วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Case การวิเคราะห์ระบบ

ข้อมูลนี้อาจจะน่าเบื่อไปหน่อย แต่อาจดีต่อการทำงานส่งในครั้งนี้นะ อาจจะเป็นแนวทางให้หลายๆคนได้ แต่สำหรับตัวผู้เขียนเองยังไม่ได้ทำเลย เหอๆๆๆ...
1. วิเคราะห์ความต้องการของระบบและเพื่อแก้ไขปัญหาของระบบ

2. การวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น


แสดงแผนภาพการทำงานของระบบ


จากรูปข้างต้นสามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้

2.1 ผู้ใช้จะเลือกวัตถุแล้วนำไปวาดแผนภาพ ซึ่งวัตถุที่เลือกได้เลือกนี้จะเป็นวัตถุที่ใช้ในการวาดแผนภาพการตัดสินใจแบบต้นไม้ เมื่อผู้ใช้เลือกวัตถุแล้วผู้ใช้ก็จะทำงานวาดแผนภาพ



2.2 เมื่อผู้ใช้นั้นวาดแผนภาพเสร็จแล้วผู้ใช้นั้นสามารถที่จะนำแผนภาพนั้นไปสร้างเป็นรหัสต้นแบบ และนำรหัสต้นแบบนั้นไปใช้ได้



2.3 แผนภาพที่ผู้ใช้วาดเสร็จแล้วนั้นผู้ใช้สามารถนำไปบันทึกเป็นรูปภาพเพื่อนำไปใช้ หรือนำไปพิมพ์รูปของแผนภาพก็ได้



2.4 ถ้าผู้ใช้มีแผนภาพอยู่แล้วผู้ใช้ก็สามารถที่จะทำการเปิดแผนภาพขึ้นมาแก้ไขต่อได้



2.5 ผู้ใช้นั้นยังสามารถบันทึกแผนภาพที่วาดได้ ถ้าแผนภาพที่ผู้ใช้วาดนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์และต้องการบันทึกไว้สำหรับทำไว้แก้ไขในภายหลัง



3. ขั้นตอนการทำงาน

จากแผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ (Flow Chart) นั้นสามารถสรุปการทำงานได้ดังนี้

3.1 ผู้ใช้จะต้องเลือกการทำงานว่าจะเริ่มการทำงานโดยจะเริ่มจากสร้างงานใหม่ หรือเปิดงานที่เคยทำมาแล้วเพื่อแก้ไข

3.2 เมื่อผู้ใช้เลือกเสร็จแล้วผู้ใช้ก็จะต้องทำการวาดแผนภาพ

3.3 ถ้าผู้ใช้ต้องการที่จะวาดแผนภาพก็จะต้องทำการเลือกวัตถุที่จะใช้ในการวาดแผนภาพ แต่ถ้าผู้ใช้ไม่วาดแผนภาพผู้ใช้ก็จะต้องเลือกว่าจะสร้างรหัสต้นแบบหรือไม่

3.4 ถ้าผู้ใช้ต้องการที่จะสร้างรหัสต้นแบบระบบก็จะทำการสร้างรหัสต้นแบบ แต่ถ้าไม่ผู้ใช่ก็จะต้องเลือกว่าจะทำการบันทึกแผนภาพที่จะวาดหรือไม่

3.5 ถ้าผู้ใช้เลือกบันทึกแผนภาพโปรแกรมก็จะทำการบันทึกแผนภาพที่ผู้ใช้วาดขึ้น แต่ถ้าไม่ผู้ใช้ก็จะต้องเลือกว่าจะพิมพ์แผนภาพที่วาดขึ้นหรือไม่

3.6 ถ้าผู้ใช้เลือกพิมพ์ระบบก็จะทำการพิมพ์แผนภาพที่ผู้ใช้ได้วาดขึ้น แต่ถ้าไม่ผู้ใช้ก็จะต้องเลือกว่าจะทำการจบการทำงานหรือไม่

3.7 ถ้าผู้ใช้เลือกจบการทำงาน โปรแกรมก็จะจบการทำงาน แต่ถ้าไม่ขั้นตอนการทำงานของระบบก็จะเริ่มใหม่ตั้งแต่ข้อที่ 3.2 ถึง ข้อที่ 3.7

4. การวิเคราะห์ข้อมูล Input จากแผนภาพการไหลของข้อมูลทำให้สามารถสรุปข้อมูลนำเข้าได้ดังนี้

4.1 แผนภาพที่ผู้ใช้วาด ในการวาดภาพของผู้ใช้นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการเลือกวัตถุที่ใช้ในการวาดแผนภาพ ซึ่งวัตถุที่ใช้ในการวาดได้แก่

4.1.1 โหนด สำหรับแสดงจุดของการตัดสินใจ ซึ่งในการวาดโหนดนี้ผู้ใช้จะต้องใส่คำถามที่ใช้สำหรับการตัดสินใจหรือคำตอบที่เป็นข้อสรุปด้วย

4.1.2 เส้น สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างโหนดแต่ละโหนดเข้าด้วยกัน ซึ่งในการวาดเส้นนั้นผู้ใช้จะต้องใส่คำตอบสำหรับทางเลือกแต่ละทางเลือกเพื่อไปยังคำถามต่างๆ

4.2 แผนภาพที่เคยวาดแล้ว เป็นการนำแผนภาพที่ผู้ใช้นั้นเคยวาดขึ้นมาแล้ว นำมาเปิดในโปรแกรมเพื่อให้ผู้ใช้นั้นทำการแก้ไขแผนภาพให้ได้ตามต้องการ

5. การวิเคราะห์ Output จากแผนภาพการไหลของข้อมูลทำให้สามารถสรุปข้อมูล Output ได้ดังนี้

5.1 แผนภาพที่ทำการบันทึก เป็นการบันทึกข้อมูลของแผนภาพโดยข้อมูลที่บันทึกนั้นจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับแผนภาพที่ผู้ใช้วาด

5.2 รูปภาพของแผนภาพที่วาด เมื่อผู้ใช้วาดแผนภาพเสร็จแล้วผู้ใช้นั้นก็สามารรถเลือกที่จะบันทึกแผนภาพได้สองวิธี คือ บันทึกเป็นแฟ้มข้อมูล และบันทึกเป็นรูปภาพซึ่งถ้าบันทึกเป็นรูปภาพผู้ใช้ยังสามารถทำการพิมพ์รูปภาพได้

5.3 รหัสต้นแบบที่สร้างขึ้นมาจากแผนภาพ เมื่อผู้ใช้วาดแผนภาพเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถสร้างรหัสต้นแบบแล้วนำไปใช้งานได้

1 ความคิดเห็น:

Aj. Jongdee กล่าวว่า...

แหม วีณา Post มาซะอย่างดี แล้วบอกว่า ยังไม่ได้ ทำ .... 55555

ทำได้ดีมากคะ เพราะว่า Case นี้จะชี้ให้เห็นความแตกต่างของ DFD และ Flow Chart คะ

ขอบคุณมากคะที่ Post ขึ้นมา