จากการที่ได้อ่านบทความของแต่ละคนมาก็ทำให้ได้รับความรู้มากมาย เป็นประโยชน์ทั้งนั้น ^o^ และเป็นการดีที่เราได้มีที่ชุมนุมกันบนโลกออนไลน์ ได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน(รึเปล่า?) ซึ่งในบทความที่1ของกระผมวันนี้จะขอนำเสนอการวิเคราะห์ระบบในแบบการเมือง ซึ่งอาจจะเป็นการเปิดมุมมองที่กว้างขึ้นให้แก่เพื่อนๆได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้เพื่อนๆเข้าใจการเมืองมากขึ้น เพราะรากฐานของการเมืองก็คือประชาชน ประชาชนควรจะรู้ไว้ ซึ่งบทความนี้ผมได้นำมาจากอินเตอร์เน็ตอีกที
ตัวแบบในการวิเคราะห์ระบบการเมือง โดยใช้ฐานคติของDAVID EASTON 4 ประการมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์
1.ตัวระบบ(SYSTEM)
ในตัวระบบนี้หมายถึงการนำเอาองค์ประกอบในระบบการเมืองไทย ในด้านสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก ในความต้องการของประชาชนและแรงสนับสนุน จนเป็นตัวนำเข้า ก่อเกิดเป็นนโยบาย ซึ่งเป็นช่วงPOLITICAL LIFE โดย ครม.ก็จะดูเรื่องภาษี ดูงบประมาณ ก่อนนำนโยบายไปปฏิบัติ และการสะท้อนกลับของนโยบายเชิงพลวัต กลับเข้ามาสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้ง ซึ่งถ้าเราเอาตัว"ระบบ"นี้มาเป็นกรอบในการมองพรรคการเมืองต่างๆแล้ว เราจะเห็นโอกาสในการเป็นรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของบรรดาพรรคการเมืองนั้น มีอยู่ประมาณสองพรรคเท่านั้น ที่มีความพร้อมนอกนั้นน่าจะเป็นการผสมเท่านั้น
2.สิ่งแวดล้อม(ENVIRONMENT)
2.1 สิ่งแวดล้อมภายในระบบสังคม(INTRA-SOCIETAL ENVIROMENT)
เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออก65%และการท่องเที่ยว15% ตอนนี้เกิดปัญหาน้ำมันและพลังงานทางเลือก ปัญหาค่าเงิน ปัญหาซับไพรม์ของสหรัฐ และปัญหาเศรษฐกิจของยุโรป ปัญหา รัฐบาลของคมช. ที่ทำเศรษฐกิจต่ำสุดในอาเซียน ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัจจัยกดดันปัญหาสังคมตามมา ดังนั้นข้อเรียกร้องของประชาชนจึงมุ่งไปที่ การแก้ปัญหาการเมืองต้นเหตุ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมให้พลิกฟื้นโดยเร็ว
2.2 สิ่งแวดล้อมภายนอกระบบสังคม(EXTRA-SOCIETAL ENVIROMENT)
โลกยุคโลกาภิวัตน์ในการแข่งขันทางการค้าเสรีทำให้ไทยเริ่มมีปัญหา ที่เรามีแต่ค่าแรงและที่ดิน แต่แรงงานฝีมือมีน้อย อีกทั้งปัญหาการขาดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเชิงพาณิชย์ได้ต้องอาศัยทุนและวิชาการของต่างประเทศในระบบการพึ่งพามาโดยตลอด เป็นแรงที่สนับสนุนให้รัฐบาลที่ต้องมีฝีมือมาทำการแก้ไขโดยด่วน
3.การตอบสนอง(RESPONSE)
เป็นการนำข้อเรียกร้องของประชาชนและแรงสนับสนุนให้รัฐบาลรีบดำเนินการเข้าสู่กระบวนการสร้างนโยบายและตัดสินใจในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ความพร้อมของ พปช.และ ปชป.มีพอๆกันในด้านนี้ ซึ่งต้องดูทฤษฎีของแต่ละพรรคฯว่ามีทฤษฎีที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าทฤษฎีการแก้ไขปัญหาถูกต้อง ก็ต้องดูการปฏิบัติว่าถูกต้องหรือไม่ในแต่ละโครงการหรือมาตรการ
พปช.ได้เปรียบตรงนี้ เพราะมีทฤษฎีที่ถูกต้องมาแล้วในการทำDUAL TRACK คือเศรษฐกิจการค้าเสรีด้านบน ในการส่งออกและนำเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียงในรากหญ้า ในโครงการประชานิยม ซึ่งตัวชี้วัดคือGDP ที่ขยับขึ้นภายหลังโรคต้มยำกุ้งที่ทำโดย ปชป.
4.ผลกระทบ(IMPACT)
ผลกระทบเดิมจากโรคต้มยำกุ้ง ทรท.เดิมได้แก้ไขจนกระเตื้องขึ้น แต่มาหยุดชะงักลงในการเกิดรัฐประหารซึ่งทำให้GDP ต่ำสุดในอาเซียน และทุกพรรคการเมืองในตอนนี้ก็หันมาใช้นโยบายประชานิยมตามแบบ ทรท.เดิม ปัญหาในการตัดสินใจคัดเลือกพรรคการเมืองก็คือปัญหาของ"ความเป็นต้นแบบ" กับ"การตามต้นแบบ" ความเป็นต้นแบบได้เปรียบมากในการพัฒนาต่อยอดโครงการ แต่ พวกตามต้นแบบจะมีปัญหาในการปฏิบัติมากกว่าและอาจผิดพลาดได้โดยง่าย ดังนั้นจึงสามารถที่จะสรุปได้ว่า พรรคการเมืองที่เป็นต้นแบบของการแก้ไขเศรษฐกิจ น่าจะดีกว่ากันเพราะประเทศชาติไม่ต้องการการทดลองทฤษฎีอะไรๆที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน แต่ต้องการในทฤษฎีเดิมที่เคยใช้ได้ดีมาก่อนแล้ว
1.ตัวระบบ(SYSTEM)
ในตัวระบบนี้หมายถึงการนำเอาองค์ประกอบในระบบการเมืองไทย ในด้านสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก ในความต้องการของประชาชนและแรงสนับสนุน จนเป็นตัวนำเข้า ก่อเกิดเป็นนโยบาย ซึ่งเป็นช่วงPOLITICAL LIFE โดย ครม.ก็จะดูเรื่องภาษี ดูงบประมาณ ก่อนนำนโยบายไปปฏิบัติ และการสะท้อนกลับของนโยบายเชิงพลวัต กลับเข้ามาสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้ง ซึ่งถ้าเราเอาตัว"ระบบ"นี้มาเป็นกรอบในการมองพรรคการเมืองต่างๆแล้ว เราจะเห็นโอกาสในการเป็นรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของบรรดาพรรคการเมืองนั้น มีอยู่ประมาณสองพรรคเท่านั้น ที่มีความพร้อมนอกนั้นน่าจะเป็นการผสมเท่านั้น
2.สิ่งแวดล้อม(ENVIRONMENT)
2.1 สิ่งแวดล้อมภายในระบบสังคม(INTRA-SOCIETAL ENVIROMENT)
เศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออก65%และการท่องเที่ยว15% ตอนนี้เกิดปัญหาน้ำมันและพลังงานทางเลือก ปัญหาค่าเงิน ปัญหาซับไพรม์ของสหรัฐ และปัญหาเศรษฐกิจของยุโรป ปัญหา รัฐบาลของคมช. ที่ทำเศรษฐกิจต่ำสุดในอาเซียน ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัจจัยกดดันปัญหาสังคมตามมา ดังนั้นข้อเรียกร้องของประชาชนจึงมุ่งไปที่ การแก้ปัญหาการเมืองต้นเหตุ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมให้พลิกฟื้นโดยเร็ว
2.2 สิ่งแวดล้อมภายนอกระบบสังคม(EXTRA-SOCIETAL ENVIROMENT)
โลกยุคโลกาภิวัตน์ในการแข่งขันทางการค้าเสรีทำให้ไทยเริ่มมีปัญหา ที่เรามีแต่ค่าแรงและที่ดิน แต่แรงงานฝีมือมีน้อย อีกทั้งปัญหาการขาดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเชิงพาณิชย์ได้ต้องอาศัยทุนและวิชาการของต่างประเทศในระบบการพึ่งพามาโดยตลอด เป็นแรงที่สนับสนุนให้รัฐบาลที่ต้องมีฝีมือมาทำการแก้ไขโดยด่วน
3.การตอบสนอง(RESPONSE)
เป็นการนำข้อเรียกร้องของประชาชนและแรงสนับสนุนให้รัฐบาลรีบดำเนินการเข้าสู่กระบวนการสร้างนโยบายและตัดสินใจในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ความพร้อมของ พปช.และ ปชป.มีพอๆกันในด้านนี้ ซึ่งต้องดูทฤษฎีของแต่ละพรรคฯว่ามีทฤษฎีที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าทฤษฎีการแก้ไขปัญหาถูกต้อง ก็ต้องดูการปฏิบัติว่าถูกต้องหรือไม่ในแต่ละโครงการหรือมาตรการ
พปช.ได้เปรียบตรงนี้ เพราะมีทฤษฎีที่ถูกต้องมาแล้วในการทำDUAL TRACK คือเศรษฐกิจการค้าเสรีด้านบน ในการส่งออกและนำเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียงในรากหญ้า ในโครงการประชานิยม ซึ่งตัวชี้วัดคือGDP ที่ขยับขึ้นภายหลังโรคต้มยำกุ้งที่ทำโดย ปชป.
4.ผลกระทบ(IMPACT)
ผลกระทบเดิมจากโรคต้มยำกุ้ง ทรท.เดิมได้แก้ไขจนกระเตื้องขึ้น แต่มาหยุดชะงักลงในการเกิดรัฐประหารซึ่งทำให้GDP ต่ำสุดในอาเซียน และทุกพรรคการเมืองในตอนนี้ก็หันมาใช้นโยบายประชานิยมตามแบบ ทรท.เดิม ปัญหาในการตัดสินใจคัดเลือกพรรคการเมืองก็คือปัญหาของ"ความเป็นต้นแบบ" กับ"การตามต้นแบบ" ความเป็นต้นแบบได้เปรียบมากในการพัฒนาต่อยอดโครงการ แต่ พวกตามต้นแบบจะมีปัญหาในการปฏิบัติมากกว่าและอาจผิดพลาดได้โดยง่าย ดังนั้นจึงสามารถที่จะสรุปได้ว่า พรรคการเมืองที่เป็นต้นแบบของการแก้ไขเศรษฐกิจ น่าจะดีกว่ากันเพราะประเทศชาติไม่ต้องการการทดลองทฤษฎีอะไรๆที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน แต่ต้องการในทฤษฎีเดิมที่เคยใช้ได้ดีมาก่อนแล้ว
4 ความคิดเห็น:
คุกแน่ ๆ ท่าน
ปล. จนนะ
เด น้อง
หุหุหุหุ เอิ๊กสๆๆๆ
อืมๆๆๆ ดุดีๆๆๆ เหมือนเป็นคนมีสาระ 555+
โห มีสาระที่สุดเท่าที่เคยรู้จักมาอ่ะนาย
(ล้อเล่นนะ คิกๆๆ)
อืม คุก ไม่ คุก ไม่รู้ แต่ ครู ไม่มีเงิน ประกันลูกศิษย์ ........
ตัวใครตัวมัน นะจ้ะ
ป.ล. รักลูกศิษย์ เสมอ ......
แสดงความคิดเห็น