วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

หลักการสร้าง DFD

วันนี้เรานำเรื่องการเขียน DFD มาลงให้เพื่อนๆได้อ่านกันนะไม่รู้ว่ามีใครเคยเอามาลงไว้หรือเปล่า แต่จากการเรียนและพรีเซ็นงานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเห็นว่าเพื่อนๆ รวมทั้งเราเองยังเขียน DFD กันไม่ถูกต้อง คิดเสียว่าเป็นการทบทวนก็แล้วกัน อาจจะยาวน่าเบื่อไปหน่อย แต่ก็รู้ไว้ใช่ว่านะจ๊ะ.... พยามยาม สู้ ...สู้....

แนวทางในการสร้าง DFD ที่ดี
1. ลดความซับซ้อน การมีข้อมูลที่ต้องประมวลผลมากเกินไปใน DFD แต่ละระดับ คือความซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้น เรียกว่า Information Overload ดังนั้น นักวิเคราะห์จึงต้องลดปริมาณข้อมูลที่ต้องประมวลผลลงในแต่ละระดับด้วยการแบ่งย่อย Process การทำงาน ให้ไปอยู่ใน DFD Level ระดับถัดไป
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำไว้ว่า การแบ่งย่อยแผนภาพที่ดี ควรยึดหลักดังนี้
1.1 DFD แต่ละระดับ ควรมี Process ไม่เกิน 7 + 2
1.2 Data Flow ที่เข้าและออกจากแต่ละ Process , External Agent หรือ Data store ไม่ควรเกิน 7 + 2 ใน DFD แต่ละระดับ

2. DFD ต้องมีความสมบรูณ์ คือ หากมีการเพิ่มเติมรายละเอียดใดๆ ที่จำเป็นเข้ามาในระบบ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเพิ่มเติมรายละเอียดเหล่านั้นลงใน DFD ด้วยเสมอ และหาก Data Flow , Data store ,Process และ External Agent บนแผนภาพ DFD ไม่เชื่อต่อกับสิ่งใดๆ แสดงว่า DFD นั้นไม่สมบรูณ์

3. DFD ต้องมีความสอดคล้อง เป็นความสอดคล้องที่ปรากฏอยู่บน DFD ในระดับบนและระดับล่าง กล่าวคือ สิ่งที่ปรากฏอยู่ใน DFD ระดับบน เมื่อมีการแบ่งย่อย Process ลงมาในระดับล่าง จะต้องมีสิ่งที่ปรากฏอยู่ในระดับบนนั้นด้วยเสมอ (หลักเกณฑ์นี้จะเกี่ยวข้องกับกฎความสมบรูณ์ของแผนภาพ DFD)

4. การทำซ้ำ การสร้าง DFD ในรอบแรกนั้นจะยังไม่มีความถูกต้องและสมบรูณ์ ต้องมีการตรวจสอบแผนภาพหรือมีการปรบปรุงแผนภาพทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขความต้องการ

ที่มา : กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, พนิดา พานิชกุล,“การวิเคราะห์และออกแบบระบบ”,สำนักพิมพ์ เคทีพี,2551

2 ความคิดเห็น:

weena กล่าวว่า...

เครียด หรือขยันเนี่ย!

mommoss กล่าวว่า...

ขอบคุณมากนะค่ะ ข้อความเป็นประโยชน์ดีมาก ๆ แต่เสียอย่างเดียวคุณ weena ไม่น่าพูดแบบนี้เลยคนดีจะหมดกำลังใจซะปล่าว ๆ นะค่ะ ยังไงช่วยกันดีกว่าค่ะ ให้คนดี ๆ ได้มีอยู่ในสังคมบ้าง