โปรแกรมเมอร์ ( programmer ) หมายถึงบุคคลที่รับผิดชอบในด้านการเขียนโปรแกรม สิ่งที่เขาจะเชื่อมโยงนั้น ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติ ( Operating System :OS ) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียน เช่น COBOL, BASIC และ C++ งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปในลักษณะที่มีขอบเขต ที่แน่นอนคือโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นนั้นถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่ กิจกรรมงานของโปรแกรมจะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น กับโปรแกรมเมอร์ด้วยกันเอง หรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบให้แก่เขา
นักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SA (SYSTEM ANALYSIS) นั้น นอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะต้องรับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มหรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลดิบที่จะป้อนเข้าระบบงานของนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์ ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่เขาวางไม่ว่าผิดหรือถูก งานของเขาเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน คือ ผู้ใช้ วิธีการ เทคโนโลยี และอุปกรณ์จนได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมออกมาเป็นระบบงาน (APPLICATION SYSTEM) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์ ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล
แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยากและซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และกว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปร่างและสามารถ ใช้ปฏิบัติได้จริง จะฝังอยู่ในสำนึกของเขาตลอดเวลา ความรู้สึกอันนี้คงจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่จะทราบกันเองในหมู่ของนักวิเคราะห์ระบบด้วยกัน
แล้วเพื่อน ๆ ล่ะ อยากเป็นใคร?
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
6 ความคิดเห็น:
เป็นโปรแกรมเมอร์คงไม่ไหวแล้วล่ะ ออกจะเขียนโปรแกรมเก่งซะขนาดนี้
ส่วนจะได้เป็น SA หรือไม่คงต้องวัดดวงจากการผลสัมฤทธิ์จากการเรียนวิชานี้ก่อนซะละมั้ง
แต่ถ้าให้เลือกก็คง SA แหละ
ช่างเป็นบทความที่...
สรุปว่า ...
มันก็จริงอย่างที่เขียนนะว่ามันเป็นงานที่ท้าทาย
ถ้าทำเสร็จแล้วมันก็คงรู้สึกภาคภูมิใจกับระบบที่ได้ทำ
แม้ว่ามันจะเป็นระบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม(จากงาน DB + VB ที่ได้ ลำบากตรากตรำทำกับเพื่อน ๆ มา 55)
ถ้าให้เลือกว่าอยากจะเป็นอะไรน่ะหรอ...
เมื่อก่อนเคยคิดจะเป็นโปรแกรมเมอร์ด้วยล่ะ ^o^
พอเมื่ออ่านบทความนี้แล้ว เป็น SA น่าจะเวิร์กกว่า
(เน้นว่าแค่คิดไว้เท่านั้นนะ ไม่ได้บอกว่าจะเป็นจริง ๆ)
ถ้าจากการอ่านบทความที่แต้มพูดถึงโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบแล้ว เรารู้สึกอยากเป็น saมากกว่าโปรแกรมเมอร์แล้วสิ เพราะเหมือนกัว่าโปรแกรมจะต้องทำงานที่ซ้ำซากจำเจมากๆๆๆ วันเขียนแต่โปรแกรมมม ซึ่งออกแนวน่าเบื่อมากกก
แต่ตรงกันข้ามกับsa ที่saจะเป็นงานที่น่าสนใจไม่ได้ทำอะไรที่มันซ้ำซาก จำเจตลอด จะต้องเปลี่ยนแปลระบบ ดัดแปลงและคิดหาสิ่งใหม่ๆๆเข้ามาอยุ๋เสมอ แต่เราจะเป็นsaได้หรือป่าว เราก็คงจะพูดเหมือนกับฝนกับปอแหละ เพราะตอนนี้ก็เพิ่งเป็นเริ่มต้นรู้จักกับsaเอง 555 อนาคตรอดูต่อไป
2 อาชีพนี้
ขอเก็บไว้เป็นตัวเลือกเกือบสุดท้ายเลยได้มั๊ยอ่ะ..อิอิ
เอ ยังงี้ก็หมายความว่า SA ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใช่ป่ะ มีหน้าที่หลักในการประสานงานระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมเมอร์ ....แต่ยังงัยก็ต้องมีความรู้ในเรื่องของการเขียนโปรแกรมได้บ้างอ่ะเนอะจะได้คุยกับโปรแกรมเมอร์รู้เรื่อง อืม แล้วยังงี้ค่าตอบเเทนที่ได้รับจะมีส่วนต่างกันป่าวอ่ะ ถ้าต่างมันมากน้อยแค่ไหนอ่ะ
ขอเสริมนิดนึงนะครับ
ทำไมหลายคนจึงมองว่าโปรแกรมเมอร์ไม่น่าทำกันเลย อาจเป็นเพราะความท้าทายของ SA นั้นมีมากกว่าก็เป็นได้
แต่ถ้าจะเป็น SA ที่ดีได้ ต้องทำเป็นตั้งแต่ programmer นะครับ ตามบริษัทใหญ่ๆ มีให้เห็นได้ทั่วไป หากคุณเข้าไปเป็น SA เลยจะขาดทักษะและวัฒนธรรมในการทำงานขององค์กรได้ครับ
แสดงความคิดเห็น