วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การสร้างต้นแบบ (Prototyping)

การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
คือการสร้างต้นแบบของระบบงานใหม่ที่ต้องการ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจระบบได้ง่ายขึ้น
วิธีการสร้างต้นแบบ มี 2 วิธี
1. System Prototyping คือการสร้างแบบจำลองการทำงานของระบบสารสนเทศที่มีรูปแบบครบตามการทำงานจริงและจะถูกนำไปพัฒนาต่อ


2. Design Prototyping หรือ Throwaway Prototyping คือการสร้างแบบจำลองเพื่อตรวจสอบความต้องการของผู้ใช้ หลังจากผู้ใช้เห็นด้วยกับการออกแบบ ต้นแบบนั้นจะไม่มีการนำมาใช้อีก และการพัฒนาจะทำต่อจากการออกแบบ


ผลที่ได้รับจากการสร้างต้นแบบ(Benefits of prototyping)
1. สามารถหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนาระบบ
2. ผู้พัฒนาระบบสามารถสร้างรายละเอียดที่ถูกต้องได้
3. ผู้จัดการระบบสามารถประเมินแบบจำลองในการใช้งานได้
4. นักวิเคราะห์ระบบสามารถใช้ต้นแบบในการทดสอบระบบและการทำงานในแต่ละขั้นตอน
5. ต้นแบบสามารถลดความเสี่ยงในการทำระบบได้

ปัญหาที่สำคัญของการทำต้นแบบ
1. การใช้ต้นแบบประกอบการพัฒนาที่รวดเร็วอาจทำให้เกิดปัญหาที่มองไม่เห็น และจะเห็นอีกครั้งเมื่อระบบได้พัฒนาเสร็จและถูกนำมาใช้ จึงทำให้แก้ไขได้ยาก
2. การทำงานบางอย่างอาจไม่สามารถทดสอบได้ในต้นแบบ เช่น ความเชื่อถือได้ การบำรุงรักษาระบบ
3. ต้นแบบที่ซับซ้อนจะทำให้ระบบเทอะทะและยากต่อการจัดการ

เครื่องมือในการทำต้นแบบ
1. CASE Tools
2. Application Generators หรือ Code Generators เป็น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา 4GL(Delphi,PowerBuilder,MS.Visual Basic)ภาษาNonprocedural(C++,Java)และ Procedural(COBOL)
3. Report Generators หรือ Report Writer เป็นการออกแบบด้วยโปรแกรมที่ใช้สร้างรายงาน เช่น Crystal Report อาจเป็นการรายงานจำลอง (Mock-up Report) สำหรับตรวจทานก่อนการออกแบบขั้นสุดท้าย
4. Screen Generators หรือ Form Generator ใช้ภาษา 4GL ช่วยให้ออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (Interface) และรูปแบบการนำเข้าข้อมูล



ไม่มีความคิดเห็น: