร้างวงจรรวม เป็นต้น ในลักษณะของระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่มีคุณสมบัติที่จำเป็นในการทำงานทั้งหมด แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นภาพรวมทั้งระบบว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถ นำแต่ละส่วนมาใช้งานได้จริง
2.ตัวต้นแบบที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง (Nonoperational Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบผลกระทบบางอย่าง เช่น การสร้างตัวต้นแบบรถยนต์เพื่อทดสอบแรงลมในอุโมงค์ ซึ่งใช้รถที่มีรูปแบบและอุปกรณ์ที่สามารถทดสอบได้ แต่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ การสร้างตัวต้นแบบนี้จะทำการเขียนรหัสโปรแกรมให้ผู้ใช้เห็นเพียงส่วนของอินพุทและเอาต์พุทเท่านั้น อาจจะยังไม่มีส่วนของการประมวลผล นั่นคือ จะไม่มีส่วนของ PROCESS ดังรูป
รูปที่ 2 แสดงรูปตัวต้นแบบไม่สามารถปฏิบัติได้จริง (Nonoperational Prototype)
3.ตัวต้นแบบที่ใช้ได้เพียงส่วนเดียว (First-Of-A-Series Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่เป็นเหมือนตัวต้นแบบนำร่องให้ผู้ใช้ได้ใช้ในส่วนหนึ่งให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ ก่อนที่จะใช้ระบบจริงเต็มรูปแบบเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด ตัวอย่าง ในบริษัทหนึ่งมีหลายเครือข่ายได้จัดทระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อใช้ในการเช็คสินค้าที่สั่งซื้อ เขาจะใช้ตัวต้นแบบเพื่อ ทดสอบก่อนใช้งานจริงในทุกบริษัทเครือข่าย โดยทดลองใช้เพียงบริษัทหนึ่งก่อน เป็นต้น หรือการวางตู้ฝาก-ถอน ไว้บางจุด เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งาน ซึ่งจะมีรูแบบดังนี้
4.ตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน (Select Features Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่ใช้ 3 แบบแรกมารวมกัน ในการเลือกใช้รูปแบบ โดยอาจสร้างต้นแบบในการฏิบัติงานบางส่วนแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการช่วยให้สร้างระบบในส่วนที่ซับซ้อนง่ายขึ้น อย่างในกรณีที่สร้างระบบโดยในระบบนั้นมีเมนูซึ่งประกอบกันด้วยหลายรายการ เช่น 5 รายการ คือ การเพิ่มรายการ การลบรายการ การแก้ไขรายการ การค้นหารายการ การพิมพ์รายการ ซึ่งเราอาจให้ผู้ใช้ได้ใช้เพียง 3 ส่วนก่อน คือ รายการเพิ่มรายการ การลบรายการ การแก้ไขรายการ หรือร้านขายสินค้าในปั๊มน้ำมัน ลูกค้าสามารถจอดรถ ทานอาหารจานด่วนได้ และซื้อสินค้าบางรายการได้ เป็นต้น แล้วค่อยพัฒนาระบบไปเรื่อยในระหว่างมีการทดสอบใช้ตัวต้นแบบ
(คิด)เป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ...อย่างไร?
- ขอบเขต (Boundary) คืออะไร แค่ไหน เช่น ระบบสุขภาพจังหวัดพัทลุง ขอบเขตที่ว่าคือ อะไร ๆ หลาย ๆ อย่าง ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ของคนในจังหวัดพัทลุง
- อะไร ๆ ที่มากกว่า 1 อย่าง ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบ (Componant) ที่อยู่รวมกันภายใต้ขอบเขตที่กำหนด (Boundary) ข้างต้น หากพิจารณาตามตัวอย่างข้างต้นก็จะหมายถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น ตัวคน สถานบริการ บุคลากรสุขภาพ การเงินการคลังสุขภาพ หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นต้น
- ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (Relation) ของอะไร ๆ ที่มีมากกว่า 1 อย่าง หรือองค์ประกอบ (Componant) ภายใต้ขอบเขตที่กำหนด (Boundary) ขึ้นตามข้างต้น หากพิจารณาตามตัวอย่างที่ยกขึ้นไว้ในประเด็นก่อนหน้า สิ่งเหล่านั้นก็จะต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เชื่อมโยงถึงกัน
กรณีที่ไม่เป็นระบบจะอย่างไร ก็เอาเป็นว่าขาดอย่างใด อย่างหนึ่งไป อาทิไม่มีขอบเขตที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจน มีอะไร ๆ ที่ว่าอยู่เพียงอย่างเดียว หรือสิ่งที่มีอยู่นั้นขาดความเชื่อมโยง ไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อย่างนี้จะไม่เป็นระบบ ข้อสังเกตที่จะบอกว่าอะไรเป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ เอาง่าย ๆ คือระบบจะแบ่งย่อยได้ แต่ไม่มีลักษณะที่เป็นเหมือนเดิม พูดง่าย ๆ ก็คือหากจะดูว่าเหมือนเดิม หรือให้ผลลัพธ์เหมือนเดิมอีกไหม แล้วลองแบ่งแยกออกดู เมื่อแบ่งแยกย่อยแล้วไม่เหมือนเดิม อันนี้เป็นระบบ (System) แต่หากแบ่งแล้วยังเหมือนเดิมอันนี้จะเป็นเพียงกลุ่มหรือกอง (Heap)
แล้วที่บอกว่าคิดเป็นระบบคืออะไร นี่สิโค้งกลับเข้าสู่หัวเรื่องที่ตั้งไว้ ในทัศนะผมคือการคิดคำนึงถึงองค์ประกอบทุกอย่างในขอบเขตที่กำหนดให้ครอบคลุม ครบถ้วน จากนั้นก็มาพิจารณาที่ความเกี่ยวข้อสัมพันธ์กันแม้จะหลบแอบอยู่ก็ต้องมองให้เห็นพิจารณาให้หมด ทั้งทางตรงทางอ้อม อันนี้ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ด้วย แต่ก็ใช่ว่าจะเริ่มต้นไม่ได้ดีเสียทีเดียว คิดว่าขบวนการกลุ่มจะช่วยได้มาก ช่วยกันคิด ช่วยกันพิจารณาครับ
การคิดเป็นระบบไม่จำเป็นต้องคิดคนเดียวครับ “กลุ่ม” “ทีม” หรือ “เครือข่าย” จะช่วยได้เยอะมาก วิธีการหนึ่งที่จะทำให้การร่วมกันคิดและพิจารณาเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบ คือ การ ลปรร. อย่างไม่ค่อยเป็นทางการ เป็นอิสระ ให้เกียรติกัน จะออกมาได้ดีมาก ตัวอย่างมีให้เห็นอย่างเด่นชัด เมื่อชาวบ้านและภาคีร่วม ในโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน ได้ลงมือทำ ผลได้ออกน่าไม่น่าเชื่อเสมอ ไม่ลองไม่รู้ครับ
ให้เครดิตแก่คุณ ชายขอบครับ ^^
การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)
การคิดอย่างเป็นระบบจริง ๆ แล้วมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นนักวิเคราะห์ระบบ ผู้พัฒนาโปรแกรมหรือคนเขียนโปรแกรม (programmer) ซึ่งจะมีกระบวนการทางความคิดที่เป็นระบบและสลับซับซ้อน มีความคิดอย่างเป็นระบบย่อย ๆ อยู่ในความคิดอย่างเป็นระบบหลัก ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคลที่ต้องอาศัย ความรู้ การฝึกฝน และประสบการณ์จากการทำงาน
การคิดอย่างเป็นระบบจะสำคัญมากโดยเฉพาะผู้ซึ่งทำงานในระดับหัวหน้างานหรือหัวหน้ากลุ่มงานขึ้นไป ที่จะมีงานจะเข้ามาตลอดเวลา จะต้องคิดให้ได้ว่างานนั้นมีกระบวนการหรือขั้นตอนอย่างไร ควรทำอะไรก่อน ทำอะไรหลัง ในแต่ละขั้นตอนของงานควรใช้เวลาแค่ไหนถึงจะเสร็จ ควรมอบหมายงานให้กับใครรับผิดชอบ และหากเจ้าหน้าที่ไม่ว่างหรือไม่อยู่ ควรจะมอบหมายให้กับผู้ใดทำแทน เป็นต้น การจะคิดอย่างเป็นระบบได้นั้น หัวหน้างานจะต้องมีพื้นฐานและประสบการณ์ในงานนั้น ๆ ด้วย และการคิดอย่างเป็นระบบนอกจากจะช่วยทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นการมองในภาพรวมเท่านั้น ยังจะช่วยขจัดปัญหาความซับซ้อนของงานได้อีกด้วย
ดังนั้น หากเราสามารถคิดได้อย่างเป็นระบบแล้ว ก็จะสามารถศึกษา วิเคราะห์ และทำความเข้าใจถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถสั่งการผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์มาก แต่กว่าจะทำได้ดีนั้น สิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้ คือ การหมั่นฝึกฝน และการนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เราคิดอย่างเป็นระบบได้ดีขึ้น
ขอขอบคุณคอลัมน์ เส้นสายลายคิด โดย จรีพร แก้วสุขศรี คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3710 (2910)
การพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเอง (IN-HOUSE/CUSTOM DEVELOPMENT)
- ตอบสนองกับผู้ใช้ได้มากที่สุด
- ลดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
- ผู้ใช้ระบบกับทีมงานพัฒนาเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย
- หน่วยงานต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์ และบุคลากร
- เอกสารประกอบ และไดอะแกรม อาจไม่เป็นมาตรฐาน
- ไม่เหมาะกับระบบงานที่มีความซับซ้อนสูง
การออกแบบ (DESIGN PHASE)
- พัฒนาเอง
- ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป
- ว่าจ้างบริษัทพัฒนาระบบ
ขั้นตอนการนำแบบจำลอง Logical ผ่านการออกแบบเพื่อพัฒนาเป็นแบบจำลองทาง Physical
วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ระบบกับพุทธศาสนา ถึงเวลาหรือยัง?
วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การออกแบบระบบ
1. การออกแบบเอาต์พุต (Output Design)
2. การออกแบบอินพุต (Input Design)
3. การออกแบบขบวนการ (Process Design)
4. การออกแบบฐานข้อมูล และแฟ้มข้อมูล (Database/File Design)
1. การออกแบบเอาต์พุต (Output Design)
เอาต์พุต คือ ข้อมูลที่ถูกส่งมอบให้กับผู้ใช้ระบบ โดยระบบงานข้อมูล (Information System) ซึ่งในปัจจุบันเอาต์พุตสำหรับระบบงานคอมพิวเตอร์แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1. แบบฮาร์ดก็อปปี้ (Hard Copy) ได้แก่ รายงานต่างๆ ที่ออกมาทางเครื่องพิมพ์ 2. แบบซอฟต์ก็อปปี้ (Soft Copy) หมายถึงข้อมูลที่แสดงผลออกทางจอภาพชนิดต่างๆ และไมโครฟอร์ม (Microform)
กระบวนการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง Output อาจมาจากแหล่งข้อมูลด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. เรียกจากแฟ้มข้อมูลโดยตรง (Retrieval from data store)
2. นำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานที่ต้องการ (Transmission from process)
3. รับข้อมูลโดยตรงจากการคีย์ข้อมูลเข้า (Direct from an input source)
หลักการดีไซน์เอาต์พุต
1. ดีไซต์เอาต์พุต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู่ใช้ระบบ
2. ดีไซน์เอาต์พุต ให้เหมาะสมต่อผู้ใช้ระบบ
3. ส่งมอบเอาต์พุตตามจำนวนที่ผู้ใช้ระบบต้องการ
4. ให้แน่ใจว่าเอาต์พุตได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
5. เอาต์พุตถูกส่งมอบให้กับผู้ใช้ระบบตามเวลาที่กำหนด
6. เลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับเอาต์พุตแต่ละแบบ
การออกแบบรายงานทางจอภาพ
เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ (Computer-Aided Systems Engineering Tool: CASE Tools)
CASE จะช่วยแบ่งเบาภาระของนักวิเคราะห์ระบบได้มาก ตั้งแต่การช่วยสร้าง Context Diagram , Flowchart , E-R Diagram สร้างรายงานและแบบฟอร์ม ตลอดจนการสร้างโค้ดโปรแกรม (Source Code) ให้อัตโนมัติอีกด้วย
แสดงภาพตัวอย่างโปรแกรม CASE
จะทำอย่างไรดี ... ??? ... เมื่อต้องการศึกษาระบบ
1. What คือ ระบบทำอะไร , วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร มีแผนงานขั้นตอนอย่างไรเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ (Goal)
2. Who คือ ทำโดยใคร ,บุคคลหรือใครที่รับผิดชอบ
3. When คือ ทำเมื่อไร , การเริ่มดำเนินงานและผลสำเร็จของงานจะสำเร็จลุล่วงได้เมื่อไร ควรมีการจัดตารางการทำงานอย่างมีระบบ การทำงานโดยไม่มีการจัดตารางการทำงานที่แน่นอน ส่งผลให้ระบบงานยืดเยื่อ ไม่สามารถปิดงานได้ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
4. How คือ ทำอย่างไร มีวิธีการทำงานอย่างไร ต้องใช้เครื่องมือใดเพื่อให้งานสำเร็จได้รวดเร็ว
เทคนิคการควบคุมที่ใช้ในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Examples of control techniques used in computer-base information systems)
:: การตรวจสอบเชิงตัวเลข (Check digits)
:: การควบคุมทั้งระบบ (Control total)
:: การทำสำเนาข้อมูลที่นำเข้า (Duplicate data entry)
:: การตรวจแก้ปรับเปลี่ยนข้อมูล (Edit checks)
:: ตรวจสอบแหล่งของเอกสารสำคัญ (Log of source documents)
:: การทดสอบด้านเหตุผล (Reasonableness tests)
:: การประมวลผลที่คงค้างอยู่ (Transaction logs)
2. หน่วยประมวลผล (Processing)
:: การตรวจสอบสะกดรอย (Audi trail)
:: การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)
:: การตั้งชื่อแฟ้ม (Labels)
:: การเข้าถึงข้อมูลที่จำกัด (Limited access)
:: การใช้รหัสผ่าน (Passwords)
:: เวลาทำงาน (Run totals)
:: การตรวจเช็คลำดับ (Sequence check)
3. หน่วยแสดงผล (Output)
:: หน่วยแสดงผลเพิ่มเติม (Extra output)
:: ยอดรวม (Totals)
4. หน่วยทั่วไป (General)
:: การสำรองข้อมูล (Backup)
:: เอกสารสำคัญ (Documentation)
วงจรการพัฒนาโปรแกรม (The program development life cycle)
2. การออกแบบโปรแกรม (Program design)
3. การเขียนโปรแกรม (Program coding)
4. การตรวจสอบข้อผิดพลาด และแก้ไขโปรแกรม (Program debugging)
5. การทดสอบโปรแกรม (Program testing)
6. การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance)
ขั้นตอนในกระบวนการออกแบบระบบ (Step in the system design process)
1. คุณลักษณะของหน่วยแสดงผล (Output specification)
:: เนื้อหา, รูปร่าง, ปริมาณ, ทันเวลา, สื่อ, รูปและขนาด
2. คุณลักษณะของหน่วยนำเข้าข้อมูล (Input specification)
:: เนื้อหา, ทันเวลา, สื่อ, รูปขนาด, ปริมาณ
3.คุณลักษณะของหน่วยประมวลผล (Processing specification)
:: การคำนวณ, ประยุกต์ใช้, โปรแกรมระบบ, อุปกรณ์ในการคำนวณ
4. คุณลักษณะส่วนจัดเก็บข้อมูล (Storage specification)
:: การเข้าถึง, การจัดการข้อมูล, ปริมาณ, สื่อ
5. คุณลักษณะกระวบนการปฏิบัติ (Procedure specification)
:: งาน, การควบคุม
6. คุณลักษณะบุคลากร (Personnel specification)
:: งาน, คุณวุฒิ, การอบรม
วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ขั้นที่สองของการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
เมื่อกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบงานได้และตัดสินใจจะสร้างและพัฒนาระบบงานนี้ขึ้นมาใหม่นั้น นักวิเคราะห์ระบบจะทำการศึกษาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับเปลี่ยนระบบ โดยให้เสียค่าใช้จ่าย (Cost) และเวลา (Time) ให้น้อยที่สุด แต่ให้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ การศึกษาความเหมาะสมนี้ต้องทำการสืบค้นความต้องการของผู้ใช้ อาจใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง การสอบถามข้อมูลการสัมภาษณ์ การทำแบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้ระบบจริง ๆ การศึกษาความเหมาะสมนี้ต้องศึกษาใน 3 ประเด็นต่อไปนี้
1.1 เทคนิค เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ มีอะไรบ้าง เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือไม่
1.2 บุคลากรในหน่วยงานมีความพร้อมและเหมาะสมที่จะร่วมพัฒนาและรับผิดชอบหรือไม่
1.3 ค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป (Cost/Time) คุ้มกับการผลประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่
ขั้นแรกของการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
เป็นกิจกรรมแรกที่สำคัญ นักวิเคราะห์ระบบต้องสนใจในการหาปัญหา โอกาสและเป้าหมายที่ชัดเจนของงานต่างๆ เมื่อเห็นปัญหาและโอกาสที่สามารถนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาแก้ไขได้ จะเป็นจุดเริ่มในการสร้างระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบจะต้องพยายามหาโอกาสในการปรับปรุงโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในงานด้านต่างๆ เริ่มจากการตรวจสอบเบื้องต้น(Preliminary Investigation) โดยนักวิเคราะห์ระบบ จะตรวจสอบจากผู้ใช้ระบบที่ประสบปัญหาจากการทำงานของระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ต้องการแข่งขันกับคู่ต่อสู้ในการลดต้นทุนการผลิตสินค้า โดยการลดจำนวนการสต๊อกวัตถุดิบ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องพิจารณาในการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการเก็บข้อมูลสต๊อควัตถุดิบ และการประมวลผล การสั่งวัตถุดิบ
การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
คือการสร้างต้นแบบของระบบงานใหม่ที่ต้องการ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจระบบได้ง่ายขึ้น
2. Design Prototyping หรือ Throwaway Prototyping คือการสร้างแบบจำลองเพื่อตรวจสอบความต้องการของผู้ใช้ หลังจากผู้ใช้เห็นด้วยกับการออกแบบ ต้นแบบนั้นจะไม่มีการนำมาใช้อีก และการพัฒนาจะทำต่อจากการออกแบบ
ผลที่ได้รับจากการสร้างต้นแบบ(Benefits of prototyping)
1. สามารถหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนาระบบ
2. ผู้พัฒนาระบบสามารถสร้างรายละเอียดที่ถูกต้องได้
3. ผู้จัดการระบบสามารถประเมินแบบจำลองในการใช้งานได้
4. นักวิเคราะห์ระบบสามารถใช้ต้นแบบในการทดสอบระบบและการทำงานในแต่ละขั้นตอน
5. ต้นแบบสามารถลดความเสี่ยงในการทำระบบได้
ปัญหาที่สำคัญของการทำต้นแบบ
1. การใช้ต้นแบบประกอบการพัฒนาที่รวดเร็วอาจทำให้เกิดปัญหาที่มองไม่เห็น และจะเห็นอีกครั้งเมื่อระบบได้พัฒนาเสร็จและถูกนำมาใช้ จึงทำให้แก้ไขได้ยาก
2. การทำงานบางอย่างอาจไม่สามารถทดสอบได้ในต้นแบบ เช่น ความเชื่อถือได้ การบำรุงรักษาระบบ
3. ต้นแบบที่ซับซ้อนจะทำให้ระบบเทอะทะและยากต่อการจัดการ
เครื่องมือในการทำต้นแบบ
1. CASE Tools
2. Application Generators หรือ Code Generators เป็น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา 4GL(Delphi,PowerBuilder,MS.Visual Basic)ภาษาNonprocedural(C++,Java)และ Procedural(COBOL)
3. Report Generators หรือ Report Writer เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรมที่ใช้สร้างรายงาน เช่น Crystal Report อาจเป็นการรายงานจำลอง (Mock-up Report) สำหรับตรวจทานก่อนการออกแบบขั้นสุดท้าย
4. Screen Generators หรือ Form Generator ใช้ภาษา 4GL ช่วยให้ออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (Interface) และรูปแบบการนำเข้าข้อมูล
วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การวางระบบธุรกิจ (ของต่างชาติเค้า)
อันนี้เป็นการวางระบบธุรกิจของชาวต่างชาติล่ะ เคยสงสัยกันมั้ยว่าทำไม บริษัทนั้นถึงสามารถทำงานได้โดยที่ผู้บริหารไม่ได้ลงมาควบคุมด้วยตัวเอง แต่ระบบงานก็ดำเนินไป ก้าวหน้ากันไปเรื่อยๆ.. เป็นเรื่องน่าคิดนะ แล้วทำอย่างไรเพื่อให้ได้ระบบงานอย่างนั้นบ้างล่ะ (อันนี้ภารีนาขอย่อ ๆ ให้อ่านกันนะ ^^)
การวางระบบธุรกิจ (ของต่างชาติเค้า) นะ...
1. จัดงานย่อยแต่ละงาน ทำให้เป็นส่วนๆ เพื่อจัดควบคุมคุณภาพในส่วนย่อยๆ โดยการหาจุดบกพร่องของงานแล้วหาวิธีการทำให้มีข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด หาหนทางเพื่อที่จะป้องกันข้อบกพร่องที่จะเกิดขึ้น
2. ระหว่างการจัดการกับงานย่อย ควรจะจัดความสัมพันธ์ของงานย่อยแต่ละงาน เพื่อให้สอดคล้องและไม่ติดขัดซึ่งกันและกัน นั่นคือการเชื่อมประสานงานต่างๆนั้นเอง
3. จัดแบ่งงานย่อยให้บุคคลต่างๆ ได้รับผิดชอบ ตามจำนวนเนื้องาน ให้พนักงานที่เข้ามารับผิดชอบ ทำให้ได้เนื้องาน อาจมีการกำหนดมาตรฐานไว้วัดพนักงานก็ได้
4. หาคนที่เป็นกุญแจของระบบ เข้ามาควบคุมการทำงานในระบบย่อย ซึ่งก็หมายถึง หัวหน้างาน มารับงานควบคุมในส่วนย่อย (แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการให้อำนาจหน่อยนะ ไม่ใช้ให้อำนาจไปทั้งหมดในตอนแรก)
5. เมื่อหัวหน้างานเริ่มมีมากขึ้น ก็ต้องหาคนที่สามารถดำเนินระบบงานต่อไป นั่นคือ ผู้จัดการนั่นเอง เพื่อมาช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าของธุรกิจ
6. เมื่อเริ่มมีผู้จัดการแต่ละส่วนมากๆเข้า งานเล็กงานน้อยเจ้าของธุรกิจก็จะวางมือได้มากขึ้น แล้วเจ้าของธุรกิจก็จะเริ่มต้องดูนโยบายการบริหารของในบริษัทฯ และก็ทำหน้าที่เป็น MD เพื่อควบคุมนโยบายหลักโดยรวมต่อไป คราวนี้ก็หางานใหม่ แตกแนวบริษัทออกไป
สรุปโดยรวม...ควรมองธุรกิจแบบวิธีการของต้นไม้ โดยมองตั้งแต่ยอดไม้ลงมาหาลำต้น และเจาะลึกไปถึงโคนราก เป็นวิธีการที่ทำให้ระบบงานยังคงเดินได้ และเดินได้ดีขึ้น และจะได้ค่อยๆมองให้เห็นส่วนประกอบขององค์กร และการจัดการส่วนย่อยเพื่อให้สามารถสร้างส่วนใหญ่ และได้วิเคราะห์ลึกไปเห็นถึงแก่นของเนื้อไม้และเห็นถึงโคนรากกันเลยทีเดียว...
ปล.อันนี้ก็ต้องขอขอบคุณ และขอให้เครดิต WBJ อีกครั้งนะค่ะ
กรอบความคิดทั้ง 4
และในที่สุดก็ได้เรื่องที่ (เหมือนจะ) ดูดีมาโพสล่ะ --> ปุจฉา...ตอนนี้มันต้องโพสกี่เรื่องแล้วนะ ตามไม่ทัน --! เอาล่ะ เข้าเรื่องกันเถอะ...อันนี้เป็นเรื่องของความคิดนะค่ะ คนเราต้องมีอะไรให้คิดหลายอย่างอยู่แล้วใช่มั้ย (แล้วแต่ว่าจะคิดเรื่องอะไร คิดดีและไม่ดี แต่จะคิดอะไรก็ช่วยเข้าใจความรู้สึกคนอื่นหน่อยได้มั้ย! --> เอ๊ะ...อันนี้เหมือนโกรธใครมา 55 ) อ่ะมาต่อดีก่า...การคิดเป็นการฝึกสมองทั้งซีกซ้าย (สมอง) และซีกขวา (ความคิดสร้างสรรค์) --> ตามที่เรียนจิตวิทยามา คนเราต้องมีสมองสมดุลทั้งซ้ายและขวา ^^
กรอบความคิดในการพัฒนาระบบงาน หรือ กรอบความคิดทั้ง 4 (สรุปย่อ ๆ ละกัน) มีดังนี้ค่ะ
1. Positive Thinking ความคิดในเชิงบวกเป็นความคิดเพื่อในแง่ดี มองในแง่มุมของความเป็นไปได้ ให้กำลังใจกับตนเอง และผู้อื่น ซึ่งเป็นความคิดพื่นฐานของความคิดที่ดีๆทั้งหมด เช่น คิดว่าจะทำอย่างไรให้แผนกทำงานได้ปริมาณ และ คุณภาพ มากที่สุดในเวลาเท่าเดิม ...
2. Creative Thinking ความคิดสร้างสรรเป็นความคิดประยุกต์ จากประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น มีประโยชน์มากขึ้น อย่างเช่น คิดถึงการรายงานในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ข้อมูลกับหัวหน้างานได้ดีขึ้น ...
3. Lateral Thinking ความคิดนอกกรอบเป็นความคิด นอกกรอบ หรือ บางทีบางคนใช้ทางด้าน จรรยาบรรณ ศิลธรรม หรือ ความจงรักภักดีในหน้าที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้พนักงานมีความคิดลักษณะนี้ เพื่อทำให้องค์กรแข็งแรง อย่างเช่น การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงาน และหัวหน้างาน ทำให้พนักงานตัดสินใจยากในการออกจากบริษัทฯ ...
4.Strategic Thinking ความคิดเชิงกลยุทธ์เป็นความคิดในการมองรอบด้าน การพัฒนา และ การวางแผนเพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นแนวความคิดทั้งเหตุ และ ผล รวมรวมกัน ตัวอย่างเช่น หากพนักงานของเรามีความคิดเชิงกลยุทธ์ ก็จะมองออกว่า ในอุตสาหกรรมของลูกค้าเรา เขาใช้กลยุทธ์ใดกันบ้าง และ เขาต้องการให้เราบริการงานของเขาทางด้านใด เราก็จะสามารถทำได้ถูกต้อง ตรงใจ ตรงความต้องการของลูกค้า ...
สุดท้าย...ทั้งนี้และทั้งนั้น การมีเพียงความคิด ไม่ได้บ่งบอกถึงความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น การมีความคิดดี ต้องประกอบด้วยการลงมือทำให้เกิดขึ้นดัวย
ปล. ขอให้เครดิต WBJ ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ ^^
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการพัฒนาระบบ
1. เครื่องมือสร้างแผนภาพหรือไดอะแกรม
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวาดไดอะแกรมหรือแบบจำลองระบบ (System Model) ตามที่ต้องการ หรือใช้สำหรับสร้างแบบจำลองตามกรรมวิธีของการพัฒนาระบบ (System Development Methodologies) ซึ่งแบบจำลองที่วาดนั้นสามารถลิงก์ไปยังแบบจำลองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น แผนภาพ UML Diagram, Data Flow Diagram หรือ ER Diagram เป็นต้น
2. เครื่องมือจัดทำคำอธิบาย
เป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกคำอธิบายและรายละเอียดของระบบ ซึ่งมักใช้งานเพื่อประกอบคำอธิบายของแบบจำลองหรือไดอะแกรมที่สร้างขึ้นในขณะนั้น
3. เครื่องมือสร้างหรือจัดทำต้นแบบ
เป็นเครื่องมือในการสร้างส่วนประกอบของระบบ ซึ่งประกอบไปด้วยอินพุตและเอาต์พุต โดยอินพุตและเอาต์พุตเหล่านี้สามารถนำไปรวมเข้ากับแบบจำลองระบบ และคำอธิบายรายละเอียดระบบทั้งสองได้
4. เครื่องมือจัดการด้านคุณภาพ
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์แบบจำลอง คำอธิบายรายละเอียด และต้นแบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความครบถ้วนสมบูรณ์ ความถูกต้องตรงกัน เพื่อเป็นไปตามกรรมวิธีที่ถูกต้องและยอมรับ
5. เครื่องมือจัดทำเอกสาร
เป็นเครื่องมือที่ทำการรวบรวม และจัดทำเอกสารในรูปของรายงานของแบบจำลองระบบ คำอธิบายรายละเอียด และระบบต้นแบบ เพื่อให้สามารถนำเอกสารรายงานเหล่านี้ไปเสนอแก่เจ้าของระบบ ผู้ใช้งาน นักออกแบบ หรือนักพัฒนา
6. เครื่องมือการออกแบบและแปลรหัส
เป็นเครื่องมือในการแปลงหรือการ Generate โดยอัตโนมัติ เช่น ได้ทำการออกแบบแผนภาพ ER ไดอะแกรม และให้ทำการแปลงเป็นฐานข้อมูลตามที่ต้องการโดยอัตโนมัติ และรวมถึงการแปลงโมเดลให้เป็นรหัสโปรแกรม เป็นต้น
ขั้นตอนเล็กๆที่ไม่ควรมองข้าม
เมื่อการดีไซน์ระบบงานได้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำเอาสิ่งที่ได้ดีไซน์ทั้งหมดมาทบทวนอีกครั้ง และจัดทำในรูปแบบของรายงานและ Presentation ต่อผู้บริหารและผู้ใช้ระบบ
ผู้ใช้ระบบ (User Review) เมื่อมาถึงขั้นนี้ ผู้ใช้ระบบซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และดีไซน์ระบบตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นผู้ทบทวนว่า ระบบงานได้ให้ในสิ่งที่เขาต้องการอย่างแท้จริงหรือไม่ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องให้ตัวอย่างของการอินพุตจอภาพ รายงานแบบต่างๆ พร้อมอธิบายรายละเอียดให้กับผู้ใช้ระบบได้เข้าใจอย่างชัดเจนและในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเตรียมตัวที่จะตอบคำถามให้กับผู้ใช้ระบบด้วย
ผู้บริหาร (Management Review)ในแง่ของนักบริหารซึ่งเป็นผู้สนับสนุนระบบทั้งทางด้านการเงินและเวลานั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรายงานในเรื่องที่ว่าระบบงานที่ได้พัฒนาขึ้นนั้น สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจของเขาได้อย่างแท้จริง นอกเหนือจากการรายงานถึงประวัติต่างๆ ปัญหาที่ได้เกิดขึ้น และทางแก้ไขของระบบที่ได้ดีไซน์เอาไว้ ตามตารางเวลาของการนำระบบเข้ามาติดตั้ง (Implementation) รวมทั้งต้นทุนของการพัฒนาระบบจะต้องได้รับการแจกแจงให้ทราบด้วยในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทีมงานที่ร่วมกันพัฒนาระบบ หัวหน้าทีมหรือนักวิเคราะห์ระบบจะต้องแนะนำบุคคลที่เข้ามาใหม่ให้กับฝ่ายบริหารได้รับทราบด้วย
ก่อนที่จะจบเรื่องของการดีไซน์ นักวิเคราะห์ระบบไม่ควรที่จะยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกินไปในการดีไซน์และพัฒนาระบบ ควรทำตัวให้เป็นคนยืดหยุ่นและมองภาพให้กว้าง ซึ่งจะส่งผลทำให้ระบบงานที่ท่านดีไซน์และพัฒนามีความยืดหยุ่นที่ดีตามไปด้วย เทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดีไซน์สามารถเปลี่ยนไปตามภาวะการณ์ของเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งในปัจจุบันอาจเหมาะสม แต่ในอนาคตก็อาจจะเกิดสิ่งที่ดีกว่าหรือวิธีการที่เหมาะสมกว่า อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่ได้เปลี่ยนแปลงไป นักวิเคราะห์ระบบที่ดีจะต้องศึกษาให้ทราบถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีและความต้องการของผู้ใช้ระบบโดยทั่วไปว่าจะไปในด้านใด เพื่อจะได้นำเอาแนวโน้มต่างๆ เหล่านั้นมาทำการผสมผสานกับเทคโนโลยีและความสามารถในปัจจุบันเท่าที่นักวิเคราะห์ระบบมีอยู่ เพื่อมาดีไซน์ระบบงานสำหรับอนาคตต่อไป
การแตกลูกหลาน(Parent-Child)มากน้อยแค่ไหนที่จำเป็น
ถ้าไม่แน่ใจว่าการแตกแยกย่อยนั้นเพียงพอหรือไม่ก็ลองเขียนคำอธิบายโพรเซสนั้นๆ เป็นซูโดโตด (Pseudocode) หรือเขียนเป็นประโยคโครงสร้างให้ได้ภายในครึ่งหน้ากระดาษ หรือเขียนโปรแกรมโคบอลให้ได้ภายในครึ่งหน้ากระดาษ แสดงว่าการแตกแยกย่อยควรจะเพียงพอแล้ว
โดยทั่วไป DFD มักจะมีโพรเซสทั้งหมด 2 -7 โพรเซส โดยมีเลขที่กำกับไว้ด้วย แต่ละโพรเซสทำงานของตัวเองแยกจากกัน ปัญหาของการเขียนโพรเซสคือ ทำอย่างไรจึงจะ "แบ่ง" งานออกจากกันได้ การแบ่งจำนวนงานนั้นไม่มีคำตอบว่า "ถูกหรือผิด" ที่แน่นอนตายตัว แต่คำตอบหนึ่งอาจจะดีกว่าอีกคำตอบหนึ่งก็ได้ เราอาจจะแบ่งการทำงานใหม่ซึ่งจะทำให้ระบบนั้นดีขึ้นหรือเลวลง
การแบ่งจำนวนโพรเซสใน DFD ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว การแบ่งจำนวนนี้ขึ้นอยู่กับ "ความชำนาญหลังจากที่มีประสบการณ์มากพอสมควร" ถ้าเทียบกับการเขียนโปรแกรมก็เหมือนกับการแยกเขียนเป็นโปรแกรมย่อยนั่นเอง ซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมมาช่วยมากทีเดียว ปัญหาของการแบ่งงานก็คือ ขอบเขตของงานนั่นเอง
ลองสังเกตดูทิศทางกระแสข้อมูลระหว่าง DFD สองระดับดังรูปที่ 5.11 จะเห็นว่าทิศทางของลูกศรจะไม่ตรงกันคือวิ่งไปคนละทิศคนละทาง แต่ถึงอย่างไรก็ตามความหมายของกระแสข้อมูลยังคงถูกต้องทุกประการ การเขียนทิศทางกระแสของข้อมูลมีกฎว่า เขียนอย่างตรงไปตรงมา ตราบใดที่กระแสข้อมูลยังถูกต้อง แต่ถ้าจะให้ดีก็ต้องพยายามให้อินพุตไหลเข้ามาทางซ้ายมือด้านบนและผลลัพธ์ไหลออกมาทางล่างสุดของหน้ากระดาษ และให้เขียนโยงไปให้ถึงริมกระดาษ เพื่อจะได้สังเกตความสมดุลได้ง่าย สำหรับข้อมูลที่วิ่งระหว่างโพรเซส หรือวิ่งเข้าออกจากไฟล์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ใน DFD ระดับล่างนั้นจำเป็น เพราะว่าจะเป็นอินพุตของโพรเซสต่างๆ
การทำความเข้าใจ DFD ในระดับลูกแม่และลูกมีความสำคัญมากก่อนที่เราจะแตกลูกหลานต่อไปอีก ซึ่งก็จะให้หลักการอันเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วในตัวอย่างทั้งหมด ถ้าเข้าใจการแยกย่อยในระดับแม่ลงมาหาลูก และการทำความสมดุลกันก็จะสามารถเขียน DFD อันต่อไปได้ง่าย
หลักความสำเร็จของการพัฒนาระบบงาน (2)
การพัฒนาระบบงานหนึ่งๆก็ถือว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างจากที่เราลงทุนซื้อรถเพื่อมาขนส่งสินค้าหรือซื้อเครื่องจักรมาเพื่อทำการผลิต
เมื่อระบบงานถือว่าเป็นการลงทุนชนิดหนึ่ง สิ่งที่นักวิเคราะห็ระบบจะต้องคำนึงก็คือทางเลือกต่างๆที่จะนำเงินไปลงทุน ซึ่งหมายถึงว่านักวิเคราะห์ระบบควรคิดถึงทางเลือกของการพัฒนาระบบงานในหลายๆงานและพิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่างๆ รวมถึงการเปรียบเทียบต้นทุนและผลกำไรที่จะเกิดจากระบบงาน ว่าระบบนั้นๆ คุ้มค่าหรือไม่อย่างไร ยกตัวอย่าง เช่น นักวิเคราะห์กำลังรับทำระบบงานสำหรับร้านให้เช่าวิดีโอร้านหนึ่งซึ่งเป็นร้านเล็กๆ มีรายได้ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน เขาตัดสินใจแนะนำให้ร้านนั้นซื้อคอมพิวเตอร์ราคา 2 ล้านบาท ซึ่งเขาจะพัฒนาระบบงานให้ โดยจะเสียค่าใช้จ่ายอีกประมาณ 3 แสนบาท ลักษณะแบบนี้ท่านจะเห็นได้ชัดว่า การตัดสินใจลงทุนแบบนี้ไม่คุ้มค่าแน่ นักวิเคราะห์ควรจะทำการวิเคราะห์หาทางเลือกที่เหมาะสมและนำเสนอต่อผู้ใช้โดยให้มีข้อมูลในการเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสียต่างๆ เพื่อผู้ใช้ระบบสามารถที่จะออกความเห็นหรือปรึกษาหารือเพื่อหาข้อยุติที่เหมาะสมต่อไป
หลักการที่ 5 : อย่ากลัวที่จะต้องยกเลิก
ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาระบบงานจะมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ (feasibility study) ของระบบงาน ดังนั้นในทุกขั้นตอน นักวิเคราะห์ระบบจะมีโอกาสเสมอที่จะตัดสินใจว่าจะให้ระบบงานนั้นดำเนินต่อไปหรือยกเลิก
แน่นอนที่ว่า ความรู้สึกที่จะต้องยกเลิกงานที่ทำมาอย่างยากเย็นนั้น จะต้องไม่ดีแน่ และคงไม่มีใครอยากสัมผัสเหตุการณ์เช่นนี้ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อการพัฒนาระบบงานไม่สามารถจะทำให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ การเริ่มต้นทำใหม่หรือยกเลิกโครงการนั้นอาจเป็นสิ่งจำเป็น จากประสบการณ์ที่เคยได้เห็นได้ยินมา มีอยู่หลายโครงการในสหรัฐอเมริกาที่ต้องยกเลิกไป และอีกหลายโครงการที่ยังดันทุรังที่จะให้อยู่แต่ไม่สามารถจะทำได้ ข้อเสียที่เห็นได้ชัดในความกลัวที่จะต้องยกเลิกก็คือ โครงการหรือระบบงานนั้นสุดท้ายก็ต้องพังลง และดันทุรังที่จะให้ฟื้นคืนชีพมักจะใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น ใช้เวลาเพิ่มขึ้นและใช้คนเพิ่มขึ้น ทำให้งบประมาณเกิดบานปลาย และไม่สามารถควบคุมได้
หลักการที่ 6 : ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาจะต้องมีการจัดทำเอกสารเพื่อใช้อ้างอิงเสมอ
การขาดการจัดทำเอกสารมักจะส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดต่อระบบงานและต่อนักวิเคราะห์ระบบด้วย การจัดทำเอกสารมักจะถูกมองข้ามไป และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เสียเวลาแม้กระทั่งการเขียนโปรแกรมซึ่งสามารถจะแทรกคำอธิบายเล็กๆน้อยๆว่าโปรแกรมในส่วนนั้นๆทำอะไร ก็ยังไม่มีใครทำสักเท่าไรซึ่งการขาดการทำเอกสารเช่นนี้ จะทำให้การบำรุงรักษาหรือติดตามระบบเป็นไปได้ยาก ทำให้ยากต่อการแก้ไข
การจัดทำเอกสาร จะหมายรวมถึงการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ และแนวความคิด รวมทั้งข้อสรุปที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบงานและโครงการ ไม่ใช่จะเอาแค่รหัสต้นกำเนิด (source code) ของแต่ระบบเท่านั้น
หลักความสำเร็จของการพัฒนาระบบงาน (1)
โดยทั่วไป วงจรการพัฒนาระบบงานและโครงการ (SDLC) ได้จัดแบ่งขั้นตอนของการทำงานเป็นหลักอยู่แล้วดังนี้
1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบงาน (System Analysis)
2. ขั้นตอนการดีไซน์และวางระบบงาน (System Design)
3. ขั้นตอนการนำระบบงานเข้าสู่ธุรกิจเพื่อใช้ปฏิบัติงานจริง (System imple- mentation)
4. ขั้นตอนการติดตามและดำเนินการภายหลังการติดตั้งระบบงาน (System support)
สาเหตุที่มีการจัดแบ่งกลุ่มงานให้เล็กลงและเป็นลำดับขั้น ก็เพื่อที่จะให้นักบริหารโครงการหรือผู้พัฒนาระบบงานสามารถที่จะควบคุมความคืบหน้าของการพัฒนาระบบได้อย่างใกล้ชิดและสามารถที่จะกำหนดและควบคุมระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบได้ดีขึ้นอีกด้วย
ความหมายของหลักการนี้คือ เมื่อเราเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบ SDLC แล้ว เราไม่จำเป็นที่จะทำขั้นที่ 1 คือ system analysis ให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงค่อยทำขั้นที่ 2 คือ system design หรือต้องทำขั้นที่ 2 เสร็จค่อยทำขั้นที่ 3 เรื่อยไป การทำแบบนี้จะทำให้เราใช้ระยะเวลามากขึ้นในการพัฒนาระบบงานหนึ่งๆ
ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานสามารถที่จะทำซ้อน (overlap) กันได้ เช่น เมื่อได้ทำการวิเคราะห์ระบบงานไปได้ระยะหนึ่ง นักวิเคราะห์ระบบก็สามารถที่จะนำเอาผลการวิเคราะห์นั้นไปดีไซน์หรือวางระบบงานได้ก่อนโดยไม่ต้องรอให้ขั้นตอนการวิเคราะห์เสร็จสมบูรณ์จึงค่อยดีไซน์ ดังตัวอย่างในรูปที่ 1 ซึ่งแสดงให้เป็นว่าขณะที่กิจกรรมในขั้นตอนการวิเคราะห์ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ครึ่งยังไม่เสร็จสิ้น ในสัปดาห์ที่ 2 ก็สามารถจะเริ่มขั้นตอนการดีไซน์ระบบได้ อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้จะต้องตั้งอยู่ในความเหมาะสมด้วย โดยในบางครั้งบางขั้นตอนอาจจำเป็นที่จะต้องรอให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนแล้วจึงค่อยดำเนินในขั้นถัดไป จากรูปที่ 1 จะแสดงให้เห้นว่าการติดตั้งระบบอาจจำเป็นต้องรอให้ขั้นตอนการดีไซน์ระบบเสร็จสิ้นลงเสียก่อนแล้วจึงค่อยดำเนินการต่อไป