ปัจจุบันในการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมาสักงานหนึ่ง มักมีการนำเครื่องมือมาใช้งาน หรือนำมาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวนี้ จะช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศนั้นมีความรวดเร็วและมีคุณภาพยิ่งขึ้น หนึ่งในเครื่องมือที่เรียกว่า เคสทูลส์ (Computer-Aided Software Engineering : CASE Tools) ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อช่วยทำการวิเคราะห์ให้ระบบมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมถึงการให้เคสทูลส์ในการสร้างโมเดล หรือไดอะแกรมต่างๆ นอกจากเคสทูลส์แล้ว ยังมีเครื่องมือช่วยวาด (Drawing Tools) ซึ่งก็จัดได้ว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาใช้งานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบได้ แต่อย่างไรก็ตาม เคสทูลส์นั้นจะมีความสามารถพิเศษหรือเป็นอะไรที่มากไปกว่าเครื่องมือช่วยวาด
1. เครื่องมือสร้างแผนภาพหรือไดอะแกรม
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวาดไดอะแกรมหรือแบบจำลองระบบ (System Model) ตามที่ต้องการ หรือใช้สำหรับสร้างแบบจำลองตามกรรมวิธีของการพัฒนาระบบ (System Development Methodologies) ซึ่งแบบจำลองที่วาดนั้นสามารถลิงก์ไปยังแบบจำลองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น แผนภาพ UML Diagram, Data Flow Diagram หรือ ER Diagram เป็นต้น
2. เครื่องมือจัดทำคำอธิบาย
เป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกคำอธิบายและรายละเอียดของระบบ ซึ่งมักใช้งานเพื่อประกอบคำอธิบายของแบบจำลองหรือไดอะแกรมที่สร้างขึ้นในขณะนั้น
3. เครื่องมือสร้างหรือจัดทำต้นแบบ
เป็นเครื่องมือในการสร้างส่วนประกอบของระบบ ซึ่งประกอบไปด้วยอินพุตและเอาต์พุต โดยอินพุตและเอาต์พุตเหล่านี้สามารถนำไปรวมเข้ากับแบบจำลองระบบ และคำอธิบายรายละเอียดระบบทั้งสองได้
4. เครื่องมือจัดการด้านคุณภาพ
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์แบบจำลอง คำอธิบายรายละเอียด และต้นแบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความครบถ้วนสมบูรณ์ ความถูกต้องตรงกัน เพื่อเป็นไปตามกรรมวิธีที่ถูกต้องและยอมรับ
5. เครื่องมือจัดทำเอกสาร
เป็นเครื่องมือที่ทำการรวบรวม และจัดทำเอกสารในรูปของรายงานของแบบจำลองระบบ คำอธิบายรายละเอียด และระบบต้นแบบ เพื่อให้สามารถนำเอกสารรายงานเหล่านี้ไปเสนอแก่เจ้าของระบบ ผู้ใช้งาน นักออกแบบ หรือนักพัฒนา
6. เครื่องมือการออกแบบและแปลรหัส
เป็นเครื่องมือในการแปลงหรือการ Generate โดยอัตโนมัติ เช่น ได้ทำการออกแบบแผนภาพ ER ไดอะแกรม และให้ทำการแปลงเป็นฐานข้อมูลตามที่ต้องการโดยอัตโนมัติ และรวมถึงการแปลงโมเดลให้เป็นรหัสโปรแกรม เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น