ถ้าอ่านดูก็จะรู้ว่า คำว่าระบบนั้นมีอยู่ทุกที่ใกล้ตัวเราจริง ๆ มาดูการนำเอามาเปรียบเทียบกับการเมืองกัน
ระบบซับซ้อน ( Complex System ) จะมี 3 สถานะ คือ
1. ภาวะสมดุล ( Order )
2. ใกล้จุดสมดุล กล่าวคือมีการกวัดแกว่งบ้าง แต่ยังรักษาสภาพเดิมไว้ได้
3. ไกลจุดสมดุล ถ้าได้รับการกระทบ จะมีผลใหญ่หลวงต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการล่มสลายของระบบได้ ดังนั้นถ้าเราประเมินว่า สถานการณ์อยู่ห่างไกลจุดสมดุลมากแล้ว การกระแทกด้วยเหตุการณ์เล็กๆ จะเกิดทางแยกที่ให้เลือกเดิน ( Bifurcation ) ขึ้นมา ซึ่งอาจเป็นในทางที่ดีขึ้นหรือฉิบหายก็ได้ เช่นการที่เยอรมนีแพ้สงคราม กลับทำให้ประเทศก้าวสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ แต่เปเรสทรอยก้า กลับส่งผลให้โซเวียตล่มสลาย
• เราไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่มีอยู่มากมายในทุกจุดได้ อีกทั้งเรายังมีกำลังคนกำลังเงินที่จำกัด แต่ถ้าเราจับ Pattern ของปัญหาได้ เราจะรู้ว่าจะงัดตรงจุดไหน งัดเมื่อไหร่ ซึ่งจะแก้ปัญหาได้อย่างมาก ถ้าเราหาพบจุดคานงัด แล้วทุ่มกำลังลงไปแก้ไขที่จุดสำคัญ แทนการกระจายกำลังแก้ทุกจุด เราจะแก้ปัญหาสังคมนั้นๆได้
• การเปลี่ยนแปลงสังคมต้องการปัจเจกชนที่เป็นอิสระ ไม่ใช่การจัดตั้งที่เหมือนกันหมด เพราะความเป็นอิสระทางความคิดและการกระทำ ภายใต้กติกาของการสื่อสารและการอยู่ร่วมกัน จะทำให้เกิดคุณภาพในการเปลี่ยนแปลงสังคม เป็นการผุดบังเกิด ( Emergence ) อย่างเฉียบพลัน
จาก วิทยาลัยวันศุกร์ ครั้งที่ 9 วันที่ 7 มกราคม 2543
เพื่อน ๆ คิดว่าประเทศไทยเรากำลังอยู่จุดไหนล่ะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
4 ความคิดเห็น:
จุดที่ 3 ห่างไกลจุดสมดุล........555+
อืม..เห็นอย่างนี้แล้วน่าให้นักการเมืองมาเรียนSA
อืม แต้ม เรา มีสาระ มี สาระ น่านับถือ ข้าผู้น้อยขอคารวะ
ครูมึความคิดเห็นว่าถ้าให้นักการเมืองมาเรียน สงสัย วันวัน เอาแต่อภิปรายไม่ไว้วางใจกันทั้งวันแน่นอน
แอบ ...แสดงความคิดเห็นว่า เห็นด้วยกับกิ๊ฟ ว่า เมืองไทยน่าจะอยู่ สถานะที่สามนะคะ .... แล้วแต้ม ว่าไง
คิดไปคิดมาเราว่ามันน่าเป็นจุดที่4นะ
คือ..โคตร ไกลจุดสมดุล..หุหุ
เคยได้ยินว่า "ปัญหายังคงเกิด ตราบที่คนชั่วออกมาพูด แล้วคนดีเอาแต่นิ่งเฉย"
แต่ว่าไปคนดีที่เค้านิ่งเฉย เพราะไม่มีใครมาปกป้องรักษาได้ จึงต้องปกป้องตัวเองด้วยการอยู่เฉย
ปล.มาติน ลูเทอ คิง จูเนียร์ และ อับบราฮัม ลินคอร์น
ถูกลอบสังหารเพราะเป็นคนดีที่ไม่นิ่งเฉย
แสดงความคิดเห็น