วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551

มาดูว่า Crackers เค้าจะเจาะเข้ามาทำอะไรกับระบบของเรา

อย่างที่เรารู้ ว่า Hacker มิได้เป็นภัยต่อเรา สิ่งที่เป็นภัยต่อเราคือ Cracker ผู้ที่ใช้ความฉลาดของตน ในทางที่ผิด Cracker ไม่คิดถึงผู้อื่น เขาจะทำในสิ่งที่เขาต้องการ Cracker จึงเป็น ภัยคุกคามต่อ Cyberspace เพราะเขามีความสามารถสูง เขาอาจจะโอนเงินในธนาคารไปใช้ เขาอาจจะดักฟังข้อมูล นำไปขายให้ผู้ที่ต้องการ เขาอาจจะทำลายหลักฐานของราชการ แต่ไม่ใช่เพื่อคนอื่นที่ด้อยโอกาส หากแต่เพื่อแลกกลับสิ่งที่เขาต้องการ
Crackers ทำอันตรายกับระบบอย่างไร
ระบบคอมพิวเตอร์ใดใดก็ตาม แม้จะออกแบบมา อย่างดี แต่ก็มีช่องทางให้ crackers สามารถเจาะเข้าไปเล่นงานได้เสมอ จริงๆ แล้ว crackers ไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะ เสมอไป ขอเพียงแค่เป็นคนช่างสังเกต และมีความรู้ ความเข้าใจ ในระบบคอมพิวเตอร์พอควร ก็สามารถที่จะเจาะระบบได้ การเจาะระบบของ crackers อาจจะพอแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งก็จะก่อให้เกิดความเสียหาย ได้มากน้อย แตกต่างกัน กล่าวคือ

-การหยอกล้อ crackers ที่เจาะระบบ เพื่อหยอกล้อเล่นๆ ก็อยู่ในข่าย ที่เป็น hackers ได้ เพราะผลลัพธ์ ที่ได้ไม่รุนแรงอะไร เช่น อาจจะปลอมแปลง e-mail เล่นๆ

-การรบกวน ผู้ใดก็ตาม ตกเป็นเป้าการรบกวนของ crackers เขาผู้นั้นน่าสงสารที่สุด crackers ใช้ จุดที่ ง่ายที่สุดในการรบกวนเป้าหมาย นั่นคือ การส่ง e-mail เนื่องจากการส่ง e-mail ทำได้ง่าย และ หาต้นตอได้ยาก สมมติว่านายมอส รู้ว่านายเจมส์ใช้ internet ของบริษัท สามารถ ซึ่ง เป็นบริษัทของเอกชน นายเจมส์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอ่าน e-mail นายมอสก็อาจจะแกล้ง ส่ง e-mail ขนาด 10 เมกะไบต์ไปให้นายเจมส์ เมื่อนายเจมส์จะอ่าน e-mail โปรแกรม e-mail จะพยายาม download ไฟล์ 10 เมกะไบต์ดังกล่าวมา สมมตินายเจมส์มี e-mail อยู่ 10 ฉบับ แต่ไอ้เจ้าไฟล์ 10 เมกะไบต์นี้ อยู่ในอันดับ 2 นายเจมส์จะไม่เคยได้อ่านฉบับที่ 3 ถึง 10 เลย เพราะโปรแกรมอ่าน e-mail จะอ่านแต่ไฟล์นี้ อาจจะใช้เวลาอ่านเป็นชั่วโมง

-การดักฟัง หรือ ล้วงข้อมูล ถึงแม้ Internet Protocol จะมีลักษณะเป็นแบบ Point to Point คือ เครื่องส่ง กับ เครื่องรับ มี identity ของตัวเอง คือมี IP Address หนึ่งเดียว แต่ก็มีจุดอ่อน เนื่องจากบนเส้น LAN เดียวกันนั้น ข้อมูลจะถูก Broadcast ออกไปทุก ๆ เครื่อง ด้วย Ethernet Protocol สมมติมีใคร ส่งข้อมูลมายังเครื่องของเรา เมื่อข้อมูลมาถึง gateway เจ้าตัว gateway จะส่ง ข้อมูลไปให้เครื่อง ทุกเครื่องบน LAN ด้วย Ethernet Protocol จากนั้น IP Protocol จะตรวจว่าข้อมูลส่งถึงใคร เครื่องเป้าหมายก็จะหยิบข้อมูลนั้นขึ้นมาทำให้ Crackers สามารถทราบ password ของผู้ใช้ได้

-การทำลายล้าง สิ่งที่อันตรายที่สุด ที่ Cracker คนหนึ่งอาจกระทำ ก็คือ การทำลายล้าง ถ้า Cracker ทราบ password ของคนที่มีอำนาจที่สุด บนเครื่อง UNIX นั่นคือ root เขาก็สามารถลบทุกอย่างได้ อันที่จริง Cracker อาจไม่จำเป็นต้องรู้เลยด้วยซ้ำ ว่า password ของบุคคลเป้าหมาย คืออะไร เขาก็สามารถหาช่องทางอื่น เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลของบุคคลนั้นได้ ดังตัวอย่าง
จาก ระบบเครือข่าย กับ เวิลด์ไวด์เว็บ และ ความปลอดภัย โดย ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ

1 ความคิดเห็น:

Tui_ER กล่าวว่า...

ออวววว


นึกว่าหนมปังกรอบๆ

จาได้จับใส่ปากเคี้ยวกรุบๆ ^^